พิมพ์ในบทความวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
บทความแปลโดย: ดวงจำปา
เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีโอบาม่า ได้ลงนามในบทบัญญัติเพื่อนำใช้ในทางกฎหมาย หลังจากที่ได้แถลงการณ์ว่า จะมีผลกระทบกับผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งพยายามเดินทางเข้ามาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา
บท บัญญัติของประธานาธิบดี ว่าด้วยการระงับการเข้าประเทศในฐานะของพลเมืองถาวร และพลเมืองชั่วคราว ซึ่งมีส่วนร่วมในการละเมิดกฎหมายทางสิทธิมนุษยชนและทางมนุษยธรรมอย่างร้าย แรง รวมไปถึงการละเมิดสิทธิในด้านอื่นๆ
บทบัญญัติโดยประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา
ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า
วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งยืนหยัดในความมุ่งมั่นต่อความเคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชนและ กฎหมายทางด้านมนุษยธรรม มีความปรารถนาว่า ตัวรัฐบาลเองสามารถที่จะรับรองได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ไม่เริ่มกลายเป็นดินแดนสรวงสวรรค์ที่ปลอดภัย ต่อผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายทางด้านมนุษยธรรม และผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำการอื่นๆ ที่ส่อไปในทางผิดกฎหมาย ความเคารพในหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนและกฎหมายทางด้านมนุษยธรรมและปกป้อง ความโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างทั่วโลก ช่วยส่งเสริมคุณค่าของประเทศสหรัฐอเมริกา และ ผลประโยชน์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยในเรื่องของการรักษาความสงบสุข, ยับยั้งการล่วงละเมิด, กระชับข้อบังคับทางกฎหมาย และ ต่อสู้กับอาชญากรรมและการคอร์รัปชั่น, สร้างรูปแบบประชาธิปไตยให้มั่นคงแข็งแรง, และป้องกันวิกฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านมนุษยธรรมทั่วทั้งโลก ดังนั้น ข้าพเจ้า มีความหมายมั่นแล้วว่า เป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะต้องปฎิบัติในการควบคุม จำกัดการเดินทางระหว่างประเทศและยกเลิกการเดินทางเข้าสู่ประเทศสหรัฐ อเมริกา, ในฐานะพลเมืองถาวร หรือ พลเมืองชั่วคราว, กับบุคคลบางกลุ่มโดยเฉพาะ ซึ่งได้มีส่วนร่วมต่อการกระทำที่ได้สรุปความในส่วนที่ 1 ของบัญญัติการปกครองฉบับนี้
ดังนั้น ในขณะนี้, ข้าพเจ้า, นายบารัค โอบาม่า, ด้วยอำนาจที่มอบให้กับตัวข้าพเจ้าในฐานะของประธานาธิบดีตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา, รวมไปถึง ส่วนที่ 212(เอฟ) ของกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองและเปลี่ยนแปลงสัญชาติของปี พ.ศ. 2495, ตามที่เพิ่มจาก (บทที่ 8 ของประมวลกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมิรกา ส่วนที่ 1182(เอฟ), และ ส่วนที่ 301 ของบทที่ 3 ของประมวลกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา, ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าได้พบว่า การไม่ควบคุมจำกัดพลเมืองถาวรและพลเมืองชั่วคราวต่อการเดินทางเข้าประเทศ สหรัฐอเมริกา ตามที่กล่าวไว้ในส่วนที่ 1 ของบัญญัติฉบับนี้ จะเป็นผลร้ายอย่างใหญ่หลวงต่อผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ดังนั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงขอบัญญัติไว้ว่า:
ส่วนที่ 1. การเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะพลเมืองถาวรหรือพลเมืองชั่วคราว ของบุคคลประเภทที่จะกล่าวไว้ จะถูกระงับ ด้วยประการฉะนี้:
(เอ) ชาวต่างชาติใดๆ ซึ่งเคยเป็นผู้วางแผน, สั่งการ, ช่วยเหลือ, อนุเคราะห์อุปถัมภ์ และ หนุนหลัง, มอบหมาย หรือ ถ้าไม่อย่างนั้นได้มีส่วนเข้าไปร่วมกระทำการ, รวมไปถึงการได้รับมอบหมายหน้าที่ต่อการกระทำการตามคำสั่ง, กระทำความรุนแรงอย่างกว้างขวางหรือเป็นไปตามระบบกฎเกณฑ์กับประชากรพลเมือง ใดๆ ที่มีฐานแตกต่างกัน, ไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน, ในเรื่องของ ความต่างทางเผ่าพันธุ์; ต่างสีผิว; ต่างเชื้อชาติวงศ์ตระกูล; ต่างเพศ; ต่างในเรื่องของความพิกลพิการไร้ความสามารถ; เป็นสมาชิกต่างกลุ่มของชนพื้นเมืองโดยกำเนิด; ต่างภาษา; ต่างศาสนา; ต่างความเห็นทางการเมือง; ต่างชาติกำเนิด; ต่างเชื้อชาติ; เป็นสมาชิกที่ต่างกับกลุ่มทางสังคมเฉพาะราย; ต่างการเกิด (อายุ); หรือต่างกันในความปรารถนาทางเพศ หรือ ต่างเอกลักษณ์ทางเพศ; หรือเป็นผู้ที่มีความพยายามหรือสมรู้ร่วมคิดที่เคยกระทำการดังกล่าว
(บี) ชาวต่างชาติใดๆ ซึ่งเคยเป็นผู้วางแผน, สั่งการ, ช่วยเหลือ, อนุเคราะห์อุปถัมภ์ และ หนุนหลัง, มอบหมาย หรือ ถ้าไม่อย่างนั้นได้มีส่วนเข้าไปร่วมกระทำการ, รวมไปถึงการได้รับมอบหมายหน้าที่ต่อการกระทำการตามคำสั่ง, ทางอาชญากรรมสงคราม, ทางอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการละเมิดสิทธิอื่นๆ อย่าง้ร้ายแรงทางด้านสิทธิมนุษยชน หรือ หรือเป็นผู้ที่มีความพยายามหรือสมรู้ร่วมคิดที่เคยกระทำการดังกล่าว
ส่วนที่ 2. ส่วนที่ 1 ของบทบัญญัติฉบับนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับผู้หนึ่งผู้ใด ที่ไม่ได้ระบุไว้ในส่วนที่ 1 ได้ เมื่อการเดินทางเข้าของบุคคลเหล่านั้น ไม่ได้เป็นความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อความสัมพันธ์ กับทางต่างประเทศ
ส่วนที่ 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่รัฐมนตรีได้ให้การมอบหมายหน้าที่ ตามดุลพินิจของเขาหรือเธอนั้น จะเป็นผู้ชี้ให้ทราบถึงสถานะของบุคคลที่อยู่ในความครอบคลุมของส่วนที่ 1 ของบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งดำเนินการตามมาตรฐานและขั้นตอนที่ตัวรัฐมนตรีเอง สามารถบัญญัติขึ้นมาได้
ส่วนที่ 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะมีหน้าที่ในการปฎิบัติตามบทบัญญัติ ฉบับนี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ตามที่รัฐมนตรีได้บัญญัติขึ้นมา หลังจากได้ปรึกษากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศแล้ว
ส่วนที่ 5. อย่างไรก็ตาม บุคคลใดๆ ที่ได้ถูกระงับการเข้าประเทศตามบทบัญญัติฉบับนี้ จะถูกปฎิเสธต่อการเดินทางเข้าประเทศ นอกจากว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาและเห็นว่า การเดินทางเข้าประเทศอย่างเฉพาะรายของบุคคลผู้นั้น จะเป็นผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ในการนำเอาอำนาจนี้มาใช้ในทางปฎิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะต้องปรึกษากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ความมั่นคงภายในประเทศก่อน ในเรื่องเกี่ยวกับการอนุมัติหรือการปฎิเสธต่อการเดินทางเข้าประเทศ ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศ
ส่วนที่ 6. ไม่มีส่วนใดในบทบัญญัติฉบับนี้ ที่จะถูกตีความ ให้เกิดเป็นความเสื่อมเสีย จากข้อผูกมัดของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้สนธิสัญญานานาชาติ หรือ เพื่อการยกเลิกการเข้าประเทศในเรื่องของคตินิยม, ความคิดเห็น, หรือความเชื่อของคนต่างชาติแต่เพียงลำพัง หรือในเรื่องของการแสดงความคิดเห็นแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งได้ถูกวินิจฉัยแล้วว่า ได้รับการคุ้มครองภายใต้การตีความของประเทศสหรัฐอเมริกา จากสนธิสัญญานานาชาติซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศในภาคีอยู่ ไม่มีส่วนใดในบทบัญญัติฉบับนี้ที่จะถูกตีความเพื่อที่จะริดรอนอำนาจของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อการอนุมัติหรือปฎิเสธการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาของบุคคลเฉพาะราย ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองและการแปลงสัญชาติ (บทที่ 8 ของประมวลกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนที่ 1101 และส่วนถัดไป) หรือภายใต้บทกำหนดอื่นๆ ของกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา
ส่วนที่ 7. บทบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้มีความมุ่งหมายและไม่ได้ สร้างสิทธิ์หรือผลประโยชน์, เนื้อหาหรือกระบวนการใดๆ ที่บังคับใช้ตามกฎหมายหรือโดยความเสมอภาคโดยกลุ่มคณะใดๆ ต่อประเทศสหรัฐอเมริกา, รวมไปถึง กระทรวงทบวงกรม, หน่วยงาน หรือ องค์กรนิติบุคคล หรือ ผู้ปฎิบัติงาน, พนักงานของรัฐ หรือ เจ้าหน้าที่หรือ บุคคลอื่นๆ ของประเทศ
ส่วนที่ 8. บทบัญญัติฉบับนี้ มีผลนำไปใช้ต่อการปฎิบัติได้โดยทันทีและจะมีผลบังคับใช้อยู่จนกระทั่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เห็นควรแล้วว่า มันไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปและควรที่จะสิ้นสุดลงเสีย ซึ่งอาจจะเป็นในบทบัญญัติทั้งหมดหรือเป็นแต่เพียงบางส่วน ในการสิ้นสุดการปฎิบัตินั้น จะเป็นผลได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศพิมพ์อยู่ในทะเบียนกลางของทางรัฐบาล เรียบร้อยแล้ว
ข้าพเจ้าขอลงนาม ต่อการเป็นพยาน ณ สถานที่แห่งนี้ ในวันที่ สี่ ของเดือน สิงหาคม ในปี สองพันสิบเอ็ดขององค์พระผู้เป็นเจ้า และเป็นปีที่สองร้อยสามสิบหกในการประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา
ลงนาม: บารัค โอบาม่า
ความเห็นของผู้แปล:
บุคคล หรือกลุ่มที่เข้าข่ายกับกฎหมายฉบับนี้ ก็คือกลุ่มล่าแม่มดทาง Facebook เพราะเข้าข่ายกับบุคคลในส่วนที่ 1 ของกฎหมายค่ะ เขียนไปให้กับสถานฑูตฯ ให้เป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีดำก็ได้
Update: คุณบังสุกุล เสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์มากค่ะ (อยู่ข้างล่างค่ะ) เพราะกฎหมายใช้บังคับย้อนหลังไม่ได้ ต้องเป็นหลังวันที่ 4 สิงหาคมเป็นตันไป ดังนั้น พวกกลุ่มล่าแม่มด ซึ่งยังกระทำอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึง ท่านผู้บริหารฝ่ายรัฐบาล ที่กล่าวออกมาว่า จะทำการไล่ล่าชาวบ้านน่ะ พูดกันเมื่อไม่กี่วันมานี่เอง (ก็เป็นหลังจากวันที่ 4 นะคะ เพราะวันนี้เป็นวันที่ 28 สิงหาคมแล้ว) เผลอๆ บุคคลที่พูดไว้หลายท่าน อาจจะต้องแก้ไขหน่อยก็แล้วกันว่า จะต้องพูดแบบใด ไม่อย่างนั้น ก็จะขึ้นอยู่บนบัญชีดำของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้นะคะ
แต่ในรูปการเขียนเกี่ยวกับการกระทำ ส่วนที่ 1 ใช้ past tense (ไวยากรณ์ในรูปอดีตกาล) ทั้งหมดในเรื่องการกระทำดังกล่าว (Any alien who planned, ordered, assisted, aided and abetted, committed or otherwise participated in,) ดังนั้น ดิฉันจึงใช้คำว่า "เคยกระทำ"ใน การแปล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การกระทำเหล่านั้น ได้เกิดขึ้นในอดีต "ก่อน" วันที่ 4 สิงหาคม 2554 อันนี้ อยู่ที่การตีความของท่านผู้อ่านเองก็แล้วกันว่าคิดอย่างไร
ในทาง Common Law นั้น ถ้าบุคคลที่เคยกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบนี้มาก่อนวันที่ 4 สิงหาคม 2554 จะเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้หรือเปล่า? ส่วนที่ 1 ของกฎหมายก็คงจะตอบไว้แล้ว นอกจากจะเอา ส่วนที่ 5 เข้ามาประกอบเป็นในการพิจารณาคดีเป็นเฉพาะรายไป
ดวงจำปา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น