หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ถอดบทเรียนการต่อสู้ จากการปฏิวัติฝรั่งเศส และนโยบายที่ผิดพลาดของเพื่อไทย [2]

ถอดบทเรียนการต่อสู้ จากการปฏิวัติฝรั่งเศส และนโยบายที่ผิดพลาดของเพื่อไทย [2]



 
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกับข้อเสนอปฏิวัติการเมืองไทย ในงาน 224 ปี ทลายคุกบาสตีล(1)

โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ทุกการปฏิวัติมันมีความซับซ้อน มันไม่จบภายในครั้งเดียว
การ ปฏิวัติฝรั่งเศส เกิด 2312 สมัย ร.1 คศ.1789 ก่อนที่จะเกิดมันเกิดการปฏิวัติสำคัญอยู่ 3 อันคือ ปี 1572 มีการปฏิวัติชาวดัซ์ ศตวรรษต่อมาเกิดการปฏิวัติของอังกฤษ ปี 1640 และ ศตวรรษที่ 18 มีการปฏิวัติอเมริกัน และการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติ 4 อันนี้ ในโลกวิชาการเรียกคราวๆว่าการปฏิวัติ “กระฏุมพี” (bourgeoisie) หรือ ชนชั้นกลาง เป็นการปฏิวัติชนชั้นกลางที่เป็นลูกโซ่ติดกันมา การการปฏิวัติฝรั่งเศสมันส่งผลสะเทือนทั่วยุโรป และอเมริกากลาง ในไฮติ มีการโค่นอำนาจของนายทาสโดยทาสแล้วประกาศตั้งสาธารณรัฐ และหลังจากนั้นตลอด ศตวรรษที่ 19 มีกระแสปฏิวัติทั่วยุโรป จนปลายศตวรรษที่ 19 มีการปฏิวัติใหญ่ๆ 4 อัน คือในอิตาลี เยอรมันนี ปฏิวัติเลิกทาสในอเมริกา และการปฏิวัติเมจิที่ญี่ปุ่น

ปัญหาคือ เมื่อกล่าวถึงการการปฏิวัติรวมๆ คร่าวๆ เราก็บอกว่าเป็นปฏิวัติที่นำมาซึ่งประชาธิปไตยสมัยใหม่ นำมาซึ่งการปกครองของชนชั้นกลาง และการสถาปนาระบอบทุนนิยม ในระยะ 40-50 ปีหลัง หากศึกษาการปฏิวัติพวกนี้อย่างละเอียด นักวิชาการมองว่ามันมีความซับซ้อนว่านั้นเยอะ พวกทำการปฏิวัติในฝรั่งเศส นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดมองว่า เราสรุปไม่ได้ว่าพวกทำการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นชนชั้นกลาง หลายคนเจ้าที่ดินเป็นศักดินาด้วยซ้ำ การปฏิวัติทุกอันมันไม่จบในม้วนเดียว

ทุก การปฏิวัติมันมีความซับซ้อน มันไม่จบภายในครั้งเดียวหรือไม่กี่ปี กว่าที่ฝรั่งเศสจะมีระบอบรัฐสภาที่มันคง เป็นสาธารณะรัฐที่ 5 มีการเปลี่ยนแปลงไปมา ฝรั่งเศสตั้งสาธารณะรัฐมาถึง 5 ครั้ง ครั้งที่ 5 พึ่งตั้งปี 2501 นี่เอง ที่ทุกวันนี้เราเห็นมันยุ่งยาก ก็ต้องทำใจ เพราะฝรั่งเขาก็ผ่านอย่างนี้เช่นกัน


2475 เถียงอย่างไรก็ไม่สำเร็จถ้าแก้สถานะของเจ้าในปัจจุบันไม่ได้
ประเทศ ไทย 2475 มันเร็วเกินไปไหม ทุกประเทศในโลกมันเป็นอย่างนี้หมด มันไม่มีประเทศไหนที่มันเปลี่ยนแปลงแล้วลงตัวทันทีหรอก แต่ข้อสังเกต เวลาคนรักเจ้า มองว่า 2475 เร็วเกินไปนั้น เขาวางอยู่บนพื้นฐานประเด็นหนึ่งที่สำคัญมากคือประเด็นที่เขาสมติขึ้นมาว่า อะไรที่เป็นเจ้าต้องดีกว่าคนธรรมดาหมด ดีกว่านักการเมือง ดีกว่าคณะราษฏร และที่มีสมติฐานแบบนี้ก็เพราะว่ามันเกี่ยวข้องกับปัจจุบันประเด็น 2475 เถียงให้ตายอย่างไรก็เถียงไม่สำเร็จ ถ้าแก้ปัญหาสถานะของเจ้าในไม่ได้ต้องมาเถียงประเด็นรัชกาลปัจจุบัน ในประเด็นว่าสถานะอย่างปัจจุบันไม่ถูกตรงไหน แล้วก็ต้องแก้อย่างไร เพราะการบอกว่า ร.7 ดีกว่าคณะราษฏร เพราะเขามองย้อนหลังไปจากปัจจุบัน  พอปัจจุบันเขามองว่าสถาบันกษัตริย์เป็นอะไรบางอย่างที่พิเศษกว่าคนธรรมดา ทั่วๆไป เขาก็มองย้อนไปสิว่า ร.7 ก็ดีกว่า อยุธยาก็ดีกว่า สุโขทัยก็ดีกว่า

อัน นี้ผมพูดตรงๆอย่างซีเรียสเลย เวลาคนรักเจ้ามาพูดอย่างนี้ รณรงค์ให้กลับไปเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์เลย เพราะอย่างไร สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์โดยหลักการคือเจ้าเล่นการเมือง เจ้าเป็นผู้ปกครองเป็นนักการเมือง เพราะฉะนั้นถ้าการเมืองมันแย่ก็ด่าเจ้าตรงไปเลย แต่พอเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทุกวันนี้การเมือง ถ้ามันเลวก็ด่าได้เพียงนักการเมือง ผมยกตัวอย่างถ้าผมบอกว่าทักษิณ ชักใยเล่นการเมืองอยู่หลังยิ่งลักษณ์ เราก็พูดได้ แต่สมติใช้ประโยคแบบนี้กรณีอื่นไม่ได้ ประเด็นปัญหาการเมืองไทยมันเป็นแบบนี้มันบิดเบี้ยว

2475 คือการพยายามสถาปนาระบอบที่ผู้ปกครองต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง
การ เชียร์ 2475 เป็นเรื่องที่ถูกที่พยายามสถาปนาระบอบที่ว่า ผู้ปกครองต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของผู้ถูกปกครอง หรือเรียกคร่าวๆว่าประชาธิปไตย เวลาเราพูดเรื่องประชาธิปไตยต้องมีการเลือกตั้ง บางที่เป็นการพูดแบบสั้นๆ หลักการจริงๆมันอยู่ที่ว่าผู้ปกครองไม่ว่าอยู่ในสถานะอะไร อย่างสถาบันกษัตริย์ผมก็ไม่ได้เสนอให้มาเลือกตั้ง ไม่เคยเสนอ ไม่ได้เสนอแม้แต่ว่าศาลต้องมาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นหลักการนี้มันไกลกว่าเรื่องเลือกตั้ง อำนาจในการปกครองทุกอย่างมันต้องวางอยู่บนฐานการยินยอมของประชาชน ซึ่งต้องอนุญาตให้ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเสรี เขารู้สึกอย่างไรต่อบุคคลหรือองค์กรการเมืองทุกอย่างเขาต้องมีเสรีที่จะพูด ได้ หลักการนี้คณะราษฏรพยายามที่จะสถาปนาขึ้นมาเหมือนกัน

ปัญหาของคณะราษฏรกับข้อตกลงแบบสุภาพบุรุษกับ ร.7
แต่ เมื่อเราเชียร์คณะราษฏรก็มักเป็นการเชียร์ในด้านเดียวมากเกินไป เราเชียร์ว่าคณะราษฏรให้มีประชาธิปไตยให้มีการเลือกตั้งแล้วจบนั้นมันไม่ใช่ ถ้าเราดูรายละเอียดจริงๆ หลักการนี้คณะราษฏรก็ทำไม่เต็มที่เหมือนกัน คณะราษฏรยกเว้นสถาบันกษัตริย์ไว้เหมือนเดิม อย่างตอนร่างรัฐธรรมนูญ 2475 รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่คณะราษฏรโดยที่อ.ปรีดีร่างไว้ ฉบับ 27 มิ.ย. ไม่มีมาตราในลักษณะมาตรา 8 ในปัจจุบัน ที่ว่าองค์พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะผู้ใดละเมิดมิได้ แต่พอคณะราษฏรมีการไปคุยกับ ร.7 ก็เลยยอมเลิกรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีมาตราดังกล่าวอยู่เป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับ 10 ธ.ค.และ อ.ปรีดีสนับสนุนให้ใส่มาตรานี่เองด้วยซึ่งลอกมาจากรัฐธรรมนูญเมจิของญี่ปุ่น คณะราษฏรไม่เคยแก้กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลย ทั้งที่กฎหมายนี้มีตั้งแต่ปลาย ร.5 

เพราะคณะราษฏรคิดแบบ ซื่อๆ ว่าต่อไปนี้ ร.7 ก็คงยอมรับ พูดง่ายๆ คณะราษฏรกับ ร.7 เป็นการตกลงอย่างสุภาพบุรุษเท่านั้นไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น เรื่องกษัตริย์ต้องปฏิญาณตนว่าจะรักษารัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีการเขียนไว้ เพราะ ร.7 ให้คำมั่นสัญญา รวมทั้งแม้แต่ทายาทต่อไป ร.7 ก็ให้เหตุผลว่าในเมื่อพระองค์เป็นหัวหน้าครอบครัว เมื่อให้คำมั่นว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญเจ้าองค์ต่อไปก็จะยอมรับด้วยถ้าใครยึด อำนาจก็จะไม่รับรอง คณะราษฎรจึงไม่ใส่มาตรานี้ไว้ ปัญหาของคณะราษฏร คือคิดว่าข้อตกลงแบบนี้จะดำรงอยู่ได้ 

ตอนหลัง ก็มีปัญหา ร.7 ก็ไปช่วยกบฏบวรเดช คณะราษฏรประมาทเรื่องนี้ คิดว่าตัวเองยึดอำนาจได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเขียนรัฐธรรมนูญไว้ก็ได้ ถึงเวลาไม่มองให้กว้างขวางออกไปว่าประชาธิปไตยมันจะดำรงอยู่ได้จริงๆ ไอเดียที่ว่าอำนาจทุกอย่างมันจะอยู่บนความยินยอมพร้อมใจของราษฎรจริงๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการยึดอำนาจเฉยๆ แต่ที่สำคัญคุณต้องสร้างระบอบกฎหมายทุกอย่างที่อนุญาตให้ประชาชน แสดงออกอย่างเสรีเพื่อเป็นหลักประกันด้วย ถึงเวลาพอคณะราษฏรไม่อยู่ จอมพลสฤษดิ์ขึ้นมารื้อฟื้นสถานะอำนาจของสถาบันกษัตริย์อย่างขนานใหญ่ พวกเจ้าเองหลังจาก ร.7 ลงไปแล้วก็เริ่มกลับมามีอำนาจ

พรบ.ทรัพย์สินส่วนประมหากษัตริย์ผลงานชิ้นโบว์แดงของ ปชป.
หลัง 2490 นายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนแรกสร้างผลงานโบว์แดงอันแรกคือเสนอ พ.ร.บ.ทรัพย์สินส่วนกษัตริย์ ที่ใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้เข้าสภา  กฏหมายทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ปัจจุบันที่เอาทรัพยสินของรัฐมูลค่า หมื่นล้านเข้าไปอยู่ในอำนาจของสถาบันกษัตริย์โดยที่ตรวจสอบไม่ได้เลยนี่เป็น ผลงานของพรรคประชาธิปัตย์

คณะราษฏรมี กฏหมายเรื่องทรัพย์สินฯ อันหนึ่ง ซึ่งป็นเรื่องที่เขาจัดการเพราะเป็นเรื่องสำคัญ  คือ ร.7 แอบไปโยกย้ายทรัพยสินบางส่วนไว้ในบัญชีตัวเองที่ลอนดอน พอคณะราษฏรออก กฏหมายทรัพย์สินฯ แล้วมีการทำบัญชีถึงได้ทราบว่า ร.7 โยกย้ายเงินโดยผิดระเบียบ  กฏหมายทรัพย์สินฯ ฉบับของคณะราษฏรที่ถูกล้มไปโดยพรรคประชาธิปัตย์ ตามหลักของ กฏหมายทรัพย์สินฯ ฉบับคณะราษฏรนั้นอำนาจในการดูแลอยู่ที่กระทรวงการคลังซึ่งเป็นลักการทั่วไป ที่กระทรวงซึ่งรัฐบาลที่มาจากประชาชนเป็นคนดูแล ถึงเวลาถ้า รัฐบาลหรือ รมว.คลังทำไม่ดี ประชาชนอยากจะด่าอยากจะตรวจสอบก็ทำได้ เพราะฉะนั้นทรัพย์สินนี้ก็ควรจะอยู่ในการดูแลของรัฐบาลที่ประชาชนควบคุมอีก ที

ประชาธิปัตย์ร่วมมือกับคณะรัฐประหารโค้นปรีดีลงในวัน ที่ 8 พ.ย.2490 ผลงานโบว์แดงออก กฏหมายออกมา 2 ฉบับคือ 1 พรบ.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ 2 ออก กฏหมายให้จับนาย ชิต-บุศ-เฉลียว ได้เป็นพิเศษ ในกรณีสวรรคต ให้มีการขังยาวได้ เมื่อประชาธิปัตย์ ออก พรบ.ทรัพย์สินฯ มาก็โอนอำนาจไปสู่สถาบันกษัตริย์ ทุกวันนี้เขาพยายามบอกว่ามีประธานคณะกรรมการบอร์ดเป็น รมว.คลัง ผมกล้าท้าให้ผู้อำนายการ สนง.ทรัพย์สินฯ ให้ รมว.คลังมาดีเบตในประเด็นนี้กับผมก็ได้ ว่าอำนาจควบคุมทรัพย์สินอยู่ในกระทรวงการคลังจริงหรือเปล่าหรืออยู่กับ สถาบันพระมหากษัตริย์

มีโจ๊กอยู่เรื่องหนี่ง วันดีคืนดีพอฟอร์บไปจัดอันดับในหลวงโดยเอาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไป ประเมิน ก็โวยว่าไม่ใช่เป็นทรัพย์สินที่กระทรวงการคลังดูแล แต่พอมีคลิปเรื่องทักษิณออกมา พวกหน้ากากขาวก็มาบอกว่าโกงกินบ้านเมืองก็ไม่พอแล้วยังมายุ่งกับทรัพย์สิน ท่าน ผมก็ขำว่าตกลงตอนนี้ถือเป็นทรัพย์สินท่านแล้วหรือ จะเอาอะไรก็เอาสักอย่าง

สมัยคณะราษฏรอยู่ ร.7 จะไปพูดอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องมาขออนุญาตคณะราษฏรก่อนต้องมาขออนุญาตรัฐบาล ซึ่งอันนี้เป็นมาตรฐานทั่วไป อย่างควีนอังกฤษไม่สามารถพูดด้วยตัวเองได้ ปีหนึ่งๆ ควีนอังกฤษจะพูดได้ด้วยตัวเองโดยที่รัฐบาลไม่ได้เป็นคนร่างให้นั้น 2 ครั้ง คืออวยพรวันคริสมาสต์และวันที่อวยพรคนในสหราชอาณาจักร ที่เหลือควีนอังกฤษแสดงความเห็นต่อศาลต่อตุลาการไม่ได้ แสดงความคิดเห็นต่อนายกแล้วมีการมาเผยแพร่มีการถ่ายทอดแบบนื้ทำไม่ได้ ควีนเสนอความเห็นไม่ได้ เพราะอังกฤษเขาถือว่าคนอังกฤษทุกคนเป็นคน ถ้าควีนพูดในฐานะที่คนอังกฤษเป็นคนเขาก็ต้องมีสิทธิวิจารณ์ควีนกลับ ถ้าไม่ต้องการให้ควีนถูกวิจารณ์ควีนก็ต้องห้ามพูด เป็นการริดรอนสิทธิของควีนไหม ไม่ใช่ แต่ในทางกลับกันถ้าควีนพูดอะไรออกมาแล้วคนอังกฤษด่ากลับนั้นไปริดรอนสิทธิ ของคนอังกฤษไม่ได้ ประเพณีของเราในขณะที่เราอนุญาตให้สถาบันกษัตริย์พูดอะไรก็ได้นี่โดยไม่ผ่าน รันรัฐบาล คุณกลับริดรอนสืทธิของคนหลายล้านคน คำพูดในหลวงวิจารณ์ไม่ได้

เหตุผล ที่ประเทศที่มีกษัตริย์ปกครองเขาไม่อนุญาตให้กษัตริย์มีบทบาทแสดงความเห็น สาธารณะก็เพราะเหตุผลนี้ เพราะถ้าคุณอนุญาตขึ้นมาก็ต้องอนุญาตให้คนมีปฏิกิริยาตอบโต้ได้ด้วย แต่เมืองไทยใช้บรรทัดฐานคนธรรมดาไม่ใช่คน ถ้าฟังสถาบันกษัตริย์พูดอะไร คุณฟังอย่างเดียว
คณะราษฏรมีข้อจำกัดคือคิดว่าแค่ยึดอำนาจได้ ได้รับการสนับสนุนประชาชน ไม่ต้องทำอะไร โดยหวังว่าสถาบันกษัตริย์จะไม่มีบทบาทด้วย ผมพูดประเด็นนี้เพื่อที่จะโยงมาถึงคุณทักษิณ พรรคเพื่อไทย ข้อจำกัดของเสื้อแดง

ปชต.ที่แท้จริงไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ทุกอำนาจอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของประชาชน
ประเด็น ผมคือประชาธิปไตยจริงๆ มันไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้งหรือการมีอำนาจจริงๆเท่านั้นมันอยู่ที่ว่าเรา จะสามารถสร้างกรอบหรือบรรทัดฐาน ที่ให้ทุกกลุ่มหรือองค์กรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของประชาชนอยู่ตลอดเวลาโดย ไม่มีข้อยกเว้นได้ไหม ถ้าเราทำแบบนี้ไม่ได้แล้วคาดหวังว่าพรรคเราชนะการเลือกตั้ง ที่เหลือไม่เป็นไรอันนี้เป็นการคิดที่ผิด

ประเด็นคลิปทักษิณ( & สุกำพล)
เรื่อง คลิปผมมีปัญหาอยู่ ผมเข้าใจอยู่ว่าเวลาเราเห็นการเอาคลิปมาโจมตี เสื้อแดงพยายามจะบอกว่ามันไม่เกี่ยวกับเสื้อแดง ผมว่ามันมีประเด็นซีเรียสเกี่ยวกับเสื้อแดงอยู่2 ประเด็น

ประเด็น ที่เขาด่าว่าทักษิณพยายามที่จะไปควบคุมทหาร แล้วก็ไปเจรจาหาทางตั้งคนนั้นนี้ ประเด็นนี้ผมยักไหล่ ความจริงตามหลักอำนาจในการควบคุมกองทัพมันควรอยู่ที่รัฐบาลโดยเด็ดขาดแต่ต้น ทหารนี่นักการเมืองหรือรัฐบาลอยากจะโยกย้ายใครเป็นอำนาจเต็มที่จะโยกย้าย ประธานาธิบดีทรูแมน กรณี นายพลแม็คอาเธอร์ที่เป็นแม่ทัพใหญ่แฟซิกฟิก ช่วงสงครามโลก ทำนโยบายบางอย่างไม่ถูก ทั้งที่เป็นฮีโร่ แต่ประธานาธิบดีก็สั่งปลดได้ เรื่องนี้คิดว่าไม่เป็นปัญหาเลย แต่ประเด็นปัญหาเรื่องคลิปคือ

ยุทธศาสตร์เอาใจทหารของเพื่อไทยและทักษิณ
ประเด็น ที่ 1 เรื่อง พรก. ที่เจรจากับทหาร มันต้องเป็น พรก.แบบเหมาเข่งแน่นอน เมื่อเหมาเข่งทหารก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเหมาเข่งประชาธิปัตย์ด้วย

เมื่อ ช่วงเดือนที่ผ่านมามันมีเหตุการณ์ที่เพื่อนเสื้อแดงไปด่าอภิสิทธิ์ในที่ ต่างๆ ก็มีหลายคนวิจารณ์ ผมเห็นด้วยว่าไม่ควรใช้ท่าทีแบบนั้นกับกลุ่มดังกล่าว อย่างกรณีที่ลำพูลก็ยกว่าเป็นความแค้นเนื่องจากที่ลำพูลมีคนตาย ผมก็เข้าใจ

“แต่ ประเด็นที่ผมสะดุดใจคือเสื้อแดงเวลาผู้นำทหารไปไหนทำไมไม่ประท้วงอย่างที่ ประท้วงอภิสิทธิ์บ้าง ผมอยากให้คิดอย่างซีเรียสนะ จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เพื่อนๆเสื้อแดงที่รู้สึกชอบธรรมที่จะประท้วงอภิสิทธิ์นี่จริงๆแล้วเป็นการ ประท้วงตามการเมืองของพรรคเพื่อไทยเหมือนัน แล้วการเมืองยุทธศาสตร์ของเพื่อไทยของคุณทักษิณปัจจุบัน คือเป็นการเมืองหรือยุทธศาสตร์ที่ต้องการเอาใจทหาร มันมีปัญหาใหญ่มากๆ เลย ต่อเรื่องประชาธิปไตย”

พรก. เหมาเข่ง ต้องถามว่าเสื้อแดง ที่ตลอดมาพูดว่าไม่เอา พรบ.เหมาเข่ง ไม่นิรโทษกรรมให้อภิสิทธิ์-สุเทพ แล้วทหารจะนิรโทษกรรมไหม การเมืองของเพื่อไทยปัจจุบันไม่แตะทหารเลย คดีที่คุณธาริต เพ็งดิษฐ์ฟ้องอภิสิทธิ์ ซึ่งดีเป็นเรื่องที่ฟ้องได้ แต่ไม่ฟ้องทหารเลย ทั้งๆที่ในคำสั่งของ ศอฉ. ระบุด้วยว่า       อนุญาตให้ ผู้บัญชาการทหาร ตัดสินใจกำหนดวิธีปฏิบัติการในการกวาดล้างผู้ชุมนุมได้ เพราะฉะนั้นผู้บัญชาการทหารใน ศอฉ. ต้องมีความรับผิดชอบในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมปี 53 เท่าๆ กับอภิสิทธิ์เหมือนกัน

ทำไมก่อนหน้านี้รัฐบาลเพื่อไทยไม่คิดออก พรก.นิรโทษกรรมเสื้อแดงที่เป็นมวลชน

ประเด็น ที่ 2 ทำไมก่อนหน้านี้ รัฐบาลเพื่อไทยจึงไม่คิดออก พรก.ที่เป็นนิรโทษกรรมที่เป็นมวลชน ผมพูดประเด็นนี้ตั้งแต่ รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรัฐบาลใหม่ๆ เป็นหน้าที่อันดับแรกที่รัฐบาลควรทำ ทำอย่างไรให้เอามวลชนออกมาได้ก่อน ต้องแยกมวลชนอกจากคุณทักษิณ ผมไม่ได้ปฏิเสธการช่วยคุณทักษิณ ผมเป็นคนแรกๆที่เขียนว่าคดีที่ดินรัชดามันต้องเป็นโมฆะเพราะคดีนั้นก็มาจาก การทำรัฐปรารขึ้นมา เพราะคดีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.)  มันขี้ของ คมช. ถ้าจะเล่นงาน เรื่องคอรัปชั่น ก็ต้องตั้งดำเนินคดีปกติแต่ตั้งแต่ต้นเรารู้ว่ากรณีทักษิณ เป็นกรณีพิเศษ ที่อีกฝ่ายขัดขวางไม่ให้กลับมา ดังนั้นการพ่วงกันกับมวลชนมันจึงทำให้ยาก

คลิ ปนี้ที่มันน่าผิดหวังที่สุดคือ มันบอกให้เราเห็นว่าคนในวงรัฐบาล รวมทั้งคุณทักษิณเองด้วย วางแผนที่จะออก พรก. ช่วยคุณทักษิณ โดยที่ทำไมไม่คิดที่จะออก พรก.แบบนี้ช่วยคนเสื้อแดงด้วย เรื่องคนติดคุกกว่า 2 ปี โดยที่ไม่ควรจะติดนี่มันโคตรฉุกเฉิน และมันเคยมีการออก พรก. นิรโทษกรรม ให้ รสช. มาแล้ว ที่ทำรัฐประหารสมัยชาติชาย แล้วสมัยนั้นประชาธิปัตย์ก็ยอมรับ ทำไมจะนิรโทษกรรมให้มวลชนที่ติดคุกไม่ได้ นี่เป็นปัญหาความมั่นคง เป็นปัญหาความมั่นคงมากๆด้วย จากการทำลายครอบครัวเป็นพันๆ ชีวิต และเร่งด่วนด้วย แล้วคุณทักษิณหรือคนในวงรัฐบาลสามารถวางแผนคุณ พรก.นิรโทษกรรมคุณทักษิณได้ ทั้งๆที่รู้ว่าว่า พรก. มันมีปัญหา มันออกยาก ต้องผ่าน รัฐธรรมนูญมาตรา 184 ถึงขนาดตั้งไปให้ทหารดูก่อนนั้น ดังนั้นมันจึงไม่มีเหตุผลแก้ตัวเลยที่รัฐบาลจะไม่ออก พรก.นิรโทษกรรมให้มวลชนพรุ่งนี้มะรืนนี้เลย

พรบ.ของคุณ วรชัยที่จะเข้าตอนนี้ ก็ไม่ได้มีหลักประกันที่จะสำเร็จ เพราะไม่มีการถอน พรบ.เหมาเข่งอีก4 ฉบับออกมา โอกาสที่เสนอไปมันมีแนวโน้มว่าจะไม่สำเร็จมาก คนที่อยู่ในคุกก็อยู่ต่อไป

วิจารณ์ขบวนเสื้อแดง
ขบวน การเสื้อแดง ผมใช้เวลาตามเวทีกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(กวป.)และภาคีพลัง ประชาชน(ภปช.) ผมเรียกร้องให้คนที่เรียกว่าเป็นอำมาตย์ลองฟัง ต่อให้คุณไม่เห็นด้วยเลยคุณจะเข้าใจว่าทำไมมีคนจำนวนมากที่เชียร์ทักษิณ และทำไมเขาสู้ไม่ยอมเลิก เหตุผลสำคัญก็เพราะว่าคุณทักษิณมีผลงานที่ทำให้เขาอยู่ดีกินดี เข้ารู้สึกว่าทำให้เขาอยู่ดีกินดี แล้วมีคนมาล้มเขาเฉยๆ เขาก็ไม่พอใจ ในความไม่พอใจมันมีหลักการในเรื่องประชาธิปไตยนั้นเสียงส่วนใหญ่ต้อเป็นคน กำหนด รวมทั้งหลักการที่ว่าอำนาจต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน

แต่ เราต้องยอมรับว่าการเชียร์ทักษิณมากจากผลประโยชน์ หรือประชาธิปไตยกินได้ ผมพูดอย่างนี้ไม่ได้กำลังวิจารณ์เลย ตอน ปฏิวัติ 1917 รัสเซีย คนรัสเซียที่สนับสนุนให้พรรคบอลเชวิคขึ้นสู้อำนาจ นั้นเขาไม่ได้รู้เรื่องหลักการสังคมนิยมหรือมาร์กซ์หรอก เขาเรียกร้องสันติภาพและขนมปัง อันนี้ก็เป็นผลประโยชน์ชัดๆ ดังนั้นการที่คนเสื้อแดงเชียร์ทักษิณด้วยผลประโยชน์นั้นเป็นเรื่องการกินดี อยู่ดีเรื่องผลประโยชน์นั้นเป็นเรื่องธรรมดามากๆ เป็นเรื่องของมนุษย์ การเมืองของมนุษย์ก็แบบนี้ แม้แต่หลักการประชาธิปไตยที่ต้องฟังเสียงประชาชนก็มาจากตรงนี้

แต่ ปัญหามันอยู่ตรงนี้ จากจุดเริ่มต้นของความเป็นมามันทำให้มีจุดอ่อนที่สำคัญอย่างหนึ่ง คนส่วนใหญ่เสื้อแดง จะมีความรู้สึกว่าทำอย่างไรให้รัฐบาลนี้อยู่ในอำนาจ ถ้าใครมาขวางก็จะโกรธมาก นำไปสุ่การแสดงออกที่รุนแรง อยากให้รัฐบาลทำอะไรกับพวกนี้ รวมทั้งการวิจารณ์การขัดขวางโครงการนั้นนี้ของรัฐบาล ตามหลักประชาธิปไตยเองแม้กรณีอเมริกาต่อให้รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งก็ถูกขัด ขวางโครงการได้โดยหลักการมันไม่ผิดที่อาจจะมีศาลหรือองค์กรต่างๆ มาขวางโครงการของรัฐบาลเลือกตั้ง แต่ที่มันผิดคือหลายปีที่ผ่านมานี้มันไม่ได้ขวางบนฐานของ กฏหมาย มันไม่ได้ขวางบนฐานที่องค์กรเหล่านี้ขึ้นอยู่กับประชาชน แต่มันขวางบนฐานที่ว่ากำลังทำให้พระราชา บนฐานการอ้างอำนาจสถาบันกษัตริย์ ซึ่งประเด็นนี้มันผิดแน่ๆ

ปัญหาจุดอ่อน ของเสื้อแดง มันมีแนวโน้มอย่างหนึ่ง เอาเข้าจริงมันมาจากมวลชนส่วนใหญ่ด้วย การที่แกนนำ หรือทักษิณ ไม่แคร์คนอยู่ในคุกมากเท่าที่ควรจะเป็น เป็นเพราะฐานมวลชนส่วนใหญ่ไม่ได้แคร์อย่างที่ควรจะเป็นด้วย ในความเห็นผมมาจากมวลชนส่วนใหญ่สนับสนุนทักษิณ ด้วยฐานของผลประโยชน์ จากการกินดีอยู่ดี ทำให้เรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องรอง อย่างเรื่อง ม.112 หลายคนอยากเลิก แต่รัฐบาลไม่เลิกก็ไม่เป็นไร เป็นเรื่องรอง ขอให้รัฐบาลอยู่ในตำแหน่งนานๆไป ตุลาการไม่ต้องปฏิรูปก็ไม่เป็นไร หรือทหาร ตอนนี้คุณทักษิณใช้ยุทธศาสตร์เอาใจทหาร เสื้อแดงก็มองว่าไม่เป็นไรเดียวจะโดนรัฐประหาร

คำถามคือ ถามเอาใจทหาร ซึ่งเอาใจเยอะ หนึ่ง งบประมาณเพิ่มขึ้นมหาศาล สอง ไม่แตะต้องโผต่างๆ ปล่อยให้เขาทำโผของเขาเอง สาม ไม่คิดเล่นงานเขาในกรณีรัฐประหารและการสลายการชุมนุมปี 53 คำถามคือถ้าคนเสื้อแดงที่ยังสนับสนุนคุณทักษิณที่พยายามรักษารัฐบาลนี้ไว้ เรื่องอื่นๆ เป็นเรื่องรองนั้น เหตุผลที่เรื่องนักโทษการเมืองไม่เป็นเรื่องใหญ่ ก็เพราะมวลชนที่สนับสนุนคุณทักษิณหรือรัฐบาลเองมาจากจุดเริ่มต้นที่ไม่ได้ ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้ ไม่ได้ให้ความสำคัญับปัญหาเรื่องเสรีภาพการแสดงออก เรื่อง ม.112 แม้กระทั้งประเด็นทหาร หรือสถาบันกษัตริย์ คุณทักษิณหรือ นปช. ไม่คิดที่จะยกเรื่องสถาบันกษัตริย์ขึ้นมาเพราะคิดว่าไม่เป็นไร รอๆไปตามธรรมชาติแล้วคนเสื้อแดงที่อยากให้รัฐบาลอยู่ต่อไปได้เรื่อยๆ ให้กินดีอยู่ดีก็รู้สึกโอเคเรายอมเรื่องอื่นๆไป

“คำถามผม ง่ายๆอย่างนี้ ถ้าคุณสามารถโอเคกับทหารได้ คุณเอาใจทหารได้ ให้รางวัลกับทหารได้ คำถามคือทุกวันนี้ด่าอภิสิทธิ์กับสุเทพทำไม นี่ซีเรียสนะฮะ ไปโกรธแค้นเขาทำไม บอกว่าโกรธแค้นกรณีปี 53 แล้วปี 53 ทหารไม่เกี่ยหรอฮะ แล้วที่มันเกิดปี 53 ไม่ใช่เพราะว่าทหารทำรัฐประหารปี 49 หรอ ถ้าตราบใดที่มวลชนก็ดี ขึ้นไปถึงระดับรัฐบาลก็ดี ยังใช่ยุทธศาสตร์แบบนี้ โดยหวังผลประการเดียวคือต้องรักษาการอยู่ในอำนาจของคุณทักษิณ ไม่ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ก็ตามคำถามคือว่าการโจมตีอภิสิทธิ์ ดำเนินคดีอภิสิทธิ์ มันเป็นการเล่นเกมส์ของเด็กๆครับ จริงๆ” สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กล่าวทิ้งท้าย

(ที่มา)
https://www.facebook.com/notes/81/1431473230466517

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น