หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตอบประเด็นกฎหมายกับ อ.วรเจนต์ ภาคีรัตน์

ตอบประเด็นกฎหมายกับ อ.วรเจนต์ ภาคีรัตน์






"รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ถ้ากรณีใดทำให้สมาชิกสภาผู้แทนฯ ไม่ถึง 500 คน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของสมาชิกทั้งหมด ถือว่าเปิดสภาได้ (ไม่ต่ำกว่า 475 คน) กฎหมายเขียนต่อว่า ถ้าไม่ถึงต้องดำเนินการให้มี ส.ส.ให้ครบภายใน 180 วัน พูดง่ายๆ ว่า มีเวลา 6 เดือนในการจัดการเลือกตั้งให้เปิดสภาได้

อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้เขียนต่อว่า 6 เดือนแล้วยังไม่ได้จะทำอย่างไร เพราะคงไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ ผมเองก็ยังไม่อยากคิดเรื่องนั้น เพราะมันต้องทำทีละสเต็ป แต่หากไม่ได้จริงๆ คงต้องใช้วิธีการตีความรัฐธรรมนูญตามประเพณีที่ผ่านมา ในที่สุดต้องยอมให้เปิดได้ เช่น อาจมีจำนวนเกินกว่าครึ่งหนึ่งก็สามารถเปิดสภาได้ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสภาพการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีหากปักธง 2 ก.พ.ได้ ถ้าได้สมาชิกได้หลายร้อยคนแล้ว ทีเหลือก็ค่อยๆ ตามเก็บจนถึงเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด

มาตรา 93 วรรค 6 ของรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า

ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปคครั้งงใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงห้าร้อยคน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบตามจำนวนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันและให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่

จริงๆ 28 เขตที่ผู้สมัครมาสมัครไม่ได้ กกต.สามารถออกประกาศขยายวันสมัครรับเลือกตั้ง และเปลี่ยนแปลงสถานที่รับเลือกตั้งได้ ทำที่เขตอื่นก็ได้ เช่น ที่กทม. เพราะกกต.สามารถออกประกาศอันจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายเลือกตั้ง แต่กกต.ไม่ทำ อ้างว่าไม่มีกฎหมายรองรับทั้งที่จริงๆ แล้วมีอำนาจ แต่กกต.กลับไล่ผู้ลงสมัครไปฟ้องศาลฎีกา ซึ่งไม่ใช่กรณีนี้ เป็นกรณีที่สมัครได้แล้วไม่ได้เบอร์

อยากแลกเชอร์หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้นให้กกต.ด้วย การที่ กกต.บอกว่าทำไม่ได้เพราะ “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” คือ ต้องเข้าใจว่าหลักการนี้มีขึ้นเพื่อประกันสิทธิราษฎร หากจะกระทำการใดที่อาจกระทบสิทธิของราษฎรอันนี้ต้องมีกฎหมายให้อำนาจโดยฐานต้องมาจากรัฐสภาเนื่องจากมีความชอบธรรมสูงสุดที่เชื่อมโยงมาถึงประชาชนเจ้าของอำนาจได้ ที่กำหนดแบบนี้เพื่อกันไม่ให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ จะใช้อำนาจกระทบสิทธิบุคคลต้องมีกฎหมายให้อำนาจ แต่เรื่องที่เกิดขึ้น การประกาศของ กกต. ไม่ได้ก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพใครเลย ในทางกลับกันทำให้สิทธิของคนจะไปเลือกตั้งและคนลงสมัครรับเลือกตั้ง ได้ใช้สิทธิโดยสมบูรณ์ ผลักดันให้สิทธินั้นเกิดโดยบริบูรณ์ มีกฎหมายรองรับให้ทำได้ด้วย ดังนั้น ยืนยันว่า กกต.ทำได้"


(ที่มา)
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น