อุดมการณ์ชาตินิยมใน “คู่กรรม”
แน่นอนว่าการที่นวนิยายเรื่องหนึ่งๆ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อยู่เนืองๆ ไม่นับเวอร์ชันละคร โทรทัศน์หรือละครเวทีหรือละครเพลง ย่อมเป็นตัวสะท้อนหรือตัวตอกย้ำวาทกรรมอะไรบางประการของสังคมได้อย่างดีจึง จะได้รับการตอบรับจากมวลชนอย่างล้นหลามแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร สำหรับคู่กรรมซึ่งสะท้อนภาพของญี่ปุ่นในฐานะศัตรูหรือผู้ยึดครองประเทศได้ แตกต่างจากนวนิยายหรือภาพยนตร์ปลุกใจรักชาติของไทยเรื่องอื่นที่มุ่งโจมตี ผู้รุกรานยึดครองคือพม่าเหมือนท้องฟ้ากับก้นเหว[i] เพราะสำหรับคนไทยแล้วญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไทยเฝ้ามองอย่างชื่นชมมานาน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่เปิดประตูสู่ตะวันตก มีการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รวมไปถึงการพัฒนาการทางทหารจนทันสมัยกลายเป็นมหาอำนาจจนญี่ปุ่นเป็นเอเชีย ชาติแรกที่สามารถทำสงครามทางเรือชนะฝรั่งคือรัสเซียได้ในปี 1905 นายทหารไทยในยุคต้นๆ เช่นพวกที่ก่อขบฏรศ.130 จึงให้การยกย่องญี่ปุ่นอย่างมาก
แม้ว่าในช่วงทศวรรษที่ 30-40 ญี่ปุ่นจะกลายเป็นผู้ร้ายด้วยลัทธิฟาสซิสต์และลัทธิทหารหรือหลายทศวรรษต่อมา ญี่ปุ่นจะตั้งตัวจากความพินาศทางสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจจนถูก โจมตีโดยนักศึกษาไทยว่าเป็นภัยเหลืองหรือจักรวรรดินิยมใหม่ แต่คนไทยทั่วไปก็พอให้อภัยต่อญี่ปุ่นในฐานะนายทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดราย หนึ่งที่มาลงทุนในประเทศไทย สินค้าญี่ปุ่น วัฒนธรรมญี่ปุ่นหรือ J-pop หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทย เป็นประเทศที่น่าไปท่องเที่ยวและน่าสงสารเห็นใจเมื่อโรงงานไฟฟ้าฟูกุชิมะถูก ซึนามิถล่มเมื่อ 2 ปีก่อน ดังนั้นการที่ภาพยนตร์จะสะท้อนภาพทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกในด้านลบอาจทำ ให้ไม่ได้รายได้จากคนดูชาวไทยซึ่งส่วนใหญ่นิยมชมชอบญี่ปุ่น (แม้ว่าปัจจุบันจะน้อยกว่าเกาหลีก็ตาม) เป็นกอบเป็นกำนัก ที่สำคัญยังก่อให้ เกิดบรรยากาศไม่ค่อยดีต่อเศรษฐกิจไทย ยิ่งปัจจุบันญี่ปุ่นจะมาให้ไทยเป็นทางผ่านไปตีพม่าครั้งที่ 2 ในสมรภูมิเศรษฐกิจเสรีนิยม เราก็ต้องเอาใจพม่ากันมากกว่าเดิม
ตัวอย่างของความเกรงใจของสื่อไทยในการนำเสนอภาพของคนญี่ปุ่นก็ได้แก่ตอน ที่ผู้เขียนจำได้ว่านานมากแล้วมีคนนำเรื่องสั้นของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชคือเรื่อง"มอม" มาสร้างเป็นละครโทรทัศน์ได้พบกับ ปัญหากับ ก.บ.ว.ในยุคนั้นมากเพราะถูกหั่นในฉากที่นำเสนอทหารญี่ปุ่นในด้านลบ ในทางกลับกัน ไทยก็หันไปเชิดชูญี่ปุ่นผ่านแง่มุมอื่นทางประวัติศาสตร์อื่นๆ โดยมากเกี่ยวกับการทหาร เช่น ประวัติของนายยะมะดะ ซามูไรที่เดินทางมารับราชการเป็นทหารรับจ้างในสมัยพระเจ้าทรงธรรม จนได้กลายเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ในภาพยนตร์ตำนานพระนเรศวรก็มีคนญี่ปุ่นมาเป็นรับใช้ในกองทัพโดยได้ บรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข เข้าใจว่าคนญี่ปุ่นมาดูก็คงจะยิ้มแป้นด้วยความภูมิใจว่าได้ร่วมเป็นส่วน หนึ่งในการสร้างชาติของสยามประเทศ กระนั้นการจะวิเคราะห์ว่าสาเหตุที่คู่กรรมได้รับความนิยมเพราะคนไทยชื่นชอบ ญี่ปุ่นและต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจต่อญี่ปุ่นก็คงเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง เพราะทฤษฎีอื่นๆ ก็ดูเข้าทีไม่น้อยอย่างเช่นหลักจิตวิทยาที่เคยมีคนวิเคราะห์กันมาแล้วเช่น ความรักของอังสุมาลินเป็นแบบความรักแบบจำยอม (Masochist love) หรือเป็นความรักแบบโรมิโอกับจูเลียตที่หนุ่มสาวคู่รักมาจาก 2 ฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกันหรือคนเขียนนิยมลัทธิทหารเพราะถูกกล่าวหาว่าเกี่ยว ข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลาจึงใช้โกโบริเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็งของกองทัพ ฯลฯ
สำหรับผู้เขียนคิดว่าสาเหตุอื่นที่ทำให้นวนิยายถูกสร้างมาเป็นภาพยนตร์ หรือละครไปเรื่อยๆ เพราะนัยของลัทธิชาตินิยมที่ซ่อนเร้นในเรื่องที่ทำให้นวนิยายได้รับความนิยม อย่างมาก แม้ไม่มีใครจะเสียสติพอจะจัดให้เรื่องคู่กรรมว่าเป็นนวนิยายปลุกใจให้คนไทย รักชาติเหมือนศึกบางระจัน เพราะความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างญี่ปุ่นและไทยในคู่กรรมดูเหมือนจะขัดกับ วาทกรรมชาตินิยมดังในนวนิยายเรื่องอื่น ความจริงแล้วหากมองให้ลึกไปกว่านั้นนวนิยายได้สะท้อนอุดมการณ์ชาตินิยมที่ แนบเนียนกว่า เช่นถึงแม้คู่กรรมจะสะท้อนถึงเมืองไทยที่ตกอยู่ภายใต้ "ภาวะจำยอมภายใต้อำนาจของศัตรู" เหมือนฝรั่งเศสถูกเยอรมันยึดครองในปี 1940 คือไม่สามารถสร้างฉากหรือ scenario ที่นักรบชาวไทยเข้าสู้จนเลือดหยดสุดท้ายเพื่อปกป้องบ้านเมืองได้ แต่นวนิยายก็สามารถทำให้คนไทยรู้สึกดีได้โดยการนำเสนอภาพของตนเองไม่ได้อยู่ ในด้านลบเช่นบรรยายว่าทหารญี่ปุ่นปฏิบัติต่อคนไทยดีกว่าชาติอื่นในเอเชียทำ ให้คนไทยที่คุ้นชินกับลัทธิชาตินิยมยังคงรักษาความเชื่อที่ว่า "ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร"เอาไว้ได้ เพราะญี่ปุ่นเสมือนไม่ได้ยึดครองไทยแต่เป็น"พันธมิตร" กับรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมักถูกกล่าวหาว่าชั่วร้ายและทะเยอทะยานในช่วงที่องค์กษัตริย์กำลัง ประทับอยู่ต่างประเทศ กล่าวคือญี่ปุ่นไม่ได้ปฏิบัติต่อคนไทยในฐานะผู้ยึดครองแต่เป็นมิตร ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของรัฐบาลในยุคนั้นรวมถึงความเชื่อคนไทยจำนวนมากใน ปัจจุบันและคงสืบต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้การให้ตัวแทนของฝ่ายไทยคืออังศุมาลินเท่ากับการทำให้ไทยมีเพศ สภาพเหมือนผู้หญิง (feminizing) อันขัดแย้งกับการบรรยายเรื่องแบบชาตินิยมที่มักทำให้คนไทยเป็นผู้ชายเช่น เป็นนักรบที่แข็งแกร่ง แต่ก็เป็นตัวตอกย้ำมิตรภาพระหว่างญี่ปุ่นกับไทยว่าเหมือนเป็นคู่รักอย่างแสน ดูดดื่มดุจดังเช่นงานวิวาห์ระหว่างโกโบริและอังศุมาลิน อังศุมาลินจึงเปรียบกับทูตสันถวไมตรีของ 2 ชาติที่เป็นพันธมิตรเคียงคู่ไปด้วยกันโดยตั้งอยู่บนความเคารพและให้เกียรติ กันจนเป็นการยกย่องความเป็นนักการทูตของคนไทย นอกจากนี้อังศุมาลินก็ยังแสดงถึงความเป็นอิสระของคนไทยเช่นมีความกล้าหาญ สามารถช่วยทหารฝ่ายสัมพันธมิตรร่างสูงโย่งที่ต้องหนีหัวซุกหัวซุนจากการจับ กุมตัวของทหารญี่ปุ่น อันสะท้อนว่าถึงแม้เธอจะเป็นคู่รักของโกโบริแต่ก็ไม่ถูกความเป็นญี่ปุ่นครอบ งำความเป็นคุณธรรมของคนไทย
ความสัมพันธ์อันแสนดีของไทยกับญี่ปุ่นเช่นนี้ เป็นตัวรับประกันว่าอังศุมาลินหรือผู้หญิงไทยคนอื่นไม่มีทางจะถูกทหาร ญี่ปุ่นข่มขืนหมู่หรือถูกจับไปเป็นหญิงบำเรอกาม (Comfort Woman) นอกจากนี้คนไทยยังไม่มีทางถูกทหารญี่ปุ่นบังคับให้ขุดดินแล้วฝังให้ตายทั้ง เป็นพร้อมกันเป็นหมู่เหมือนคนจีนในเมืองนานกิงเมื่อปี 1937 เว้นแต่จะถูกลงโทษแต่ไม่รุนแรงเท่ากับคนชาติอื่นที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง แถมนวนิยายยังได้ชี้ได้ว่าเป็นเพราะพฤติกรรมไม่ดีของคนไทยเองที่เป็น"ไทย ถีบ" ไปขโมยของทหารญี่ปุ่นก่อน ไทยจึงดูเหมือนว่ามีความเหนือกว่าจีน เกาหลีหรือเพื่อนประเทศกลุ่มอาเซียนที่โดนญี่ปุ่นบุกเข้าไปยึดครองเหมือนกัน แต่การนำเสนอเช่นนี้มักมองข้ามข้อมูลทางประวัติศาสตร์เช่นความขัดแย้ง ระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่นหรือคนไทยกับทหารญี่ปุ่นจนเกือบจะนำไปสู่สงคราม ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกันจริงๆ หลายครั้งจนสิ้นสงครามโลก
การสะท้อนนัยของอุดมการณ์ชาตินิยมแบบแนบเนียนอีกวิธีหนึ่งของนวนิยายคือ การดึงเอาตัวตนจากภายนอกเช่นต่างชาติซึ่งดูสูงส่งหรือมีความซับซ้อนกว่าเข้า มาเป็นของชาติตัวเอง[ii] อย่างเช่นนวนิยายดึงเอาโกโบริมาเป็นเป็นวีรบุรุษของคนไทยโดยที่ยังคงเป็น ทหารญี่ปุ่นอยู่คือความเป็นลูกครึ่งระหว่างคนไทยกับญี่ปุ่นแบบพิศดาร ดังนั้นจึงไม่น่าประหลาดใจว่าไม่มีคู่กรรมเวอร์ชั่นใดที่เสี่ยงเอาคนญี่ปุ่น จริงๆ มาแสดงเป็นโกโบริ แม้ว่าพระเอกหลายคนค่อนข้างห่างจากผู้ชายญี่ปุ่นไปมากก็ตามอย่างเช่นนาทภูว นัย ธงชัย แม็คอินไตย วรุฒ วรธรรม อย่างไรก็ตามการที่คุณทมยันตีเกิดเมื่อปี 2480 และเขียนเรื่องคู่กรรมเมื่อ พ.ศ.2508 ย่อมบอกได้ว่าเธอไม่น่าจะรับรู้ตัวตนหรือสามารถนำเสนอภาพที่แท้จริงของทหาร ญี่ปุ่นได้เลย แต่อาจจะมีลักษณะบางประการที่ดูสอดคล้องกันบ้างเช่นให้โกโบริเป็นลูกผู้ชาย มีความกล้าหาญสามารถสู้จนตัวตายหรือทำฮาราคีรีก็ได้ ถึงแม้โกโบริจะเป็นคนญี่ปุ่นแต่การมีคุณธรรมและการยึดมั่นในสมเด็จพระ จักรพรรดิของเขาย่อมทำให้ตัวละครเช่นนี้ย่อมสอดคล้องกับอุดมการณ์ชาตินิยม ที่ผสมกับราชานิยมไม่น้อย
ส่วนตัวตนด้านอื่นของโกโบรินั้นก็น่าจะเกิดจากการที่คุณทมยันตีได้ผสม ผสานกับภาพลักษณ์ของชายชาติทหารในนวนิยายแบบพาฝันของยุโรปซึ่งได้รับความ นิยมในเมืองไทยตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมารวมไปถึงพระเอกในวรรณคดีไทย (?) เช่นเขาซ่อนความอ่อนโยน ความอ่อนไหว (เล่นดนตรีขิม) และความเปิ่น (พยายามเรียนภาษาไทย) ภายใต้ความเป็นผู้นำ ซึ่งเป็น Ideal type ของผู้ชายตามรสนิยมของผู้หญิงไทยในยุคใหม่เป็นอย่างยิ่ง เขาจึงดูเป็นเด็กหนุ่มที่ไม่น่าจะผ่านศึกสงครามที่อื่นมาโชกโชน ไม่ผ่านสงครามที่เซี่ยงไฮ้หรือนานกิง ไม่มีการกล่าวถึงอุดมการณ์ฟาสซิสต์แบบญี่ปุ่น ไม่มีการเหยียดเชื้อชาติแถมยังมีมุมมองที่ดีและชอบเมืองไทย การยกย่องทหารญี่ปุ่นแบบฝัน ๆ แบบโกโบริ ยังสอดคล้องกับอุดมการณ์ชาตินิยมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลางหรือราชา ชาตินิยมที่เว้นไม่นำเสนอวีรกรรมของบุคคลบางกลุ่มซึ่งเป็น “คนนอก” ที่พวกกษัตริย์นิยมถือว่าเป็นฝ่ายตรงกันข้ามอย่างเช่นนวนิยายไม่ได้กล่าวถึง หรือยกย่องบรรดาทหาร ตำรวจและยุวชนทหารซึ่งต่อสู้กับการยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นเพราะคนเหล่านั้น เป็นผลผลิตของระบบราชการที่วางโดยจอมพล ป. และต้องต่อสู้ภายใต้การปลุกระดมลัทธิชาตินิยมของจอมพล ป.ที่ถูกโจมตีว่าเป็น “พวกล้มเจ้า”หมายเลข 1 แถมยังยุติการรบเพียงเพราะได้รับคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีไม่ใช่ต่อสู้จนตาย เพราะรักชาติและพระมหากษัตริย์ นวนิยายยังทำให้ขบวนการเสรีไทยที่มีตัวแทนของวนัส "เพื่อนสนิท"ของอังศุมาลินด้อยพลังไปอีกเช่นกันเพราะขบวนการเสรีไทยเป็น สัญลักษณ์ของผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็น "พวกล้มเจ้า" หมายเลข 2 คือนายปรีดี พนมยงค์ (ทั้งที่ความจริงมีตัวละครหลักในการจัดตั้งเสรีไทยมากกว่านั้น)และยังร่วม มือกับฝรั่งที่ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดให้ชาวพระนครเสียชีวิตไปเป็นจำนวน มากรวมทั้งโกโบริ ทั้งที่ความจริงแล้ว ทั้ง 2 กลุ่มเป็นวีรบุรุษของคนไทยแต่มักไม่ถูกนำเสนอให้ชัดเจนในหน้าประวัติศาสตร์ ไทยในระนาบเดียวกับบรรพบุรุษของไทยแต่โบราณทั้งหลายเพราะไม่สามารถเข้าได้ กับโครงเรื่องทางประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยม
จากเหตุผลข้างบนย่อมทำให้มีการวิเคราะห์ได้ว่านวนิยายคู่กรรมได้รับความ นิยมเพราะนอกจากจะสะท้อนนัยของอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่มีวีรสตรีคืออังศุมา ลิน แล้วโกโบริเป็นตัวละครที่เข้ามาชดเชยความเป็นทหารไทยผู้กล้าในอดีตที่สูญหาย ไปในช่วงที่พระมหากษัตริย์ไทยเสมือนไม่ได้มีตัวตนหรือบทบาทคือในช่วงที่ สามัญชนไม่ว่าพลเรือนหรือทหารผลัดกันเข้ามามีบทบาททางการเมืองอย่างมาก ตั้งแต่หลัง 2475 จนมาถึงปี 2500 โดยเฉพาะช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนไทยมักรู้สึกว่าตนนั้นด้อยความสามารถในการป้องกันประเทศมากที่สุด แต่โกโบริสามารถทำให้คนอ่านรู้สึกว่าเขาเป็น “Our Kind of guy” มากว่าเสียกว่าคนไทยด้วยกันบางกลุ่มดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเสียอีกเพราะบทบาทของพวกเขาถูกบดบังโดยอิทธิพลของอุดมการณ์ราชาชาตินิยม[iii] ก่อนที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้รื้อฟื้นอำนาจของสถาบันกษัตริย์ พร้อมกับนำไทยเข้าสู่สงครามเย็นและวาทกรรมของทหารกล้าซึ่งต่อสู้กับลัทธิ คอมมิวนิสต์เพื่อชาติและสถาบันพระมหากษัตริย์จะเข้ามีอิทธิพลต่อวงการ ภาพยนตร์และสื่อบันเทิงอื่นๆ ของไทย
ด้วยการสะท้อนและการผลิตซ้ำนัยของชาตินิยมเช่นนี้ จึงเป็นที่แน่ชัดว่าคู่กรรมจะยังคงเนื้อเรื่องเช่นนี้ไว้อยู่ตลอดไป.....
[i] การที่ภาพยนตร์ปลุกใจให้รักชาติทั้งหลายที่ผ่านมาของไทยมักจะมีศัตรูคือพม่า ก็เพราะรัฐไทยมีวาทกรรมหลักคือแนวคิดราชาชาตินิยมผสมกับลัทธิทหารนิยม แนวคิดราชาชาตินิยมก็คือลัทธิชาตินิยมที่มีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์กลาง เป็นผู้นำชาติไทยต่อสู้กับศัตรูจนสามารถดำรงมาจนถึงปัจจุบันได้ ดังนั้นการสร้างซ้ำแล้วซ้ำเล่าเกี่ยวกับสงครามกับพม่าก็เป็นตัวตอกย้ำวาท กรรมเช่นนี้ได้เรื่อยๆ เช่นเดียวกับภาพยนตร์ตำนานสุริโยทัยและตำนานพระนเรศวร
[ii]
วิธีการเช่นนี้มีในภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดหลายเรื่องเช่นให้พระเอกซึ่งเป็นตัวแทน
ของคนผิวขาวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคนต่างชาติหรือต่างเผ่าพันธุ์จนได้รับการ
ยกย่องจากคนเหล่านั้นประดุจดังคนในกลุ่มของตัวเองเพื่อสะท้อนอุดมการณ์เสรี
นิยมที่ยกย่องชนกลุ่มน้อย เช่น Dances with Wolf
หรือเพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกับตะวันออกอย่างเช่น The Last Samurai
[iii]
ตามความจริงถ้าไม่นับการแย่งชิงอำนาจ การทำรัฐประหารกันอย่างถี่ยิบแล้ว
แล้วทหารในยุคนั้นก็ไม่ได้แกร่งกล้าน้อยไปกว่ายุคอื่นเลย
แต่วีรกรรมของทหารไทยในยุคนั้นมักจะได้รับการถูกสร้างเป็นภาพยนตร์น้อยเต็ม
ที เช่นการทำสงครามแย่งชิงดินแดนจากฝรั่งเศส (1940)
ย่อมไม่มีทางถูกสร้างเป็นอันขาดเพราะกลายเป็นเชิดชูจอมพล
ป.หรืออาจกระทบความสัมพันธ์กับฝรั่งเศส เป็นที่น่าสนใจว่าภาพยนตร์เรื่อง
มหาอุตม์ (2546)
ให้ผู้ร้ายสามารถทำลายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิซึ่งถูกสร้างในสมัยจอมพล
ป.เพื่อยกย่องวีกรรมของทหารในสมรภูมินี้ได้ราบเป็นหน้ากลองโดยไม่ถูกทางการ
เซ็นเซอร์
อันสะท้อนว่าสังคมไทยซึ่งอ่อนไหวในเรื่องอนุสาวรีย์ไม่มีที่ว่างสำหรับจอมพล
ป.จริงๆ หรือการทำสงครามเกาหลีที่ทหารไทยในรัฐบาลจอมพล
ป.ไปร่วมรบกับสหประชาชาติ (1950-1953)
ภาพยนตร์ก็ดันไปเน้นความรักระหว่างทหารไทยกับสาวเกาหลีอย่างเช่นเรื่องอารี
รังแทน
(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47571
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น