The Economist วิเคราะห์กระแสการตื่นตัวของชนชั้นกลางในการประท้วงทั่วโลก
ดิ อิโคโนมิสต์ ชี้ กระแสตื่นตัวในหมู่ชนชั้นกลางและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เอื้อต่อการกระจาย ข้อมูล ทำให้เกิดการทำตามกันอย่างเรื่องหน้ากาก V และเหตุการณ์ประท้วงหลายแห่งทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมาทั้งในบราซิล, ตุรกี, อินโดนีเซีย ฯลฯ
29 มิ.ย. 2013 - เว็บไซต์ The Economist นำเสนอบทความชื่อ "The march of protest" เกี่ยวกับกระแสการประท้วงรัฐบาลที่เกิดขึ้นทั่วโลกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ ผ่านมา บางแห่งมีการใช้หน้ากาก กาย ฟอว์กส์ จากตัวละคร V ในการ์ตูนยุค 1980 ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มกลุ่มแฮกเกอร์ที่เรียกตัวเองว่าเป็น "ผู้นิรนาม" (Anonymous)
โดยการประท้วงในแต่ละที่มีที่มาต่างกัน เช่น ในบราซิลเริ่มต้นมาจากการประท้วงต่อต้านการขึ้นค่าโดยสารรถประจำทาง, ในตุรกีเริ่มจะการประท้วงโครงการก่อสร้างที่มีการรื้อถอนสวนสาธารณะ, อินโดนีเซียมีการประท้วงการขึ้นราคาเชื้อเพลิง, ในบัลแกเรียเป็นการประท้วงการเอื้อผลประโยชน์ให้พวกเดียวกันในรัฐบาล ส่วนในเขตประเทศยุโรปก็มีการประท้วงต่อต้านนโยบายจำกัดงบประมาณ (austerity) ขณะที่ปรากฏการณ์ "อาหรับสปริง" ในตอนนี้ก็กลายเป็นการประท้วงโดยถาวรในแทบทุกเรื่อง ผู้ประท้วงแต่ละกลุ่มต่างก็มีความไม่พอใจในแบบของตัวเอง
แต่กระนั้นในบทความกล่าวว่า ผู้คนก็ยังคงมีลักษณะของการเรียกร้องร่วมกัน ผู้ชุมนุมก็มีลักษณะคล้ายกัน แบบการประท้วงที่เคยเกิดขึ้นในปี 1848, 1968 และ 1989 แม้ว่าการประท้วงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาจะเกิดการรวมตัวอย่างรวดเร็ว ในยุคนี้มีความตื่นตัวของประชาธิปไตยมากกว่าเผด็จการ และผู้ชุมนุมก็มักจะเป็นกลุ่มชนชั้นกลางธรรมดาๆ ไม่ใช่กลุ่มผลประโยชน์ที่มีข้อเรียกร้องเรียงกันเป็นรายการ พวกเขามีทั้งความสนุกสนานและความโกรธในการกล่าวประณามการทุจริต, ความไร้ประสิทธิภาพ และความจองหองของผู้บริหารประเทศ
ไม่มีใครรู้ว่าปรากฏการณ์ในปี 2013
จะเปลี่ยนโลกไปอย่างไรหรือแม้กระทั่งจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริงหรือไม่ ในปี
1989 สหภาพโซเวียตคลอนแคลนและล่มสลาย แต่ในปี 1848 ที่มาร์กซ์
เชื่อว่าเป็นกระแสการปฏิวัติชนชั้นแรงงานครั้งแรกก็ต้องแปลกใจกับการเบ่งบาน
ของระบบทุนนิยมในอีกหลายทศวรรษต่อมา และในปี 1968
ที่ดูเหมือนจะเป็นแนวถอนรากถอนโคนก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเพศ
มากกว่าเรื่องการเมือง แม้ว่าในตอนนี้ก็ยังบอกไม่ได้ว่าปรากฏการณ์ปี 2013
จะนำไปสู่อะไร แต่สำหรับนักการเมืองที่พยายามใช้วิธีการแบบเก่านั้น
มันไม่ใช่ข่าวดีเลย
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น