หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปเพิ่มเติมงานเสวนาเรื่องทุนกับแรงงาน 24 ก.พ. ที่ประชาไทไม่รายงาน

สรุปเพิ่มเติมงานเสวนาเรื่องทุนกับแรงงาน 24 ก.พ. ที่ประชาไทม่รายงา 
โดย พัชณีย์ คำหนัก
โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย

 

ผู้เขียนได้รับเชิญเป็นวิทยากรในงานเสวนา หัวข้อ“ทำไมกลุ่มทุนบางกลุ่มถึงคัดค้านการปรับค่าจ้าง  300  บาททั่วประเทศ” ของสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอการตัดเย็บเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์หนังแห่ง ประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 ก.พ. 56 ที่ห้องประชุม 14 ตุลา 19 ถ.ราชดำเนิน ส่วนประเด็นที่นำเสนอคือ สถานการณ์ปัญหาแรงงานปัจจุบันในบริบทความขัดแย้งทางการเมือง : การปรับตัวของชนชั้นนายทุนและผลกระทบต่อแรงงาน  คู่กับวิทยากรอีกท่านหนึ่งคือ อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ ที่นำเสนอเกี่ยวกับกลุ่มทุน  แต่สำนักข่าวประชาไทไม่รายงานให้ครบองค์ประกอบของการเสวนาที่มีวิทยากร 2 คน โดยไม่ทราบเหตุผล

ผู้เขียนจึงขอสรุปด้วยตัวเองเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับองค์กรแรงงานสำหรับวิจารณ์และแก้ไข ดังนี้
สถานการณ์แรงงานไทยปัจจุบันถูกนำเสนอออกเป็นสองช่วงคือ ช่วงวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 และช่วงปี 2555-2556  มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนปัญหาและสะท้อนนัยทางการเมือง เพื่อนำประเด็นที่สรุปไปแลกเปลี่ยนทัศนะกับสหภาพแรงงานในอนาคต

เราอยู่ในกระแสที่รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยใช้นโยบายประชานิยมเพิ่มค่า จ้างขั้นต่ำคู่ขนานไปกับนโยบายเสรีนิยมเอาใจนักลงทุน ลดภาษีนิติบุคคลเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กอปรกับการดำรงนโยบายค่าจ้างราคาถูกสวัสดิการต่ำกับระบบการจ้างงานแบบ ยืดหยุ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการจูงใจนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ  พร้อมๆ กับการอยู่ท่ามกลางสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองทั้งในเชิงสัญลักษณ์ ไปจนถึงการใช้ความรุนแรงโดยอ้างความมั่นคงของรัฐทำลายขบวนการเคลื่อนไหวทาง สังคม เช่น ขบวนการเสื้อแดง ภายใต้ความขัดแย้งทางการเมือ

ประเด็นปัญหาความไม่เป็นธรรมที่รัฐบาลชุดที่ผ่านมาและกลไกรัฐกระทำต่อขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่


¡  ขบวนการต้านรัฐประหารปี 2549 ถูกกลั่นแกล้ง ทำลาย


¡  เสรีภาพในการรวมตัว ชุมนุม แสดงความเห็นที่แตกต่างกัน ถูกคุกคามด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิด ทางคอมพิวเตอร์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในฯ ที่ใช้โดยกลไกรัฐที่เข้มแข็งคือ คุก ศาล ทหาร ตำรวจ


¡  ผู้ต้องหา นักโทษทางการเมืองจากการถูกสลายการชุมนุมเมื่อเดือนพ.ค.53 ยังคงถูกกักขังอย่างไม่เป็นธรรมหลายคน


สถานการณ์วิกฤตน้ำท่วม ปี 2554
วิกฤตน้ำท่วมสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ ดังนี้

·       ผู้ประกอบการในจ.อยุธยาได้รับความเสียหาย รวมมูลค่า 25 พันล้านบาท

·       โรงงานถูกน้ำท่วมประมาณ 500 แห่งใน 19 จังหวัด

·       สถานประกอบการทั่วประเทศได้รับผลกระทบ รวม 31 จังหวัด จำนวนกว่า 28,000 แห่ง 

·       ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานจำนวน 9.9 ล้านคน 
 
·       ผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วมจำนวน 1,000 คน บาดเจ็บ 107,000 คน

·       แรงงานถูกเลิกจ้างจำนวน 50,000 คน จากสถานประกอบทั้งหมด 117 แห่ง

·       ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือแรงงานเหมาค่าแรง หรือเอาท์ซอร์ส

·       สหภาพแรงงานถูกทำลายประมาณ 10 แห่ง

ภายใต้สถานการณ์ข้างต้น ผู้ประกอบการต้องระงับการผลิตเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนการผลิตไปยังลูกค้า หรือแบรนด์ ทำให้ลูกค้าหาผู้รับจ้างผลิตรายใหม่แทนที่ ทำให้สูญเสียโอกาสในการดำเนินกิจการ  และยังต้องรื้อฟื้นกิจการอีกเป็นเวลา 2-3 เดือน จึงขอระงับการจ่ายหนี้สินและขอเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารของรัฐในอัตรา ดอกเบี้ยต่ำ 

นอกจากนี้ นายจ้างที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ยังใช้มาตรการกับลูกจ้างที่แตกต่างกันไป เช่น

·       เลิกจ้างและปิดกิจการ

·       ย้ายแรงงานไปยังฐานการผลิตในต่างประเทศ หรือต่างจังหวัดในภาคตะวันออกเพื่อหนีน้ำท่วม

·       เลิกจ้างคนงานทั้งหมด และรับคนใหม่เข้ามาทำงานแทนและเปลี่ยนสภาพการจ้างงาน

·       เลิกจ้างคนงานบางส่วน ซึ่งเป็นคนงานเหมาและย้ายโรงงานไปจังหวัดอื่นเพื่อหลีกเลี่ยงน้ำท่วม ทำให้คนงานหลายคนไม่ต้องการย้าย

·       ขายกิจการ ถ่ายโอนพนักงานทั้งหมดไปยังนายจ้างคนใหม่ โดยไม่มีความชัดเจนเรื่องสภาพการจ้างงาน

·       ให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออก เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายค่าชดเชย
สำหรับนายจ้างที่ไม่ได้รับผลกระทบ กระทำดังนี้

·       ใช้น้ำท่วมเป็นข้ออ้างในการเลิกจ้างคนงานจำนวนมากและทำลายสหภาพแรงงาน
·       มีข้อพิพาทกับแรงงาน และเลิกจ้าง ทำลายสหภาพแรงงาน

·       นายจ้างที่เข้ามากุมกิจการบริษัทบางแห่งที่ได้รับผลกระทบ ขอเปลี่ยนสภาพการจ้างงานลูกจ้างบริษัทเดิม และเลิกจ้างบางส่วน

ดังนั้น เราสามารถสรุปประเด็นปัญหาแรงงานของปี 2554 ได้ดังนี้

·       เลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลอยแพลูกจ้างเหมาค่าแรง

·       ลดค่าจ้างลดลงเหลือ 25%, 50%,75%

·       ย้ายโรงงานไปยังต่างจังหวัดและต่างประเทศ โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า

·       สหภาพแรงงานถูกทำลายอำนาจการต่อรอง

(รายงานสถานการณ์แรงงานช่วงน้ำท่วม อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย www.thailabour.org)

เหตุผลของนายจ้างที่ใช้ยกเลิกสัญญาจ้างงานข้างต้น มีดังนี้


¡  น้ำท่วมโรงงาน เครื่องจักรเสียหาย ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้บางส่วนและต้องลดจำนวนลูกจ้างส่วนเกินเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย


¡  น้ำไม่ท่วมโรงงาน แต่ขาดชิ้นส่วนการผลิตบางส่วนจากผู้ผลิตรายอื่นที่น้ำท่วม ทำให้ผลิตได้ไม่เต็มที่ ต้องลดกำลังการผลิตลง


¡  น้ำท่วมโรงงาน ดำเนินการผลิตไม่ได้ ต้องเลิกจ้างลูกจ้างเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

¡  ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ จึงต้องลดจำนวนลูกจ้าง

ในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐตอบสนองปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยวิธีการดังนี้


¡  ตำรวจไม่รับแจ้งความจากคนงานที่ถูกโกงค่าจ้าง


¡  ศาลแรงงานพยายามกดดันลูกจ้างให้ยอมรับการเลิกจ้างและรับค่าชดเชยแทน


¡  การร้องทุกข์ผ่านสำนักงานแรงงานและสวัสดิการจังหวัดไม่บังเกิดผล เพราะไม่อำนวยความสะดวกคนงานให้เจรจาต่อรองกับนายจ้าง


¡  ขั้นตอนการสอบสวนร้องทุกข์ไม่มีประสิทธิภาพ ใช้เวลาถึง 60 วันและต่ออีก 30 วันหากนายจ้างอุทธรณ์


¡  กระทรวงแรงงานไม่ตรวจสอบการกระทำไม่เป็นธรรมของนายจ้างที่โกงค่าจ้าง ค่าชดเชย ทำลายสหภาพแรงงาน ใช้กลอุบายหลอกลวงลูกจ้าง


¡  กระทรวงยืดหยุ่นกฎระเบียบเป็นคุณให้นายจ้างไม่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายในการจ่ายค่าชดเชย โดยยอมให้แบ่งจ่ายคนงานเป็น 2 งวด

เราสามารถสรุปผลกระทบของวิกฤตน้ำท่วมที่ส่งผลต่อผู้ใช้แรงงาน ดังนี้


¡  ภาวะความไม่มั่นคงเมื่อเกิดวิกฤต การละเมิดสิทธิแรงงานเกิดขึ้นทั่วไป


¡  จากนโยบายจ้างงานแบบยืดหยุ่นทำให้แรงงานสูญเสียสถานะการจ้างงานโดยง่าย


¡  การลดบทบาทของรัฐในการดูแลคุ้มครองสวัสดิการสังคมของผู้ใช้แรงงาน


¡  สวัสดิการสังคมไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับปัญหาวิกฤต ทำให้แรงงานถูกผลักภาระ

¡  ระบบยุติธรรมไม่เห็นใจแรงงาน (2 มาตรฐาน)

สถานการณ์แรงงานหลังประกาศค่าจ้างขั้นต่ำ 300

ผู้เขียนได้สำรวจสถานการณ์หลังจากรัฐบาลขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเมษายน 2555 ว่าส่งผลต่อการปรับตัวของนายจ้างอย่างไร  โดยศึกษากรณีโรงงานผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์แห่งหนึ่ง ในอ.วังน้อย จ.อยุธยา

บริษัท N  P (ขอปกปิดชื่อจริง) รับจ้างผลิตมอเตอร์หมุนของฮาร์ดดิสไดร์ฟ  (spindle motors) ให้แก่แบรนด์ Western Digital, Seagate, Hitachi  ได้ปรับตัวด้วยวิธีการดังนี้


¡  เร่งงานให้ได้ตามเป้าการผลิต


¡  เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต คนงานหญิงทำงานหนักขึ้น


¡  ลดค่าใช้จ่ายของโรงงาน

ในขณะที่สภาพการจ้างงานของคนงานจำนวน 2,000 คน ในภาพรวมยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนี้

¡  สถานะลูกจ้างเป็นพนักงานรายเดือน จำนวนประมาณ 1,500 คน และเป็นพนักงานรายวัน ประมาณ 500 คน  ไม่มีพนักงานเหมาช่วง
  

¡  85% เป็นกำลังแรงงานหญิง


¡  ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มจาก 190 บาทเป็น 282 บาท จากนั้นขึ้นตามอายุงาน


¡  ระบบวันทำงาน ทำ 5 หยุด 1 วัน ไม่กำหนดวันหยุดตายตัว มี 2 กะ เริ่มเวลา 8.00-17.00 น.


¡  โอที ตั้งแต่เวลา 17.30 – 20.00 น. (2.5 ช.ม.)


¡  กะดึก 35 บาท (เปลี่ยนทุกสัปดาห์)

สวัสดิการ ได้แก่


¡  เบี้ยขยัน เริ่มจาก 600 บาทถึง 800 บาท


¡  โบนัสประจำปีกำหนด  71 วัน จ่ายทุกวันที่ 29 เดือนธ.ค
.

¡  ค่าครองชีพ 960 บาท/เดือน


¡  ค่าข้าว 20/ด


¡  ค่าความเสี่ยง 12 บาท/วัน ในแผนกส่องกล้อง

รวมสวัสดิการที่เป็นตัวเงิน  2,735-3,047 บาทต่อวันทำงาน 26 วัน

การปรับค่าจ้าง เดือนละ 2,160 สำหรับพนักงานรายเดือน ดังตัวอย่างเช่น


¡  คนงานใหม่  8,460 บาท


¡  คนงานที่มีอายุงาน 4 ปี  8,910 บาท


¡  คนงานที่มีอายุงาน 10 ปี 10,200 บาท


¡  คนงานที่มีอายุงาน 16  ปี 11,000 บาท


¡  คนงานที่มีอายุงาน 20 ปี 12,290 บาท


¡  คนงานที่มีอายุงาน 21 ปี 14,000 บาท

จากรายได้ข้างต้น ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต พวกเขาจึงต้องการค่าจ้างวันละ 1,000 บาท เพื่อเลี้ยงดูคนในครอบครัวได้อีก 2 คน

เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเงินเดือนของฝ่ายบริหาร ทำให้เห็นโครงสร้างรายได้ที่เหลื่อมล้ำกัน ดังนี้


¡  ประธานบริษัทและกรรมการบอร์ด (ไม่ทราบแน่ชัด)


¡  ผู้จัดการโรงงาน 200,000


¡  รองผู้จัดการโรงงาน 150,000


¡  ผู้จัดการฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต, ฝ่ายบริหารทั่วไป  60,000-80,000


¡  รองผู้จัดการ เช่น ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ QA 40,000-60,000


¡  หัวหน้า Senior 40,000-50,000


¡  ซุปเปอร์ไวเซอร์   30,000-40,000


¡  ผู้ช่วยซุปฯ 20,000


¡   Senior Staff  15,000


¡   Staff  12,000


¡   หัวหน้างาน 13,000+1,000 (ค่าตำแหน่ง)
 

¡   รองหัวหน้างาน Sub-leader-12,000+500 (ค่าตำแหน่ง)

¡   ฝ่ายปฏิบัติการ  8,460 (ปรับตามอายุงาน)

กรณีศึกษาข้างต้นพนักงานยังไม่ประสบปัญหาการถูกเลิกจ้าง แต่พบว่ามีปัญหาการลาออกของพนักงานเพราะไม่สามารถทนทำงานหนักได้ ที่ก่อให้เกิดปัญหาความเครียดตามมา

จากตัวอย่างการปรับตัวของทุนข้างต้น ทำให้เห็นได้ว่า ยังไม่มีการยกระดับมาตรฐานการจ้างงานให้สูงขึ้น  ล่าสุดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์ การเลิกจ้าง จากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2556 ว่ามีสถานประกอบการเลิกจ้าง จำนวน 41 แห่ง รวมลูกจ้างถูกเลิกจ้าง 1, 874  คน  ในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้าง เพียง 495 คน แต่ยังมีสถานประกอบการเสี่ยงเลิกจ้างเพิ่ม อีก 24 แห่ง รวมลูกจ้าง 3,901 คน  และมีแรงงานที่เป็นผู้ประกันตน ขึ้นทะเบียนว่างงานสะสมแล้วจำนวนประมาณ 52,000 คน

 ในการปรับตัวของทุนอีกรูปแบบหนึ่งคือ ปรับลดสวัสดิการเดิมลงเพื่อชดเชยกับการปรับอัตราค่าจ้าง ซึ่งพบเห็นทั่วไป เพื่อรักษาอัตรากำไรไม่ให้ลดลง อีกทั้งยังมีนายจ้างที่เลือกใช้วิธีการเลิกจ้างสมาชิกสหภาพแรงงานเพื่อบั่น ทอนอำนาจการเจรจาต่อรอง ดังกรณีของสหภาพแรงงานอิเลคโทรลักซ์ ที่สมาชิกจำนวน 129 คน ถูกเลิกจ้างจากการขอเจรจาปรับฐานเงินเดือนตามอายุงาน เมื่อเดือนม.ค.56  และยังมีสหภาพแรงงานด้านขนส่งภาคเอกชนได้รับค่าจ้างต่ำกว่าอัตราค่าจ้าง ขั้นต่ำ เป็นต้น

ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดย่อย-กลาง

จากข้อมูลจากปลัดกระทรวงแรงงานเมื่อเดือนม.ค. 56 พบว่ามีผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ปิดกิจการลง โดยสาเหตุหลัก คือ ประสบปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เช่น ขาดออร์เดอร์สั่งซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปัญหาเรื่องการย้ายกิจการจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้ขาดสภาพคล่องจากการบริหารธุรกิจโดยภาพรวม  ดังนั้นการปิดกิจการจึงมาจากปัจจัยภายในสืบเนื่องจากปีที่แล้ว และอาจเป็นการกล่าวอ้างผสมรอยว่าเกิดจากการปรับค่าจ้าง 300 บาท เพื่อขอความเห็นใจมากกว่า

สรุปประเด็นแรงงานจากสถานการณ์ปี 2555-2556

1.      แรงงานยังมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำ

2.      แรงงานยังไม่มีอำนาจการต่อรองที่แท้จริง

3.      ระบบสวัสดิการถูกนายจ้างปรับลดและรัฐไม่ปรับปรุง

4.      ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนยังไม่ได้รับการแก้ไข
5.      ข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานถูกแช่แข็ง

6.      นโยบายประชานิยมไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำได้

7.      กลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชนไร้ประสิทธิภาพ

ปัญหาเศรษฐกิจแรงงานต่อนัยทางการเมือง มีประเด็นดังนี้

1.      การใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบ เพราะระบบอภิสิทธิ์ชนในโครงสร้างรัฐไทยเข้มแข็ง สถานะทางชนชั้นระหว่างทุนกับแรงงานยังคงแตกต่างกัน

2.      ประชาชนถูกลดทอนอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ไม่มีอำนาจการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายในระดับสถานที่ทำงานและระดับการเมือง

3.      ประชาธิปไตยอ่อนแอ การละเมิดสิทธิมนุษยชนมีมากขึ้น สิทธิเสรีภาพในสถานที่ทำงานและระดับการเมืองของประชาชนยังไม่ได้รับการส่ง เสริมอย่างจริงจัง

4.      ไม่มีพรรคการเมืองใดเสนอการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เช่น เก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า ปรับปรุงสวัสดิการให้ได้มาตรฐานสากล

ข้อเสนอต่อการปรับปรุงแนวทางการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน

1.      ปรับปรุงขบวนการแรงงาน ด้วยการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสมาชิกให้มีพื้นที่แสดงออกมากขึ้น ลดช่องว่างระหว่างสมาชิกกับแกนนำทั้งด้านความสามารถและอำนาจการตัดสินใจ

2.      สหภาพแรงงานต้องเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ระบบการเลือกตั้งที่เป็นอยู่ไม่เพียงพอ และไม่ประกันการมีประชาธิปไตยภายในองค์กรได้เสมอไป

3.      มีโครงการทางการเมืองของตัวเอง มีชุดความคิดทางการเมืองชัดเจน

4.      มีชุดข้อเสนอที่เป็นระบบ และมีการจัดลำดับความสำคัญ

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/print/45576

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น