คำถามจากคนตันหยงเปาว์ ‘กราดยิง’การปฏิบัติของข้าราชการที่รับใช้ประชาชน?!
เสื้อ
ผ้าของ “นายมีดี อาแว” ที่ใส่ในวันเกิดเหตุ
สังเกตเห็นรอยเท้าอยู่บนหลังเสื้อ และรอยเลือดแห้งข้างล่างของเสื้อ
เป็นหลักฐานหนึ่งที่ทำให้แม่และภรรยาของมีดีเชื่อว่า
เขาถูกซ้อมทรมานก่อนที่จะพาไปขัง
จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2557 เวลาประมาณ 23.00 น.
มีกลุ่มคนที่ชาวบ้านระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจสวมชุดดำ
ใส่โม่งปิดหน้า เปิดตาสองดวง (บางส่วน) และไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจน
แต่มาด้วยรถกระบะประมาณ 8-9 คัน
ทำการกราดยิงหมู่บ้านด้วยอาวุธสงครามโดยไม่ทราบสาเหตุ
พร้อมทั้งควบคุมตัวนายมีดี อาแว อายุประมาณ 28 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ไป
โดยภรรยาของเขาเชื่อว่า
สามีถูกซ้อมทรมานในที่เกิดเหตุก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำตัวไปสอบสวนและกักขัง
“หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่บอกว่า มีดีมีหมายจับติดตัว 2-3 คดี แต่พอพวกเราขอดูหมายของมีดี เขากลับไม่ให้เราดู” ภรรยามีดี กล่าว
การมาของตัวแทนชาวบ้านในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการขอคำปรึกษาและขอความ ช่วยเหลือจากคณะกรรมการอิสลาม ทนายความ รวมทั้งตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อหาช่องทางการเรียกร้องความเป็นธรรมโดยสันติวิธี จากการกระทำอันเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ ผู้มาร่วมต้อนรับและรับฟังปัญหาของชาวบ้านตันหยงเปาว์ ประกอบด้วย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความมุสลิม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา, เครือข่ายบัณฑิตอาสาปาตานี, วิทยาลัยประชาชน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี และสำนักสื่อ Wartani
“การที่เรามาในครั้งนี้ เพราะเราไม่เชื่อในแนวทางของรัฐว่าเขาจะให้ความเป็นธรรมแก่เราได้ เราจึงมาขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการอิสลาม ทนายความ และนักเคลื่อนไหวที่เป็นคนในพื้นที่เสียเอง เราไม่ได้ต้องการให้ทุกคนไปช่วยจับคนร้าย แต่เรามาขอคำปรึกษาหาช่องทางว่า มีช่องทางไหนบ้างที่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่พวกเราได้” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อต่อสู้ตาม กระบวนการยุติธรรมให้ถึงที่สุด โดยมุ่งมั่นว่า คนผิดต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
“ทำไมการเข้ามาปิดล้อมตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ต้องมีกราดยิงด้วย ถ้ากระสุนถูกชาวบ้านตายใครจะรับผิดชอบ นี่หรือการปฏิบัติของข้าราชการที่รับใช้ประชาชน” ตัวแทนชาวบ้านตั้งคำถาม
ชาวบ้านอีกคนหนึ่งเสริมขึ้นมาว่า “ใครที่ได้รับความเสียหายจากการกราดยิงของเจ้าหน้าที่ให้นำใบเสร็จมาแสดง แล้วจะจ่ายค่าเสียหายให้ เจ้าหน้าที่บอกพวกเราหลังจากที่เราไปแจ้งความ และเราเชื่อว่า หลังจากนี้ก็คงมีการเยียวยา แจกเงินให้ แต่พวกเราจะบอกว่า เราไม่ได้ต้องการเงิน เราไม่ต้องการวัตถุใดๆ ทั้งสิ้น เราแค่ต้องการให้ความจริงปรากฏ ผู้ใดทำผิดก็ต้องได้รับโทษตามที่เขาทำไป”
(อ่านต่อ)
“หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่บอกว่า มีดีมีหมายจับติดตัว 2-3 คดี แต่พอพวกเราขอดูหมายของมีดี เขากลับไม่ให้เราดู” ภรรยามีดี กล่าว
การมาของตัวแทนชาวบ้านในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการขอคำปรึกษาและขอความ ช่วยเหลือจากคณะกรรมการอิสลาม ทนายความ รวมทั้งตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อหาช่องทางการเรียกร้องความเป็นธรรมโดยสันติวิธี จากการกระทำอันเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่
ทั้งนี้ ผู้มาร่วมต้อนรับและรับฟังปัญหาของชาวบ้านตันหยงเปาว์ ประกอบด้วย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความมุสลิม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา, เครือข่ายบัณฑิตอาสาปาตานี, วิทยาลัยประชาชน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี และสำนักสื่อ Wartani
“การที่เรามาในครั้งนี้ เพราะเราไม่เชื่อในแนวทางของรัฐว่าเขาจะให้ความเป็นธรรมแก่เราได้ เราจึงมาขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการอิสลาม ทนายความ และนักเคลื่อนไหวที่เป็นคนในพื้นที่เสียเอง เราไม่ได้ต้องการให้ทุกคนไปช่วยจับคนร้าย แต่เรามาขอคำปรึกษาหาช่องทางว่า มีช่องทางไหนบ้างที่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่พวกเราได้” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อต่อสู้ตาม กระบวนการยุติธรรมให้ถึงที่สุด โดยมุ่งมั่นว่า คนผิดต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย
“ทำไมการเข้ามาปิดล้อมตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ต้องมีกราดยิงด้วย ถ้ากระสุนถูกชาวบ้านตายใครจะรับผิดชอบ นี่หรือการปฏิบัติของข้าราชการที่รับใช้ประชาชน” ตัวแทนชาวบ้านตั้งคำถาม
ชาวบ้านอีกคนหนึ่งเสริมขึ้นมาว่า “ใครที่ได้รับความเสียหายจากการกราดยิงของเจ้าหน้าที่ให้นำใบเสร็จมาแสดง แล้วจะจ่ายค่าเสียหายให้ เจ้าหน้าที่บอกพวกเราหลังจากที่เราไปแจ้งความ และเราเชื่อว่า หลังจากนี้ก็คงมีการเยียวยา แจกเงินให้ แต่พวกเราจะบอกว่า เราไม่ได้ต้องการเงิน เราไม่ต้องการวัตถุใดๆ ทั้งสิ้น เราแค่ต้องการให้ความจริงปรากฏ ผู้ใดทำผิดก็ต้องได้รับโทษตามที่เขาทำไป”
(อ่านต่อ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น