หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สาเหตุที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้นั้น คือการบิดเบือน หลักกฏหมายรัฐธรรมนูญ

สาเหตุที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะได้นั้น คือการบิดเบือน หลักกฏหมายรัฐธรรมนูญ



 
 
ผมอนุญาตตอบปัญหาเรื่องการเลือกตั้งวันที่ ๒ ก.พ. ที่ผ่านมาว่าเป็นโมฆะหรือไม่แบบรวดเร็วเพราะได้สัญญาเอาไว้กับทุกท่านเมื่อวานนี้ อย่างไรก็ดี รายละเอียดของคำอธิบายตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญแบบสมบูรณ์นั้นจะอยู่ในบทความที่ผมกำลังเขียนอยู่ครับผม

๑. การเลือกตั้งวันที่ ๒ ก.พ. เป็นโมฆะหรือไม่?
ตอบ ไม่เป็นโมฆะ

๒. มีการกล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่มีการจัดภายในวันเดียวอันเป็นการขัดแย้งกับ ม.๑๐๘ ของรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่?

ตอบ ไม่ขัดแย้งกับ ม.๑๐๘ แต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากหลังการยุบสภามีการตราพระราชกฤษฎีกา "กำหนดวันเลือกตั้ง" เป็นวันที่ ๒ ก.พ. อันถือเป็นการกำหนดให้มีการเลือกตั้งเพียงวันเดียวตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ หาได้มีการกำหนดไว้หลายวันในพระราชกฤษฎีกาไม่ จึงสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแล้ว ส่วนกรณีของการดำเนินการจัดการเลือกตั้งที่ไม่สำเร็จเพราะเหตุอื่นๆ นั้นเป็นคนละเรื่อง


๓. มีการกล่าวว่าการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่ไม่สามารถเปิดสภาฯ ได้ เพราะ ส.ส. มีไม่ครบ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้การเลือกตั้งมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ม.๙๓ ใช่หรือไม่?

ตอบ ไม่ขัดแย้งกับ ม.๙๓ การกล่าวว่าหากเลือกตั้งไม่ได้ ส.ส. ครบ ๙๕ เปอร์เซ็นต์แล้วสรุปไปเลยว่าขัดรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโมฆะเป็นการสรุปที่ไม่ถูกต้องตามหลักการ เป็นการพูดแบบตัดตอนไม่ครบถ้วน กล่าวคือ จะเห็นว่ารัฐธรรมนูญ ม.๙๓ เองบทบัญญัติไว้ชัดเจนถึงกรณีที่เลือกตั้งแล้วได้ ส.ส. ไม่ครบ ๙๕ เปอร์เซ็นต์ อันสะท้อนว่าเป็นเรื่องปกติที่ระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญเข้าใจได้ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น รัฐธรรมนูญจึงได้หาทางออกให้คือ ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส. เติมเข้ามาจนครบถ้วนตามจำนวนภายในเวลา ๑๘๐ วัน

๔. มีการกำหนดวันเลือกซ่อมวันเลือกตั้งล่วงหน้า (๒๖ ม.ค.) ในวันที่ ๒๓ ก.พ. ซึ่งเป็นเกิดหลังจากการจัดการเลือกตั้งทั่วไป (๒ ก.พ.) ตรงนี้ถือว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีการประกาศคะแนนวันที่ ๒ ก.พ. ไปแล้ว ทำให้เป็นการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรมใช่หรือไม่?

ตอบ ไม่ถือว่าขัดกับรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายจนกล่าวได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เพราะกรณีทีี่เกิดขึ้นนี้ถือเป็น "ข้อยกเว้นทางกฎหมาย" เพราะเกิดเหตุการณ์ของการขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ ๒๖ ม.ค. กฎหมายเลือกตั้งฯ เองก็บัญญัติอนุญาตให้มีการกำหนดวันลงคะแนนใหม่ได้ (ม.๗๘) จริงอยู่ว่าโดยหลักการพึงต้องมีกำหนดวันเลือกตั้งซ่อมก่อนวันเลือกตั้งจริง (๒ ก.พ.) เพื่อที่จะได้นำเอาคะแนนมานับรวมกับวันเลือกตั้ง แต่กฎหมายเลือกตั้งฯ ได้มีการกำหนดให้อำนาจไว้แล้วว่า กกต. อาจกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้หากเห็นสมควร (ม.๑๐๒) หลักการนี้ในทางกฎหมายมหาชนเราเรียกว่า "หลักความจำเป็น" (Necessity) นั่นเอง

ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น