หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การ แทรกแซงทางการเมืองของกษัตริย์ภูมิพลนั้นมีมาโดยตลอด แต่พวกองคมนตรีที่เป็นลิ้วล้อมักจะปกปิดและบิดเบือนสร้างภาพหลอกลวงประชาชน ชาวไทยมาตลอดเวลา จะเห็นได้จากโทรเลขของ วิกิลีกค์ ที "ดวงจำปา" นำมาเปิดเผย

แปลโดย: ดวงจำปา

ต่อ เนื่องจากซีรี่ย์ของ PPT ในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับเคเบิ้ลของวิกิลีกค์, เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ “สกิ๊พ” บอยซ์ ได้รายงานในเคเบิ้ลฉบับหนึ่งของ การสนทนาระหว่างตัวเขากับเจ้าหน้าที่ในสำนักพระราชวัง – ราชเลขาธิการในพระองค์ นายอาสา สารสิน และผู้ช่วยของเขา คือ นายเตช บุนนาค - ในความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการแทรกแซงทางการเมือง ในเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2549 (เคเบิ้ลลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2549), มันคือสิ่งที่เราคิดว่า เป็นการเปิดเผยให้เห็นถึงการเข้าไปยุ่งโดยทางฝ่ายวัง, การเคลื่อนไหวของฝ่ายองค์มนตรีและ การกระทำอย่างไม่เหมาะไม่ควรอีกหลายระดับ.

สิ่งที่เหมาะสมเป็นอย่างดีต่อการเริ่มต้นของเคเบิ้ลฉบับนี้ ก็คือ การสรุปขั้นต้นของเอกอัครราชฑูตบอยซ์และความคิดเห็นในตอนท้ายของเขา:

ในการสรุปของเอกอัครราชฑูตบอยซ์นั้น, เขาได้บันทึกไว้ว่า “ทางฝ่ายวังได้พยายามที่จะลบล้างความเกรี้ยวกราด ซึ่งเกิดจากการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เมื่อคืนวันอาทิตย์ ซึ่งเกี่ยวกับ การแทรกแซงขององค์พระมหากษัตริย์ ตามมาด้วยความรุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากการประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในปี พ.ศ. 2535.”

ในความคิดเห็นของเขานั้น, เขาได้กล่าวว่า: “ย่อหน้าที่ 7 ส่วน ซี.... เราได้มีความงุนงงเป็นอันมากต่อความง่ายดายซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน ที่บุคคลสองคน ซึ่งใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ กำลังสนุกสนานบันเทิงใจกับความคิดที่ว่า จะให้ทางฝ่ายวังนั้น นำเอามาตรา 7 มาใช้ในการแทรกแซง ซึ่งเป็นเรื่องที่ทางวังเอง ได้สงวนท่าทีอย่างที่สุดต่อการที่จะนำเรื่องนี้มาพูดคุยกันแต่ก่อนหน้านี้ แล้ว เรากลับมาด้วยความฝังใจที่ว่า, ถ้าการเลือกตั้ง (ต้นปี พ.ศ. 2549 - ผู้แปล) ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก ไม่สามารถหาจำนวนผู้สมัคร ได้พอถึงเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ (ตามข้ออ้างอิง บี) หรือจากเหตุผลอื่นๆ ใดๆ ก็ตาม, ดังนั้น เรื่องนี้ก็เป็นที่ยอมรับได้ ที่จะเปิดทางให้องค์พระมหากษัตริย์นั้น ได้ทรงใช้อำนาจทางรัฐธรรมนูญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์... การแทรกแซงโดยฝ่ายวังนั้น อาจจะเกิดขึ้นได้, แต่มันยังไม่ถึงเวลาในตอนนี้....”

ความคิดเห็นอื่นๆ :

ในการเบี่ยงเบนข้อเท็จจริง: “นายอาสาได้ยอมรับว่า การออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เมื่อคืนวันอาทิตย์ ในภาพยนต์สารคดีที่โดดเด่นของการที่องค์พระมหากษัตริย์ได้ทรงเข้ามาแทรกแซง ทางการเมือง หลังจาก การแสดงการเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้กระตุ้นให้เกิดทฤษฎีสมรู้ร่วมคิดกัน (อ้างอิง ฉบับ A). นายอาสาได้อ้างว่า ตัวองค์พระมหากษัตริย์เอง ทรงมีพระประสงค์ให้นำเอาภาพยนต์เรื่องนั้นมาออกอากาศ เพื่อเน้นให้เห็นถึงความต้องการความสงบและการปรองดอง..” ดังนั้น องค์พระมหากษัตริย์ก็ได้ทรงเสนอแนะความคิดนี้ขึ้นมาและทรงมีความประสงค์ให้ เกิดขึ้นด้วย “นายอาสา... ก็ต้องกุลีกุจอ เพื่อที่จะต้องสร้างแถลงการณ์ว่า เพื่อจะให้ทางฝ่ายวังนั้น ให้ไปอยู่นอกสายตาจากเรื่องทั้งหมดนี้ อย่างแรกที่เขาได้กระทำก็คือ, พวกเขาได้ออกแถลงการณ์ โดยกล่าวว่า ทางฝ่ายวังนั้นไม่ได้มีส่วนรู้เห็นแต่ประการใดกับการออกอากาศเมื่อคืนวัน อาทิตย์ ” เขาได้โกหกกับสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป ในความพยายามที่จะปิดบังซ่อนเร้นการกระทำของเขา เมื่อรู้ตัวว่า ความกำลังจะแตกอย่างเห็นได้ชัด (ประชาชนจับได้), ดังนั้น นายอาสาก็ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่สองตามมา ในเวลาติดๆ กัน. แถลงการณ์ฉบับนั้นได้ระบุว่า ภาพยนต์นั้น เป็น “ข่าวทางสาธารณะ” และสถานีโทรทัศน์สามารถออกอากาสได้ตามความประสงค์ของสถานีเอง โดยมีเงื่อนไขว่า ทางสถานีนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำหน้าที่นี้อย่างดีที่สุด ดังนั้น นายอาสาก็ยังพยายามที่จะคลี่คลายฝ่ายวังออกมาจากมรสุมทางการเมือง” เขาได้โกหกถึงสองครั้ง

ในเรื่องการขอร้องให้มีการแทรกแซงเกิดขึ้น: “นายอาสาได้พรรณาว่า ทั้งสองฝ่ายนั้น ‘ไม่ยอมประนีประนอมกัน’ ทั้งสองฝ่ายต้องการดึงองค์พระมหากษัตริย์ลงมาสู่เวทีทางการเมือง นายอาสากล่าวว่า องค์พระมหากษัตริย์ยังไม่ทรงพร้อมที่จะกระทำการ ในตอนนี้... นายอาสากล่าวว่า ถ้านายกรัฐมนตรี (ทักษิณ) และคณะรัฐมนตรีของเขา ไม่สามารถที่จะปฎิบัติหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินได้, ฉะนั้น ก็อาจจะมีอ้างใช้เหตุผล ในการที่จะให้พระมหากษัตริย์ทรงเข้ามา ‘แทรกแซง’ ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาตรา 7 เพื่อแก้ไขยุติข้อขัดแย้งทั้งหมดนี้

ในเรื่องระหว่างพระมหากษัตริย์และนายกทักษิณ: “ความสัมพันธ์ระหว่างองค์พระมหากษัตริย์กับนายกทักษิณนั้น มีความเป็นไปอย่าง ‘ปรกติดี’ นายกรัฐมนตรีสามารถเข้าเฝ้าฯ องค์พระมหากษัตริย์ได้ทุกเวลา เมื่อเขาต้องการที่จะพบกับพระองค์. อย่างไรก็ตาม เมื่อล่าสุดนี้, องค์พระมหากษัตริย์ ทรงเพียงแต่เป็น ‘ผู้รับฟังเท่านั้น’ พระองค์ไม่ได้ทรงตรัสอะไร เนื่องจากว่า ‘พระองค์ทรงเกรงว่า นายกทักษิณจะ กล่าวอ้างถึงพระองค์” เขายังเพิ่มต่อไปว่า “โดยทั่วไปแล้ว นายกทักษิณ เป็นบุคคลที่ไม่เคารพนบนอบผู้ใดเลย ที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเขา”

ในเรื่องของคณะองคมนตรี: นายเตช บุนนาค “ได้ชี้ให้เห็นว่า ทางฝ่ายสื่อมวลชนได้รายงานการประชุมของคณะองคมนตรีเมื่อวานนี้ ‘องคมนตรีคนหนึ่ง’ ได้แอบเอาข่าวไปปล่อยว่า คณะองคมนตรีได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งนำไปถึงการคาดคะเนให้เกิดน้ำหนักมากขึ้นว่า ทางฝ่ายวังนั้น กำลังพิจารณาถึงการแทรกแซงอยู่ นายเตชได้เน้นว่า เรื่องนี้ เป็นเพียงการประชุมอย่างธรรมดาตามกำหนดการที่มีอยู่ และไม่ได้มีความหมายว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในการวางตัวของทางฝ่ายวัง” เมื่อเอกอัครราชฑูตบอยซ์ ได้ถามว่า “ทางประชาชนทั่วไปจะมีทัศนคติแท้จริงเป็นอย่างไร ถ้ามีการการแทรกแซงโดยองค์พระมหากษัตริย์ได้เกิดขึ้น" นายเตชเห็นพ้องว่า ถึงแม้ว่า ความนิยมชมชอบของนายกทักษิณจะอยู่ในถิ่นชนบท ถ้าองค์พระมหากษัตริย์ ทรงมีความเห็นว่า ถึงคราวแล้ว ที่ควรถอดถอนเขา (นายกทักษิณ) ออกจากตำแหน่ง เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ประชาชนสามารถยอมรับกันได้”

เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่า, การแทรกแซงขององค์พระมหากษัตริย์ในการขัดแย้งทางการเมืองในสมัยหนึ่งนั้น เป็นทางเลือกซึ่งสามารถมานำเข้ามาวางอยู่บนโต๊ะเจรจาและพิจารณากันอย่างจริง จัง และก็เป็นที่เห็นกันอยู่แล้วว่า, มันได้ถูกนำมาใช้ในเดือนถัดมาจริงๆ





ความเห็นของผู้แปล :

เค เบิ้ลฉบับนี้ ได้แสดงให้ถึงบทบาทของผู้ที่ทำงานอยู่กับฝ่ายวัง เป็นตัวตั้งตัวตีในการดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาเล่นกับการเมือง

ตามปรกติแล้ว การเขียนทางการฑูตนั้น จะไม่ใช้คำว่า "โกหก" ถ้าตัวผู้เขียนไม่มั่นใจจริงๆ แต่เอกอัครราชฑูตบอยซ์ได้ระบุไว้เลยว่า นายอาสาร สารสิน ได้ "โกหก" กับประชาชนชาวไทย ถึงสองหนด้วยกัน ขนาดตัวฑูตเองยังรับรู้ในเรื่องนี้ เขาก็คงทราบว่า บุคคลคนนี้ มีเล่ห์กลอีกขนาดไหน ต่อการสืบหาข้อมูลของเขา

ดิฉันไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ. 2535 และ ปี พ.ศ. 2549 ที่กล่าวว่า มีการนำเทปของปี พ.ศ. 2535 มาออกอากาศทางโทรทัศน์ เมื่อตอนต้นปี พ.ศ. 2549 ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะจำกันได้ว่า อะไรเกิดขึ้นในคืนวันนั้นนะคะ

ดิฉันคิดว่า บุคคลทั้งสองนี้ (นายอาสา สารสิน และ นายเตช บุนนาค) อาจจะถึงกับเป็นผู้เสนอความคิดเห็นต่างๆ ให้นำวิธีการ "ล้มกระดาน" เข้ามาใช้ต่อการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

พูดถึงนายเตช บุนนาคนั้น ดิฉันแปลกใจเป็นอย่างยิ่งที่ คุณสมัคร สุนทรเวช ได้นำเอาบุคคลคนนี้ เข้ามาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งๆ ที่รู้อยู่เต็มอกว่า เขามีประวัติเบื้องหลังมาอย่างไร

อำนาจเถื่อนๆ เหล่านี้ เป็นตัวถ่วงความเจริญของประเทศชาติ ไม่ว่าเราจะเลือกบุคคลที่ดีขนาดไหน เข้ามาบริหารประเทศ ถ้าเป็นบุคคลที่เขาไม่ชื่นชอบ ก็มีการเริ่ม "วางหมาก" เพื่อจะกำจัดบุคคลเหล่านั้นออกไป

บุคคลเหล่านี้ กระทำตัวไม่ผิดกับกลุ่มอำมาตย์ เมื่อสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ซึ่งนำมาสู่การปฎิวัติของประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นไม่นานนัก บุคคลชั้นสูงของประเทศฝรั่งเศสหลายคนได้ถูก กิโยติน บั่นคอ รวมทั้ง พระนางมารี แอนโตเนท ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคสมัยการปกครองระบบราชาธิปไตยของประเทศนั้น

_________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น