หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รู้จักบัณฑิต อานียา จำเลยคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์

รู้จักบัณฑิต อานียา จำเลยคดีหมิ่นประมาทกษัตริย์




 

อย่ากักขังกันเลยด้วยกฎหมายอัปลักษณ์   มันมีแต่จะทำลายสิ่งที่ปกป้องโดยไม่รู้ตัว

อย่าปิดปากห้ามคนแสดงความเห็นเลยมันไม่ยั่งยืน ค้ำฟ้าค้่ำแผ่นดินไปได้อีกนานหรอก


คุณค่าชีวิตมนุษย์สำคัญที่สุด การแสดงความเห็นเป็นเรื่องธรรมชาติ ในสังคมประชาธิปไตย ไม่ควรมีใครติดคุก ไม่ควรมีใคร เป็นอากง ไม่ควรที่พวกเราจะต้องกลายเป็น "บัณฑิต อานียา นักโทษทางมโนธรรมสำนึก" ต้องปิดปากห้ามพูด

"หวังว่าคนดีทั้งหลายจะให้คุณค่ากับชีวิตมนุษย์"

 "หวังว่าหลักการประชาธิปไตยจะอยู่เหนือประเพณี"

"หวังว่าความเป็นธรรมยังคงมีอยู่ในแผ่นดินนี้"


"ลุงบัณฑิต ศาลไทยใช้วิธีการทำลายความน่าเชื่อถือของนักพูดนักคิดนักเขียนที่พูดเขียนเกี่ยวกับสถาบันหลักของสังคมเช่นสถาบันศาล ด้วยการบอกกับสังคมว่าเขาเป็นโรคจิต ที่มีความผิดปกติทางจิต แยกแยะถูกผิดไม่ออก แต่ยังพอรู้ตัวอยู่บ้างบางเวลา ต้องทำการรักษาต่อเนื่อง ตามก.ม.อาญามาตรา 65 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คือผิด แต่ลดโทษ รอลงอาญา รายงานตัวเป็นเวลา 2 ปี ขัง 98 วัน ซึ่งจำเลยได้รับผิดไปแล้ว....และทนายความยังให้การต่อศาลว่าเขาเป็นโรคจิตตามที่คณะแพทย์วินิจฉัย (จากจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาแห่งประเทศไทยเรื่องให้มีการพิจาณาคดี 112 ใหม่,31 ม.ค. 57) การปฏิเสธของลุงบัณฑิตไม่มีค่าอะไรเลย ทั้งไม่มีโอกาสที่จะชี้แจงข้อความที่ถูกพล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ แจ้งความจับ และยังมีเลขาธิการองคมนตรีนายหนึ่งเป็นพยานให้ตำรวจนายนี้ด้วย"


เฮือกสุดท้าย ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา บัณฑิต อาณียา ยังยืนขึ้นขอแถลงต่อศาล แม้ว่าผู้พิพากษาที่ศาลอาญากรุงเทพใต้จะมีหน้าที่เพียงแกะซองที่ส่งมาจากศาลฎีกาแล้วอ่าน โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายอะไรมาสั่งให้พิจารณาใหม่ได้ แต่บัณฑิตก็ยังยืนยันที่จะสู้ตามความคิดของเขา

ตลอดการพิจารณาคดีนี้ ตัวบัณฑิตเองในฐานะจำเลยยังไม่เคยขึ้นให้การเลย ขณะที่มีจิตแพทย์มาให้การว่าเขาเป็นโรคจิต

เมื่อในชั้นต้นต่อสู้มาแบบนั้นแล้ว แม้ผ่านมาเกือบ 10 ปีเขาอยากจะเปลี่ยนแนวทางมาต่อสู้ว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นไม่ผิดกฎหมาย ก็ไม่ทันที่จะหันหลังกลับได้ ศาลฎีกาพิพากษาว่าสิ่งที่บัณฑิตพูด และเอกสารที่บัณฑิตแจก เป็นความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้จำคุก 4 ปี แต่ขณะทำผิดจำเลยเป็นโรคจิต จึงเห็นควรให้รอลงอาญา

ดูรายละเอียดคดีของบัณฑิต ย้อนหลังได้ที่  

http://freedom.ilaw.or.th/case/69#detail  

บัณฑิต อานียา(โดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล)
http://www.prachatai.com/journal/2014/02/51805  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น