องค์กรเลี้ยวซ้ายขอเลือกพรรคพลังประชาธิปไตย
ในคู่มือรายชื่อรับเลือกตั้ง ส.ส.
ระบบบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มีพรรคการเมืองลงสมัครทั้งหมด 53 พรรค มีพรรคที่ส่งบัญชีรายชื่อแบบเต็มๆ
จำนวน 3 พรรค ได้เเก่ ชาติพัฒนา ภูมิใจไทย และเพื่อไทย
ในบรรดานโยบายที่พรรคเเต่ละพรรคได้เสนอนโยบายต่อกกต.นั้น
มีพรรคพลังประชาธิปไตย
(หมายเลข 8 )
ซึ่งเพื่อนของเราที่มีประวัติในการต่อสู้เพื่อการรวมตัวกันของคนงานลงสมัคร
อยู่ด้วยนั้น มีนโยบาย ดังนี้
1. สร้างรัฐสวัสดิการเป็นระบบครบวงจรจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เกิด เเก่ เจ็บ ตาย
2. ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นทำสงครามปราบโกงเเบบเข้มข้น
3. จัดสรรทรัพยากรของชาติให้เป็นธรรม ดิน น้ำ ลม ไฟ
4. กระจายอำนาจแบบแท้จริงเพิ่มสัดส่วนงบประมาณท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้ง
5. ปฏิรูปการเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นิรโทษกรรมประชาชน คดีการเมืองในรัฐธรรมนูญ
กล่าวได้ว่ามีพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายรัฐสวัสดิการมีอยู่ 3 พรรค ซึ่งอีกสองพรรคหนึ่งได้แก่ พรรค ถิ่นกาขาวที่เสนอนโยบาย แก้ปัญหาความยากจน เปลี่ยนประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการ และพรรคเพื่อแผ่นดินที่เสนอนโยบายมิติใหม่ พรรคสีขาวเพื่อการเมืองสีขาว สู่รัฐสวัสดิการ เทิดราชบัลลังค์ แต่ทั้ง 3 พรรคก็ไม่มีรูปธรรมว่า รัฐสวัสดิการจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เเม้จะมีเป้าหมายสร้างรัฐสวัสดิการตรงกับ แนวทางขององค์กรเลี้ยวซ้ายที่เสนอต่อสังคมมาโดยตลอด พรรคถิ่นกาขาวและพรรคเพื่อแผ่นดินเ แต่ก็มีนโยบายอื่นที่เป็นอนุรักษ์นิยมสูงอยู่มาก เช่น เสนอให้ตั้งกระทรวงศาสนา และเสนอการเทิดราชบังลังค์
พรรคพลังประชาธิปไตยเป็นพรรคเดียวที่เสนอเรื่องการนิรโทษกรรมประชาชนในคดี การเมืองโดยเสนอให้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกวันนี้เรามีนักโทษในคดีการเมืองติดคุกอยู่เป็นจำนวนมากและอาจจะติดคุกยาว เป็นเวลาถึงยี่สิบปีหากไม่ได้มีการรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้แล้ว พรรคพลังประชาธิปไตยเสนอเรื่องการกระจายอำนาจโดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่า ราชการจังหวัดซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองจะต้องมีสิทธิเลือกตัวแทน ของตนเองในระดับท้องถิ่น ทั้งเรื่องปล่อยนักโทษการเมืองและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นนโยบายส่วน หนึ่งขององค์กรเลี้ยวซ้ายที่พยายามรณรงค์มาตลอด เมื่อมีพรรคการเมืองที่ลงแข่งขันสมัครรับเลือกตั้งและมีแนวนโยบายที่สอด คล้องกับแนวทางขององค์กรเลี้ยวซ้ายก็นับว่าเป็นที่น่ายินดีที่สิ่งที่เรา รณรงค์มาตลอดนั้นได้ปรากฎว่ามีพรรคการ เมืองที่เสนอนโยบายนี้ในการเลือกตั้งระดับชาติ แม้ว่าอาจจะไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่ช่วยในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในอนาคตได้
อีกประการหนึ่ง องค์กรเลี้ยวซ้ายไม่เสนอการโหวตโน ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน เพราะมองว่า การโหวตโนจะนำไปสู่การเป็นแนวร่วมมุมกลับของฝ่ายต่อต้านการเลือกตั้ง
หากพรรคพลังประชาธิปไตยได้รับการเลือกตั้ง องค์กรเลี้ยวซ้ายจะติดตามการทำงานของพรรคอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นโยบายเป็นจริง
ประชาธิปไตยจงเจริญ
(ที่มา)
1. สร้างรัฐสวัสดิการเป็นระบบครบวงจรจากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน เกิด เเก่ เจ็บ ตาย
2. ต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นทำสงครามปราบโกงเเบบเข้มข้น
3. จัดสรรทรัพยากรของชาติให้เป็นธรรม ดิน น้ำ ลม ไฟ
4. กระจายอำนาจแบบแท้จริงเพิ่มสัดส่วนงบประมาณท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องมาจากการเลือกตั้ง
5. ปฏิรูปการเมืองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน นิรโทษกรรมประชาชน คดีการเมืองในรัฐธรรมนูญ
กล่าวได้ว่ามีพรรคการเมืองที่เสนอนโยบายรัฐสวัสดิการมีอยู่ 3 พรรค ซึ่งอีกสองพรรคหนึ่งได้แก่ พรรค ถิ่นกาขาวที่เสนอนโยบาย แก้ปัญหาความยากจน เปลี่ยนประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการ และพรรคเพื่อแผ่นดินที่เสนอนโยบายมิติใหม่ พรรคสีขาวเพื่อการเมืองสีขาว สู่รัฐสวัสดิการ เทิดราชบัลลังค์ แต่ทั้ง 3 พรรคก็ไม่มีรูปธรรมว่า รัฐสวัสดิการจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เเม้จะมีเป้าหมายสร้างรัฐสวัสดิการตรงกับ แนวทางขององค์กรเลี้ยวซ้ายที่เสนอต่อสังคมมาโดยตลอด พรรคถิ่นกาขาวและพรรคเพื่อแผ่นดินเ แต่ก็มีนโยบายอื่นที่เป็นอนุรักษ์นิยมสูงอยู่มาก เช่น เสนอให้ตั้งกระทรวงศาสนา และเสนอการเทิดราชบังลังค์
พรรคพลังประชาธิปไตยเป็นพรรคเดียวที่เสนอเรื่องการนิรโทษกรรมประชาชนในคดี การเมืองโดยเสนอให้มีการระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ทุกวันนี้เรามีนักโทษในคดีการเมืองติดคุกอยู่เป็นจำนวนมากและอาจจะติดคุกยาว เป็นเวลาถึงยี่สิบปีหากไม่ได้มีการรณรงค์กันอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้แล้ว พรรคพลังประชาธิปไตยเสนอเรื่องการกระจายอำนาจโดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่า ราชการจังหวัดซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่พลเมืองจะต้องมีสิทธิเลือกตัวแทน ของตนเองในระดับท้องถิ่น ทั้งเรื่องปล่อยนักโทษการเมืองและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นนโยบายส่วน หนึ่งขององค์กรเลี้ยวซ้ายที่พยายามรณรงค์มาตลอด เมื่อมีพรรคการเมืองที่ลงแข่งขันสมัครรับเลือกตั้งและมีแนวนโยบายที่สอด คล้องกับแนวทางขององค์กรเลี้ยวซ้ายก็นับว่าเป็นที่น่ายินดีที่สิ่งที่เรา รณรงค์มาตลอดนั้นได้ปรากฎว่ามีพรรคการ เมืองที่เสนอนโยบายนี้ในการเลือกตั้งระดับชาติ แม้ว่าอาจจะไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่ช่วยในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในอนาคตได้
อีกประการหนึ่ง องค์กรเลี้ยวซ้ายไม่เสนอการโหวตโน ในช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนน เพราะมองว่า การโหวตโนจะนำไปสู่การเป็นแนวร่วมมุมกลับของฝ่ายต่อต้านการเลือกตั้ง
หากพรรคพลังประชาธิปไตยได้รับการเลือกตั้ง องค์กรเลี้ยวซ้ายจะติดตามการทำงานของพรรคอย่างใกล้ชิด เพื่อให้นโยบายเป็นจริง
ประชาธิปไตยจงเจริญ
(ที่มา)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น