แต่งงานใหม่ โดย กาหลิบ
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เริ่ม มีคนถามว่า หากรัฐบาลของประชาชนหรือรัฐบาลที่ประชาชนเลือกตั้งมากับมือทำงานไม่สอดรับ กับผลประโยชน์ของประชาชน หรือหนักยิ่งกว่านั้นคือทำงานสอดรับกับผลประโยชน์กับฝ่ายตรงข้ามกับประชาชน เสียด้วยแล้ว ประชาชนควรทำอย่างไร
ปัญหานี้ไม่น่าจะเกิดในประเทศประชาธิปไตย แต่สำหรับประเทศที่แสร้งว่าเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นประชาธิปไตยน้ำใต้ศอกแล้วย่อมเกิดขึ้นได้ และอาจกำลังเกิดอยู่ด้วยซ้ำ
เจตนา ของคนส่วนใหญ่ที่มาจากการเลือกตั้งคงไม่น่าเป็นการมุ่งรับใช้เผด็จการ แต่ในจิตใจที่ขาดความมั่นคงทางอุดมการณ์และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความคิดรับใช้มวลชนคงจะแปรเปลี่ยนไปได้ในทันทีที่พบว่าอำนาจของประชาชนไม่ ใช่อำนาจสูงสุด สุดท้ายก็วิ่งไปรับใช้อำนาจที่เหนือกว่าประชาชน
ประเด็นสำคัญจึงมิใช่ว่ารัฐบาลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือจะอยู่ได้นานแค่ไหน แต่อยู่ที่ระบอบซึ่งเป็นเสมือนฝาครอบรัฐบาลนั้นอยู่
การ ครอบงำเป็นการแผ่อิทธิพลอย่างสมบูรณ์ ส่งผลให้ความคิดดีๆ ความตั้งใจดีๆ และความเป็นตัวแทนของปวงชนเลือนหายไปได้ ไม่ว่าปัญหาน้ำท่วม การจราจรในกรุงเทพฯ การเร่งเร้าให้สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ความรวนเรในหลักการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การประกาศสงครามกับสื่อไซเบอร์ ฯลฯ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างแรกๆ ของการปะทะในหลักการ
ลอง คิดดูให้ดีแล้วจะพบว่า เบื้องหลังทุกๆ นโยบายจะต้องมีหลักการที่อธิบายต่อประชาชนได้ ในกรณีที่มีลักษณะขัดผลประโยชน์ในหลายกลุ่มประชาชน กรณีนั้นก็ต้องอธิบายกันอย่างเต็มที่และอดทนจนกว่าจะพบทางออกที่สร้าง ฉันทามติหรือความขัดแย้งที่เบาบางที่สุด เพราะผู้กำหนดนโยบายจะต้องเลือกระหว่างทางเลือกต่างๆ ซึ่งจะมีผู้สมหวังและผิดหวังอยู่เสมอ
แต่ ถ้าเบื้องหลังนั้นไม่ได้มาจากผลประโยชน์ของมหาชน แต่เป็นความต้องการของชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจเหนือประชาชน ก็จะไม่สามารถอธิบายให้ประชาชนพึงพอใจได้ สุดท้ายก็ต้องหาเรื่องเบี่ยงประเด็นกันไปจนไม่พูดถึง เหลือแต่เสียงกระซิบกระซาบและการนินทาว่าร้ายที่รัฐบาลนั้นเองต้องรับไป
คนที่คอยสั่งรัฐบาล (และรัฐบาลดันตอบรับ) ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรด้วยเลย รัฐบาลของประชาชนหลายคณะในอดีต จึงกลายเป็นหนังหน้าไฟ หรือนายหน้าของผู้มีอำนาจในเมืองไทยไปด้วยประการฉะนี้
บทบาทนี้จะดำเนินไปจนกว่ารัฐบาลนั้นจะเสื่อมความนิยม ขัดแย้งกันภายในจนเดินต่อไปไม่ได้ และก็จะพังไปเองในที่สุด
คนที่คอยสั่งรัฐบาลเขาก็จะยักไหล่ ตั้งรัฐบาลชุดต่อๆ ไปมาตายแทนเขาต่อไปโดยไม่รู้สึกรู้สมอะไรด้วย รูป แบบนี้เห็นกันแล้วเห็นกันอีก ก็ยังไม่ค่อยเรียนรู้กัน หรือจะคิดว่าตัวเองมีคุณวิเศษยิ่งไปกว่าคณะอื่นๆ และไม่ถูกดูดเข้าสู่วงจรอุบาทว์เหมือนคณะอื่นๆ หรืออย่างไรก็ไม่รู้
กลับมาที่คำถามข้างต้นว่า หากสถานการณ์เกิดผันแปรขึ้นจริงๆ เราจะทำอย่างไรกับ “รัฐบาลของเรา”?
สิ่งแรกคือต้องใจเย็นๆ แยกคนที่เป็น “ของเขา” และ “ของเรา” ออกจากกัน บาง คนขณะนี้อยู่ในสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออก จำต้องแสดงละครฉากสำคัญตรงหน้า แต่ขณะเดียวกันก็ไม่มีพฤติกรรมเบื้องหลังที่ส่อว่า แปรพักตร์ไปจากมวลชนประชาธิปไตย อย่างนี้ก็สงเคราะห์ในขั้นต้นไว้ก่อนว่าเป็น “ของเรา”
บาง คนมุ่งหน้าทำงานรับใช้ฝ่ายตรงข้ามกับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีอิทธิพลในรัฐบาลมากขึ้นก็ยิ่งรับใช้มากขึ้นและลึกซึ้งยิ่งขึ้น พยายามตลอดเวลาที่จะลดทอนอำนาจน้อยนิดที่ประชาชนมีอยู่เพื่อจะเอา “การบ้าน” ไปส่งครูว่าตัวเองเป็นนักเรียนในโอวาท อย่างนี้ก็นับว่าเป็น “ของเขา” คณะกรรมการมวลชนถูกตั้งขึ้นแล้วและจะทำงานแยกแยะ “ของเขา” และ “ของเรา” เป็นหลัก
อีก อย่างหนึ่งคือเราควรมองรัฐบาลขณะนี้ว่า เสมือนกำลังทดลองประสานผลประโยชน์กันอยู่ ดูกันสักระยะหนึ่งว่าผลประโยชน์ของอำนาจเดิมกับผลประโยชน์ของอำนาจใหม่จะหา จุดร่วมที่ทำให้อยู่ร่วมกันได้บ้างหรือไม่
การทดลอง “อยู่ร่วมกัน” นี้เคยทำมาแล้วเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ และประสบความล้มเหลว อยากลองดูอีกทีเมื่อเกือบ ๘๐ ปีให้หลัง ก็ถือเป็นการทดลองครั้งที่สองได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น