หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

รัฐสวัสดิการกับการต่อสู้ทางชนชั้นในระบบทุนนิยม

รัฐสวัสดิการกับการต่อสู้ทางชนชั้นในระบบทุนนิยม

 

การลุกฮือของคนจนทั่วโลกในทศวรรษหน้า
http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n6_12112013_02

พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย (องค์กรสังคมนิยม)
13 พ.ย. 56



ระบบทุนนิยมซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกได้สร้างปัญหาความเหลื่อม ล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น จากการเอารัดเอาเปรียบกดขี่ขูดรีดแรงงาน  ผู้เขียนขอยกปัญหาในด้านเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อให้ผู้อ่านที่ เป็นนักเรียน นักศึกษา เตรียมเป็นกรรมกร/แรงงานในอนาคตมีจิตสำนึกของชนชั้นแรงงาน รวมถึงกรรมกรในทุกสาขาอาชีพมีการเมืองของชนชั้นตัวเอง ไม่หยิบยืมความคิดอุดมการณ์ทางการเมืองของชนชั้นนำมาใช้ในการเคลื่อนไหว

ความ เหลื่อมล้ำในระบบทุนนิยม แท้จริงมาจากปรัชญาของระบบทุนนิยมที่ต้องการสร้าง “ชนชั้น” ขึ้น  ชนชั้นที่มีสองชนชั้นหลักในสังคมคือ คนรวย(อภิสิทธิ์ชน) กับ คนจน (คนธรรมดา) แตกต่างกันในด้านสถานะความเป็นอยู่และอำนาจการต่อรอง ดังรูปสามเหลี่ยมปิระมิด ที่ยอดข้างบนเป็นคนส่วนน้อย ส่วนฐานล่างเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม และชนชั้นสองชนชั้นเกี่ยวข้องกัน คือ ความรวยมาจากการทำให้คนอื่นยากจน รวยเพราะขูดรีดส่วนเกินที่มาจากการทำงานของแรงงาน

ก่อนอื่นขอนิยามชน ชั้นนายทุนกับแรงงานเพื่อให้เห็นความแตกต่างของสองชนชั้น  นายทุนคือผู้ที่ถือครอง ควบคุมปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ  ส่วนแรงงานคือผู้ที่ไร้ปัจจัยการผลิต ทำงานขายแรงรับค่าจ้างเท่านั้น   นายทุนผู้ถือครองปัจจัยการผลิตมีอำนาจการต่อรองที่เหนือกว่าและเข้าไปมี อิทธิพลในสถาบัน/กลไกการเมืองการปกครอง   ส่วนรัฐในระบบทุนนิยมออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้นายทุนมีกรรมสิทธิ์ ถือครองปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการและมูลค่าทั้งหมดที่ได้มาจากการผลิตแต่เพียงฝ่ายเดียว



ที่ ผ่านมา นักวิชาการได้นำเสนอปัญหาความเหลื่อมล้ำไปมากแล้ว  และบางคนได้เสนอแนวทางแก้ไข เช่น การเสนอปฏิรูปรัฐไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ  แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงวิธีการนำข้อมูลทางวิชาการไปเคลื่อนไหวต่อสู้ทางการ เมืองในช่วงก่อนและหลังการทำรัฐประหาร 2549  พบว่า การนำไปใช้ ได้หยิบคำอธิบายบางส่วนไปเคลื่อนไหวเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนใดกลุ่มหนึ่ง แต่คนระดับล่างยังคงถูกกระทำ ให้กลุ่มทุนเหยียบขึ้นไปได้ดิบได้ดี

กล่าว คือ วาทกรรมติดปากที่ว่า ทุนสามานย์ หรือทุนโลกาภิวัตน์ หรือนายทุนชาตินิยมต่อต้านนายทุนข้ามชาติ มียุทธศาสตร์ทำลายระบบการเลือกตั้ง โดยเสนอให้ ส.ส. ส.ว.บางส่วนไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน  และมอบบทบาทแก่ผู้มีอำนาจรัฐ และนายทุนที่สมาทานความคิดคนดีมีศีลธรรม  ทว่าไม่ยินยอมให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบ


อีกวาทกรรมหนึ่งคือ เสรีนิยมประชาธิปไตย ชูการต่อสู้ระหว่างกลุ่มนายทุนยุคใหม่กับกลุ่มนายทุนยุคเก่าหรือนายทุน อำมาตย์  วาทกรรมนี้โจมตีจุดอ่อนทางวัฒนธรรมของกลุ่มทุนอนุรักษ์นิยม ทหารนิยม  แต่เลี่ยงที่จะไม่อธิบายธาตุแท้ของระบบทุนนิยมกลไกตลาดที่สร้างความเหลื่อม ล้ำในสังคมมาโดยตลอด    อีกทั้งปกปิดธาตุแท้ของอุดมการณ์ชนชั้นนายทุน ที่แชร์อุดมการณ์อนุรักษ์นิยมมากดขี่แรงงาน   การใช้วาทกรรมเสรีนิยมประชาธิปไตย (ที่ไม่วิจารณ์ทุนนิยม) มีจุดแข็งเรื่องการพูดถึงเสรีภาพทางการเมือง ต่อต้านทหาร  และมีเป้าหมายเพื่อหาแนวร่วมกับประชาชนระดับล่างที่มีจุดยืนแบบเดียวกัน นี้   ต่อรองกับกลุ่มทุนเก่า และข้าราชการอนุรักษ์ เผด็จการทหาร ด้วยการใช้ระบบการเลือกตั้งที่พรรคนายทุนสมัยใหม่ได้เปรียบ   แต่ยังมีคำถามคือ นายทุนสมัยใหม่ แนวเสรีนิยมประชาธิปไตย ยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ของประชาชนแค่ไหน   รัฐบาลนายทุนนำโดยพรรคเพื่อไทยจริงใจที่จะส่งเสริมประชาธิปไตย แก้ไขปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

ในส่วนของประชาชนอยู่ตรงไหนของ เวทีการต่อสู้ทางการเมืองปัจจุบัน ประชาชนมีการเมืองของตัวเองหรือไม่ จะต่อสู้เพื่ออนาคตของตัวเองหรือเป็นกองเชียร์ของกลุ่มทุน โดยไม่มีอำนาจต่อรอง หรือจะกดดัน ให้โอกาสทุนเก่า และทุนใหม่แก้ตัว/ปรับตัว  หรือจะตั้งพรรคประชาชน เสนอนโยบายสร้างประชาธิปไตยที่กินได้


ตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำทางสังคม : คนรวย รวยมาได้อย่างไร
รัฐ ประหารความรุนแรงทางการเมืองได้สร้างผลกระทบแก่คนจำนวนมาก แต่ไม่ว่าจะก่อนการเกิดรัฐประหาร 2549 และหลังทำรัฐประหาร กลุ่มทุนต่างๆ ต้องตอบโจทย์ความเหลื่อมล้ำ ความไม่ยุติธรรมทางสังคมที่ดำรงมาตลอด เพราะเป็นรากเหง้าของความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน จึงควรมาดูที่กลไกการทำงานของระบบทุนนิยมว่าเป็นตัวสร้างความไม่ยุติธรรม อย่างไร  รัฐไทยสนับสนุนแนวนโยบายทุนเสรีนิยมอย่างไร ที่ปล่อยให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ผูกขาด  เจ้าหน้าที่รัฐถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจ เอื้อประโยชน์ทางการเงิน ภาษี ผ่อนปรนกฎระเบียบ ผลิตซ้ำระบบกรรมสิทธิ์เอกชน

ที่ พูดมายืดยาวข้างต้น เพื่อให้คำนึงถึงปัญหาเชิงระบบ คือการแข่งขันของกลุ่มนายทุนต่างๆ ส่งผลกระทบต่อแรงงานคนธรรมดา  การเติบโตของทุนแลกมากับความไม่มั่นคงในชีวิตของประชาชน  ทัศนะเรื่องเสรีภาพตั้งอยู่บนฐานของความแตกต่างทางชนชั้น  ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นตัวผลักวิถีการต่อสู้ทางการเมือง และการต่อสู้ทางการเมืองก็มีเป้าหมายเพื่อสร้างหลักประกัน และผลประโยชน์ทางชนชั้น ดังนั้น การทำแนวร่วมกับกลุ่มทุนใดกลุ่มหนึ่งไม่ช่วยสร้างผลประโยชน์ในระยะยาว และความเข้มแข็งทางความคิดของชนชั้นล่าง  และดังนั้น ประชาชนจึงต้องรวมกลุ่มเป็นอิสระ และเป็นตัวนำทางความคิดทางการเมืองในปัจจุบัน

หากจะยกตัวเลขสถิติ ข้อมูลที่ถูกนำมาใช้บ่อย เพื่อสะท้อนปัญหาจริง และเป็นประโยชน์ในการนำมาถกเถียงสาเหตุรากเหง้าของปัญหา และการแก้ไข คงยกให้กับตัวเลขความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน รายได้ของประชาชน  ตัวเลขการถือครองทรัพย์สินที่คนบนสุด 20% แรกของจำนวนประชากรไทยมีทรัพย์สินมากกว่าคน 20% ที่อยู่ข้างล่างถึงเกือบ 70 เท่า  ตัวเลขนี้ล้วนเกี่ยวข้องกัน แต่นักวิชาการ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล องค์ปาฐกงานรำลึก 40 ปี 14 ต.ค. 16  ในวันที่ 13 ต.ค. ไม่พูดถึงความเกี่ยวข้องกันระหว่างของตัวเลข 20% บนกับ 20% ล่างให้ชัดเจนว่าความรวย รวยมาจากไหน  ซึ่งในความเป็นจริงคือ ความร่ำรวยมาจากการทำงานของแรงงาน  รวยเพราะเอาเปรียบคนจน จนเพราะคนรวยขูดรีด กล่าวคือ มีการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินในระบบทุนนิยม

การ ขูดรีดมูลค่าส่วนเกิน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักศึกษาจบใหม่ 3 คนไปสมัครงานในบริษัทเดียวกัน ซึ่งจะให้แบบฟอร์ม และกรอกเงินเดือนที่ต้องการลงไป แต่ละคนกรอกเงินเดือน 20,000  30,000 และ 40,000  หากมีความสามารถใกล้เคียงกัน ถามว่านายทุนจะเลือกใคร เขาก็จะเลือกคนที่ขอเงินเดือนน้อยที่สุด เพราะเขาคำนวณแล้วว่าจะได้ส่วนเกินเท่าไรจากคนสมัครที่มีความสามารถใกล้ เคียงกันนี้  แต่หากมีความสามารถไม่เท่ากัน ก็ต้องใช้หลักคำนวณว่า คนไหนจะสร้างส่วนเกินให้เขามากที่สุด คุ้มค่าที่สุด

เมื่อพิจารณาใน เชิงนโยบายที่ผ่านมา จะเห็นว่ารัฐสนับสนุนการขูดรีดของชนชั้นนายทุนด้วยการใช้แรงงานราคาถูก จ้างงานยืดหยุ่น สวัสดิการต่ำ ถูกเลิกจ้างง่ายขึ้น และทำให้แรงงานขาดความมั่นคงในการดำรงชีวิต  พูดง่ายๆคือคนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นชนชั้นแรงงานที่รัฐและทุนต้องการรักษา ไว้เพื่อขูดรีดมูลค่า เพราะการเติบโตของมูลค่าทางเศรษฐกิจมันเกิดจากการทำงานของแรงงาน ด้วยเป้าหมายอันเดียวกันนี้ ก็นำไปใช้ในระบบการศึกษา



ปัญหาการศึกษา ไทยภายใต้ระบบทุนนิยมมีหลายปัญหา แต่สำหรับผู้เขียนต้องการเน้นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก โดยให้เห็นว่าเกี่ยวข้องกับ “ชนชั้น” ข้างต้นอย่างไร

มีหลายคนได้ สรุปแล้วว่า การศึกษาไทยสอนให้คนหมอบคลาน ลดคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ทำลายเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์แก่เด็ก เชิดชู สั่งสอนอุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ วัฒนธรรมผู้ใหญ่-ผู้น้อย ให้เข้าไปแทรกในหลักสูตรวิชาสังคม ประวัติศาสตร์ และกฎระเบียบในชีวิตประจำวัน เช่น การควบคุมเรื่องทรงผม เครื่องแบบ เข้าแถวเคารพธงชาติทุกวัน ทำสมาธิ เข้าวัด เพื่อให้เด็กยอมรับการใช้อำนาจของครู ผู้บริหารจนเข้าสำนึกและกลายเป็นเรื่องธรรมชาติ  อีกทั้งเวลาเรียนสอดคล้องกับเวลาทำงานของแรงงานในสถานที่ทำงานต่างๆ ด้วย  ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงเลย

นอกจากนี้ คุณภาพการศึกษาตกต่ำ ไม่รองรับความต้องการที่หลากหลายของเด็ก รวมถึงไม่รองรับเด็กที่มาจากครอบครัวยากจนที่เริ่มต้นชีวิตด้อยกว่าเด็กที่ มาจากครอบครัวร่ำรวย การบังคับเด็กให้เรียนให้เท่าทันกันหมด โดยเอาวิชาบังคับเป็นตัวชี้วัด เช่น คณิต วิทย์ ภาษาอังกฤษ ลดความสำคัญของวิชาด้านศิลปะ ไม่มีความหลากหลาย  กวดวิชาเพิ่มเติมเพื่อแข่งขัน แย่งกันเข้าเรียนโรงเรียนดัง

เป้าหมาย ของการศึกษาที่แท้จริง คือ การผลิตคนไปใช้แรงงานในสาขาต่างๆ มีสักกี่คนที่ไต่เต้าไปสู่ชนชั้นอภิสิทธิ์ชน   มีสักกี่คนได้ทุนเรียนต่อจากรัฐบาล เงินอุดหนุนจากบริษัท พวกเขาต้องผ่านระบบแข่งขันคัดเลือก เพื่อตอบสนองต่อทุนมากกว่ารับใช้ประชาชน  หลักสูตรการศึกษาก็ออกแบบโดยนักการเมือง ข้าราชการเพียงไม่กี่คน จะตอบสนองความต้องการของคนจำนวนมากได้อย่างไร เมื่อระบบเป็นแบบนี้ อนาคตของพวกเขาคือ เป็นคนทำงานสังกัดชนชั้นกรรมาชีพ  


รัฐสวัสดิการ : การสร้างหลักประกันและเสรีภาพของประชาชน
ชนชั้น กรรมาชีพ นักศึกษาเตรียมออกไปเป็นกรรมกร แต่จะทำอย่างไรให้มีศักดิ์ศรีและความเป็นอยู่ที่ดี    สิ่งที่นักเรียน นักศึกษาขบถสังคมอยู่ในขณะนี้ ถามว่าขบถเพื่ออะไร เพื่อสร้างโลกใบใหม่หรือไม่ แต่อันดับแรกต้องเข้าใจระบบทุนนิยมที่สร้างชนชั้นหลักสองชนชั้น และคนส่วนใหญ่คือชนชั้นกรรมาชีพ หากตระหนักตรงนี้ก็จะพบว่า เราเป็นคนชนชั้นกรรมาชีพ และจะทำประโยชน์เพื่อคนชนชั้นนี้  หากคิดว่าในอนาคตจะไต่เต้า เลื่อนสถานะบนความยากลำบากของคนอื่น ระบบก็จะไม่เปลี่ยนแปลงให้ยุติธรรมขึ้น

คำว่ารัฐสวัสดิการคือการมี รัฐที่มีเป้าหมายเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม  สวัสดิการที่ดีสำหรับทุกคนให้ครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตายและเพื่อเพิ่มอำนาจ อธิปไตยของประชาชน ฉะนั้นปัจจัยหลักของการสร้างรัฐสวัสดิการคือ ต้องพูดเรื่องประชาธิปไตย การกระจายรายได้และการเก็บภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า

ประชาธิปไตย ในความหมายรัฐใหม่ที่เป็นรัฐสวัสดิการคือ ประชาชนร่วมออกเสียง ร่วมบริหาร ตรวจสอบในทุกระดับ เป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและเลือกตั้งตัวแทนในองค์กรสาธารณะ/หน่วยงาน รัฐเพื่อประกันว่ารัฐจะทำประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่จริง  เช่น เลือกตั้งอธิการบดี คณบดี ผู้บริหารในมหาวิทยาลัย ครูใหญ่ ผู้บริหารในโรงเรียน โรงพยาบาลของรัฐ รถขนส่งมวลชน รัฐวิสาหกิจต่างๆ  และส่งเสริมการรวมกลุ่มเจรจาต่อรองของเยาวชน ประชาชน

เงินเดือนของ ผู้บริหารต้องไม่มากและใกล้เคียงกับกรรมกร เช่น สมมุติเงินเดือนผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ 100,000 บาท เงินเดือนของกรรมกรจะต้องไม่ต่ำกว่า 50,000 ยิ่งถ้าเป็นคนที่ทำงานเสี่ยงภัยแล้ว ต้องให้เกือบเท่าผู้บริหาร  ลองเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว เงินเดือนของกรรมกรสูงขึ้น ทำงานคิดเป็นรายชั่วโมง มีเวลาพักผ่อน มีวันหยุดยาว มีเงินบำนาญเมื่อเกษียณ สังคมปลอดภัย อาชญากรรมและการคอรัปชั่นของข้าราชการน้อยลง

สำหรับ เรื่องการขูดรีดมูลค่าจากการทำงานของแรงงานที่ไปสร้างความร่ำรวยให้แก่คน รวยๆ  รัฐสวัสดิการจะช่วยลดทอนการขูดรีดได้ด้วยการเก็บภาษีรายได้ ภาษีทรัพย์สินในอัตราก้าวหน้า ภาษีจะดึงเอาส่วนเกินไปแบ่งปันให้คนในสังคม การลงทุนทำธุรกิจจะต้องไม่ใช้แรงงานราคาถูก คนจะมีความมั่นคงในการดำรงชีวิต มีโอกาสศึกษาหาความรู้ คนมีคุณภาพ  ส่วนนายทุนที่เอาแต่ได้ก็จะเป็นที่น่ารังเกียจ ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังมีการลงทุน  หากมองในมุมของชนชั้นนายทุน ถามว่า มีใครไม่อยากลงทุนในประเทศที่แทบไม่มีการคอรัปชั่น อาชญากรรม  และคนมีกำลังซื้อเล่า

การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจะเป็นไปใน ลักษณะขึ้นลงตามกระแสการเมืองของชนชั้นนำ และจะอ่อนแอในอนาคต หากไม่จัดตั้งพรรคการเมืองชนชั้นกรรมาชีพ แข่งขันกับวาทกรรมทางการเมืองของชนชั้นนำอย่างจริงจัง.


(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/11/49777

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น