หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดีแต่พูด-ดีแต่พลิ้ว ยุคเปื้อนสียังอันตราย

วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 20:00:42 น.



โดย จำลอง ดอกปิก

(คอลัมน์ ระหว่างวรรค มติชนรายวัน ฉบับ 27 สิงหาคม 2554)
การ ตั้งคำถามถึงการโฆษณาเกินจริงของพรรคการเมืองฝ่ายค้าน และท่าทีที่มีต่อนโยบายรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภานั้น เป็นผลพวง ติดพันมาจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 3 กรกฎาคม เนื่องจากพรรคประชาธิปัตย์มองไม่เห็นความเป็นไปได้ นโยบายพรรคเพื่อไทยจะนำไปปฏิบัติได้จริง ตั้งแต่ในชั้นการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งแล้ว

บางเรื่องเป็นของภาคเอกชน อยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมและตัดสินใจของรัฐบาล อย่างเช่นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ

บาง เรื่องอย่างการปรับฐานเงินเดือนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรี แรกรับราชการ 15,000 บาท หรือจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้กับเด็กนักเรียน อาจเป็นภาระต่องบประมาณ บางโครงการเช่นเรื่องการถมทะเล สร้างเมืองใหม่จำเป็นต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูงมาก

คำถามจากประชาธิปัตย์ก็คือ จะนำเงินมหาศาลนี้มาจากไหน!

แม้ เป็นเรื่องใหญ่คำถามโตที่ประชาธิปัตย์นำไปแปะไว้กับหมายเลข 1 พรรคเพื่อไทย อีกทั้งยังเรียกร้องผู้นำเสนอนโยบายในลักษณะหลอกลวงผู้บริโภคเช่นนี้ชี้แจง ให้กระจ่างชัดมากกว่าที่ได้อธิบายมา แต่พรรคเพื่อไทยก็ชนะเลือกตั้ง

ประชาชนส่วนใหญ่อาจเลือกพรรคเพื่อไทย ด้วยเหตุผลหลายประการ อาจไม่ใช่เรื่องนโยบายอย่างเดียว

แต่เรื่องนโยบายก็กลับกลายมาเป็นหอกทิ่มแทงรัฐบาลเสียเอง

พรรค ประชาธิปัตย์รุกไล่ทวงถามสัจจะยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กลางสภา และเรียกร้องรัฐบาล ต้องดำเนินการตามการให้คำมั่นสัญญากับประชาชน โดยเฉพาะนโยบายยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน อย่างค่าแรง 300 บาท และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท

ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลนั้น พยายามหลีกเลี่ยงไม่ผูกมัดตัวเอง ด้วยการเขียน 2 เรื่องนี้บรรจุไว้ในนโยบาย แทนที่จะเป็นค่าแรงต่อวัน และเงินเดือนโดยความหมายแท้จริง กลับเปลี่ยนพลิ้ว ใช้เป็นคำว่า รายได้รายวัน และรายเดือนแทน

พรรคประ ชาธิปัตย์สามารถตีตื้นเก็บคะแนนคืนได้บ้างในยกแรกอย่างเป็นทางการของการ ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงเรียกร้องแทนประชาชน และในทางการเมืองได้ลดทอนความน่าเชื่อถือของฝ่ายรัฐบาลลงระดับหนึ่ง

การ โหมโจมตีนโยบายอย่างหนักนั้นมิใช่เรื่องแปลก โดยหลักการแล้ว นโยบายที่ได้ประกาศไว้ และภาคการปฏิบัติ ขับเคลื่อนแปรเป็นผลงานนี่แหละเป็นดัชนีชี้วัดอายุขัยรัฐบาล ต่อให้นโยบายสวยหรูแค่ไหน หากไม่สามารถปฏิบัติได้จริงก็ย่อมไร้ค่า

พรรคประชาธิปัตย์จึงพยายามตอกย้ำจุดนี้

ฝ่าย พรรคเพื่อไทยนั้นก็รู้ดี จึงระมัดระวังอย่างยิ่งในการเขียนนโยบาย พยายามให้รัดกุม ไม่ผูกมัดจนกลายเป็นเครื่องพันธนาการรัฐบาลในที่สุด เขียนให้พอได้ชื่อว่าทำได้ระดับหนึ่ง ไม่ให้น่าเกลียดจนเกินไปในสายตาฝ่ายสนับสนุนก็พอแล้ว

หากเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ปัญหาอาจตามมามากมาย ความล้มเหลวนั้นย่อมเป็นเหยื่ออันโอชะของฝ่ายค้าน

ความ ล้มเหลวนั้นย่อมส่งผลสะเทือนทางการเมืองอย่างรุนแรง และจะนำมาซึ่งปัญหาอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายแม้แต่ในทางกฎหมายก็ใช่ว่าจะ ประมาทได้ และโดยเฉพาะเรื่องอันเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้ง ที่ขบวนการต่อต้านพรรคเพื่อไทยกลายกลุ่มพวก ยังคงรอฉกฉวยสถานการณ์ จ้องเช็กบิล คว่ำรัฐบาลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอยู่

ลำพังเฉพาะฝ่าย ค้านนั้นอาจไม่กระไรนัก และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยคงไม่กลัวมาตรการลงโทษทางการเมืองในลักษณะชาวบ้านไม่ เลือกเข้ามาอีก อันเนื่องมาจากความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินเท่าใดนัก

ทั้ง นี้ เนื่องจากในยุคการแบ่งขั้วทางการเมืองชัดเจนเช่นปัจจุบันน้้น ประชาชนมักไม่สนใจ หรือให้น้ำหนักว่า รัฐบาลของพวกเขามีฝีมือ และทำได้จริงตามการให้คำมั่นสัญญา ตามนโยบายที่ประกาศไว้หรือไม่ หากแต่หลับหูหลับตาเลือกฟากฝ่ายตัวเองเป็นภาคๆ

ยิ่งขัดแย้งรุนแรงก็ยิ่งต้องถือหาง มีเดิมพันการเอาชนะคะคานสูง ไม่สนใจแม้ใครชั่ว-ดี

ยิ่งขัดแย้งมากเท่าใดก็ยิ่งบ่อนเซาะ ทำลายการพัฒนาประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น