หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ ...รบ.เลือกตั้ง VS. แต่งตั้ง แบบไหนเอื้อ"ปฏิรูป" เพื่อ"ประชาธิปไตย"

วิเคราะห์ ...รบ.เลือกตั้ง VS. แต่งตั้ง แบบไหนเอื้อ"ปฏิรูป" เพื่อ"ประชาธิปไตย"




หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส.ประกาศล้มรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดยระดมประชาชนออกมากดดัน กระทั่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ประกาศยุบสภา และเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่

ใช้เสียงส่วนใหญ่มาตัดสิน!

ทั้ง นี้ มีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป คือ วันที่2 กุมภาพันธ์ 2557 และคณะกรรมการการเลือกตั้งเปิดให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ระหว่างวันที่ 23-27 ธันวาคม และเปิดรับสมัคร ส.ส.ในระบบเขตระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2556-1 มกราคม 2557

ปรากฏว่ากลุ่ม กปปส.ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติม คือ ให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป

เหตุผลที่ต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไป เพราะต้องการให้มีการปฏิรูปเกิดขึ้นในประเทศก่อนจะเลือกตั้ง

เหตุผล ที่ให้ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง เพราะต้องการประหยัดงบประมาณ คือไม่ต้องเลือกตั้ง 2 ครั้ง และไม่ต้องการให้ระบอบทักษิณวนกลับมาอีก โดยเชื่อว่าการเลือกตั้งแบบเก่ามีการซื้อสิทธิขายเสียงกันโจ๋งครึ่ม

ข้อ เรียกร้องดังกล่าวมีปัญหาทางด้านกฎหมาย เพราะเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาออกมาแล้ว นักกฎหมายมองว่าเลื่อนไม่ได้ เนื่องจากไม่มีข้อบัญญัติใดให้เลื่อน และหากเลื่อนออกไปเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 60 วัน จะถือว่าการเลือกตั้งนั้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่?

ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนกลุ่ม กปปส.มองว่าสามารถเลื่อนเลือกตั้งได้โดยใช้เหตุ พิบัติภัยŽ โดยให้รัฐบาลเสนอพระราชกฤษฎีกาเลื่อนการเลือกตั้งออกไป

เลื่อนออกไปเป็นเดือน เลื่อนออกไปเป็นปี

ส่วนกลุ่มก้อนทางการเมืองก็แตกแยกเป็น 2 ความคิด


พรรค เพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา มีความคิดว่าต้องเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ส่วนพรรคการเมืองอื่นยังลังเล แต่ก็มีแรงกระเพื่อมภายในว่าน่าจะเลื่อนการเลือกตั้งออกไป

ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.เองก็มีทีท่าโอนอ่อน เห็นว่าอาจสามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อนได้เช่นกัน

อย่าง ไรก็ตาม ดูเหมือนว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ และรัฐบาลจะไม่ยอมรับ โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ประกาศว่า จะต้องปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีในรัฐบาลรักษาการต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาล ใหม่ตามบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้

 
การประกาศจุดยืนดัง กล่าว ทำให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และคณะกรรมการ มีมติให้วันที่ 22 ธันวาคม เป็นวันระดมพลเพื่อขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้ออกจากการปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี โดยไม่หวนกลับมาอีก

กลุ่ม ผู้ชุมนุมเห็นว่าการให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีออกจากการรักษาการทั้งหมด จะทำให้เกิดสุญญากาศ และสามารถใช้มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีขึ้นมาเองได้ โดยใช้โมเดล นายกรัฐมนตรีŽ สมัยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

แม้จวบจนถึงขณะนี้จะยังต้องรอท่าทีของ ทั้งสองฝ่ายว่าจะหาข้อยุติกันเช่นไร แต่ทุกอย่างที่จะเป็นไปได้ดี ต้องยืนอยู่บนจุดความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้ ต้องดำเนินการภายใต้กรอบกติกาอันหลากหลาย อาทิ

ประการแรก ต้องเป็นการปฏิรูปที่อยู่ภายใต้กฎหมาย

หมายความว่า การปฏิรูปที่จะเกิดขึ้นต้องมีโครงสร้าง และบุคลากรบริหาร ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

คณะกรรมการปฏิรูปต้องมีกฎหมายรองรับ มีงบประมาณสนับสนุน มีกรอบการดำเนินงาน และมีผลงานออกมาเป็นรูปธรรม

ประการที่สอง ต้องเป็นการปฏิรูปที่มีเป้าหมายคือประชาธิปไตย

หมายความว่า เป้าหมายสุดท้ายของการปฏิรูปต้องเป็น ประชาธิปไตยŽ คือการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน โดยประชาชนมอบอำนาจชั่วคราวให้กับผู้แทนไปบริหารงาน หากพบว่าผู้แทนที่ตัวเองเลือกไปไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนก็สามารถเรียกร้องอำนาจของตัวเองกลับคืนมาได้

ประการที่สาม ต้องเป็นการปฏิรูปที่มีกระบวนการเป็นประชาธิปไตย

หมาย ความว่า ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการปฏิรูป ทั้งช่วยระดมคิด ซึ่งบางครั้งอาจมีความแตกต่าง แต่ก็สามารถพูดจากันได้ด้วยความรู้และเหตุผล ทั้งช่วยตัดสินใจด้วยการลงประชามติ

ประการที่สี่ ต้องเป็นการปฏิรูปที่โลกประชาธิปไตยยอมรับ

หมาย ความว่า ประเทศไทยเป็นสมาชิกหนึ่งในโลก ซึ่งปัจจุบันขั้วอำนาจของโลกเอียงไปทางประชาธิปไตย ทำให้ประเทศลัทธิทางการเมืองอื่นคล้อยตาม อาทิ ประเทศจีนเจ้าลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เปิดประเทศรับทุนนิยมเข้ามา ประเทศพม่าที่เป็นสังคมนิยมก็ดำเนินการเช่นกัน จะมีบ้างก็อย่างเกาหลีเหนือที่ยังปฏิเสธการปกครองชนิดนี้อยู่ แต่สำหรับประเทศไทยประกาศตัวเป็นประชาธิปไตยมานานแล้ว

การปฏิรูปให้ไทยเป็นประชาธิปไตย จึงต้องเป็นประชาธิปไตยบนพื้นฐานที่โลกประชาธิปไตยยอมรับด้วย

จึงมีคำถามว่า หากเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเพื่อปฏิรูปก่อน บรรยากาศในช่วงปฏิรูปจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ใช่ประชาธิปไตย

 
มี คำถามว่า การแสดงความคิดเห็นในช่วงเวลาการปฏิรูป ภายใต้บรรยากาศที่เลื่อนการเลือกตั้งออกไป สามารถทำได้โดยเสรีได้มากหรือน้อย สามารถออกความเห็นกันได้ทุกภูมิภาคหรือเปล่า

และการตัดสินใจเลือกและใช้แนวทางปฏิรูปในห้วงเวลารอรัฐบาลจากการเลือกตั้งนั้น น่าจะเป็นการตัดสินใจที่มีอิสระเสรีหรือไม่

สุดท้ายก็คือ ผลจากการปฏิรูปในช่วงเวลาที่ไม่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง จะเป็นที่ยอมรับของประเทศโลกประชาธิปไตยแค่ไหน

 
และหากทุกประการที่กล่าวมา เกิดขึ้นและดำเนินการในช่วงที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง...ผลจากการปฏิรูปแบบใดจะออกมาดีกว่ากัน


เป็นคำถามที่เปิดทางให้คนไทยตรึกตรองก่อนจะตัดสินใจขับเคลื่อนการปฏิรูป!

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387770680&grpid=01&catid= 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น