หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทบาทของนักการเมืองเสื้อแดง
สมุดบันทึกสีแดง

สิ่งที่ขาดหายไปอย่างยาวนานในประวัติศาสตร์การเมืองไทย คือ บทบาทของนักการเมืองที่เป็นที่พึ่งของประชาชน ที่ ผ่านมาภาพที่เราเห็นจนชินตาของนักการเมืองคือ บทบาทของการเป็นมาเฟียที่ไม่ให้ความสำคัญกับประชาชน แต่เน้นการสร้างสายสัมพันธ์กับกองกำลังในเครื่องแบบ เช่น ตำรวจ และ ทหาร แต่พอสังคมไทยมีประชาธิปไตย ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้นผ่านการเลือกพรรคการเมืองที่มีนโยบายที่ตอบสนอง ความต้องการของประชาชน


พอ มีวิกฤติทางการเมืองเกิดขึ้นในประเทศไทย ภาพที่พวกเราเห็นมาหลายครั้งหลายครา คือ ไอ้คนข้างบน หรือ พวก “ไอ้ตาอยู่ ไอ้พวกฉวยโอกาส” เข้ามาปล้นเอาความดีความชอบที่ประชาชนต่อสู้มา ไปเป็นของตัวเองกลางวันแสกๆ อยู่เสมอๆ และเหล่าฆาตรกรมือเปื้อนเลือดทั้งหลายไม่เคยถูกลงโทษเลย หนำซ้ำยังเป็นใหญ่เป็นโตคับบ้านคับเมือง ในมุมกลับประชาชนผู้รักความเป็นธรรมกลับถูกคุมขัง อย่างไร้ความเป็นธรรม อย่างไรก็ตามภาพอุจาดตาเหล่านี้อาจจะไม่ผ่านตาไปอย่างสบายสบายเหมือนที่เคย เป็นมา ถ้าขบวนการ “เสื้อแดง” มีความเข้มแข็ง


โฉม หน้าของเหล่าคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ไม่เพียงแต่ขี้เหล่แต่ใบหน้าของแต่ละคน มันเป็นใบหน้าเดิมๆ ที่ต้องการเล่นการเมืองในกรอบอุบาทว์เดิมๆ แต่อย่างไรก็ตามการที่แกนนำของคนเสื้อแดงได้เข้าไปเป็น สส. มันมีกลิ่นอายของความหวังและการตั้งมาตรฐานของการเป็นนักการเมืองที่มี คุณภาพ เช่น การที่ สส.เสื้อแดง ได้รวมตัวกันเพื่อที่ประกันนักโทษการเมือง จตุพร พรหมพันธ์ ออกมาเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของคนเสื้อแดง และ พูดดักคอ นักการเมืองหน้าไหว้หลักหลอกของพรรคเพื่อไทยคนอื่นๆ ว่า อย่ามาดัดจริตกลับหัวกลับหางความจริงเกี่ยวกับบทบาทและการต่อสู้ของคนเสื้อ แดง ที่พยายามตีตัวออกห่างคนเสื้อแดงโดยอธิบายว่าคนทำให้ภาพ พจน์เพื่อไทยเสีย มันเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันทำให้เราเห็นภาพนักการเมืองสองชนิด ชนิดที่ไม่มีอุดมการณ์ และ มีอุดมการณ์ แน่นอนคนทั่วไปย่อมตั้งคำถามกับบทบาทนักการเมืองส่วนใหญ่ของพรรคเพื่อไทยที่ ให้ความสำคัญกับประชาชนในลำดับสุดท้ายของความสำคัญ ซึ่งหมายความว่าเราไว้ใจนักการเมืองส่วนใหญ่ไม่ได้เลย พวกเราต้องมีการกดดันรัฐบาลให้ระลึกถึงบุญคุณของประชาชนอยู่เสมอๆ เพราะถ้าเราเผลอเมื่อไหร่นักการเมืองเหล่านี้จะวกเข้ามากัดพวกเราทันที เช่น
การที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT ที่ ออกมาแถลงนโยบายที่เร่งด่วน โดยเน้นไปที่การเพิ่มความเข้มข้นในการกฎหมาย ม.112 และมีหลายคนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในทิศทางที่ว่า เราต่อสู้เสียชีวิตไปตั้งมากมายแต่ได้นักการเมืองน้ำเน่ากลับมา? ทำให้รัฐมนตรีเสียงอ่อนลงในลักษณะที่ยอมรับฟังว่ามันมีความไม่เป็นธรรมในการ ใช้กฎหมายนี้ แน่นอนพวกเราก็ต้องเคลื่อนไหวและวิพากษ์วิจารณ์ให้หนักมากยิ่งขึ้นรวมถึง เสนอให้เน้นไปที่การ “ยกเลิก ม.112”


ช่วงอาทิตว์ที่ผ่านมามีข่าวหนึ่งที่น่าสนใจ แต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่ามันเป็นข่าวใหญ่ในสื่อกระแสหลักแค่ไหน คือ “ศาลแพ่งตัดสินให้ 2 นปช.ชนะคดีจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเสื้อแดงที่ดินแดงเมื่อปี 52 โดย 2 เหยื่อ ปืนถูกยิงบาดเจ็บเป็นโจทก์ยื่นฟ้องรัฐบาล-กองทัพ เรียกค่าชดเชยที่ถูกยิงบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้เชื่อว่าโจทก์บาดเจ็บจากฝีมือเจ้าหน้าที่จริง ให้จ่ายเงินชดเชย 3 ล้าน” นี่ คือจุดเริ่มต้นที่พวกเรากดดันให้กองทัพรับผิดชอบกับอาชญากรรมที่ทหารไทยทำ กับประชาชนมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้ากรณีการปราปรามเสื้อแดงในปี 52 ชนะ เหตุการณ์ในปี 53 กองทัพก็ต้องชดใช้กับความการกระทำอันอำมหิตในเหตุการณ์ราชประสงค์เลือดเช่น เดียวกัน ซึ่งในกรณีล่าสุดนั้นหลักฐาน และ พยายามมีอยู่อย่างมากมาย การเอาผิดกับทหารและนักการเมืองต้องอาศัยสองพลังประสานกัน คือ พลังมวลชนเสื้อแดงกดดันและนักการเมืองเสื้อแดงในรัฐสภาที่จะต้องเร่งให้ รัฐบาลเอาผิดกับอาชญากรตัวจริงเหล่านั้นเสียที 

ถ้าเรามีนักการเมืองที่มีอุดมการณ์ที่กล้ายืนเคียงข้างกับคนเสื้อแดงมากพอโดยที่ไม่ยอมจำนนต่ออำนาจนอกระบบ อยู่ในรัฐสภาภายใต้ความเข้มแข็งของขบวนการเสื้อแดง พวกเราคงสามารถใช้การปฏิรูปการเมืองเปิดประตูไปสู่ศักราชใหม่ได้อย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น