หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

 
คดี “ดา” สังคมไทยถอยหลังอีกก้าว เสื้อแดงต้องชัดว่าจะสู้อย่างไร
ใจ อึ๊งภากรณ์

ประเทศ ไทยในปัจจุบันถือได้ว่ามีมาตรฐานเสรีภาพพอๆกับเผด็จการสตาลินิสต์เกาหลี เหนือ เพราะเพียงแต่การพูดอะไรที่ไม่ถูกหูชนชั้นปกครองก็จะโดนจำคุก 18 ปีได้ กรณีของคุณ ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ 'ดา ตอร์ปิโด' เป็นอีกกรณีที่เปิดโปงความป่าเถื่อนของระบบการปกครองและระบบศาลของไทยภายใต้ อำมาตย์ การใช้กฎหมายความมั่นคงเพื่อปราบปรามการชุมนุมอย่างสันติ และการที่นายกแต่งตั้งที่จอมโกหกชักชวนให้ทหารฆ่าประชาชน ล้วนแต่ชี้ให้เห็นว่าพวกเสื้อเหลืองพาสังคมไทยถอยหลังไปกว่าห้าสิบปี ยิ่งกว่านั้นการนิ่งเฉยเงียบสนิทของคนที่อ้างตัวว่าเป็นนักสิทธิมนุษยชน นักเอ็นจีโอ นักข่าว หรือนักวิชาการในไทย ก็เป็นสิ่งที่ควรสร้างความละอายใจอย่างยิ่ง

     คุณ ดา เป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรง ไม่ได้ฆ่าใคร ไม่ได้ทำลายทรัพย์สินใคร ไม่ได้ทำลายประชาธิปไตยหรือเสรีภาพผู้อื่น เพียงแต่แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาบ้านเมือง เลยติดคุก 18 ปี ในขณะที่โจรปล้นเสรีภาพ ที่นำปืนและอาวุธมาขู่และฆ่าประชาชน ยังลอยนวล มีตำแหน่งและร่ำรวย ในประเทศไทยอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุดในสายตาพวกอำมาตย์ คือการคิดเองเป็นและการแสดงออกรวมถึงการยืนขึ้นเป็นมนุษย์ เขาต้องการให้เราปัญญาอ่อนไปทั้งชาติ ผู้นำว่ายังไงก็ต้องคล้อยตาม ผู้นำตดก็ตดตาม ผู้นำขี้เหม็นก็บอกว่าขี้หอม เขาอยากให้เราเป็นอะไรที่ต่ำกว่ามนุษย์ ให้เรามอบคลานต่อคนเลวทรามที่บังอาจสั่งสอนเรา “ให้เป็นคนดี” ปัญหาของสังคมไทยแต่ไหนแต่ไรคือผู้ปกครองมันเลว แต่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนดี

     สิทธิ เสรีภาพและประชาธิปไตยไม่ใช่มะม่วงสุกที่จะล่นตกลงมาในมือเราเอง เราต้องร่วมกันสู้และร่วมกันเสียสละ เราทอดทิ้งกันไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่รักสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย และผู้ที่ยังต้องการปกป้องศักดิ์ศรีแห่งความเป็นคน จะต้องไม่หยุดรณรงค์เพื่อคนอย่างคุณดา หรือคุณสุวิชา หรือคนอื่นๆ ที่ติดคุกอยู่ เราต้องรณรงค์ให้ยกเลิกกฎหมายหมิ่น และต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้

“ความขัดแย้ง” ในแกนนำเสื้อแดงคือโอกาสในการร่วมกันคิดหาทางออก
ผม เข้าใจความรู้สึกของคนเสื้อแดงที่ไม่สบายใจเมื่อเห็นแกนนำเสื้อแดงเถียงและ วิจารณ์กัน แต่ความรู้สึกนั้นผิดพลาด การที่แกนนำเสื้อแดงเถียงกันตอนนี้มีรากฐานมาจากแนวความคิดทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวหรือความไร้น้ำยาของใคร มันสะท้อนวิกฤตในสังคมไทยที่เราต้องร่วมกันแก้ และมันสะท้อนความยากลำบากในการแก้ ผมอยากชักชวนให้เราชาวเสื้อแดงมองว่าการถกเถียงเรื่องแนวทางการต่อสู้เป็นเรื่องดี ไม่ใช่ข้อเสียแต่อย่างใด เพราะมันบังคับให้พวกเราคิดตามประเด็นถกเถียง ผมอยากให้เสื้อแดงทุกคนมีส่วนร่วมในการถกเถียงนี้ ขบวนการเสื้อแดงเป็นขบวนการประชาธิปไตยของมวลชนชั้นล่างที่ถูกกดขี่มานาน ขบวนการประชาธิปไตยในทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศ ย่อมเต็มไปด้วยการถกเถียง และนี่คือจุดแข็งจุดเด่น เราไม่เหมือนเสื้อเหลืองที่ขัดแย้งกันเรื่องการกอบโกยหรือเรื่องอำนาจที่จะ กอบโกย ไม่ว่าจะเป็นทหารชั้นผู้ใหญ่ คนในแวดวงเบื้องสูง อภิสิทธิ์ เนวิน สุเทพ หรือผู้นำพันธมิตรฯ พวกนี้เป็นเหลืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์พิเศษของเขาแต่แรก เขาเลยทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์เสมอ เสื้อแดงไม่ใช่เทวดา แต่ประเด็นผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ใช่ประเด็นหลักในขณะนี้

     คน เสื้อแดงเข้าใจดีว่าปัจจุบันอำมาตย์ครองเมือง ผมอยากให้มองว่าอำมาตย์ดังกล่าวไม่ใช่บุคคลยิบมือเดียว ไม่ใช่สถาบันเดียว แต่เป็นพวกทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง องค์มนตรีและขุนนาง รวมถึงเศรษฐีนักการเมืองเหลือง อำนาจของพวกนี้ทั้งกลุ่มฝังลึกอยู่ ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ทหาร เพราะมีเครื่องมือในการใช้ความรุนแรงเพื่อเผด็จการ แต่พวกนี้ใช้สถาบันเบื้องสูงเพื่อพยายามสร้างความชอบธรรมด้วย อำมาตย์ในทุกที่ทั่วโลกต้องมีอาวุธสองชนิดคือปืนกับการสร้างความชอบธรรม เขาจะคุมทหาร ตำรวจ ศาล คุก และเขาจะคุมสื่อ โรงเรียน และปิดกั้นความคิด

     ขบวน การเสื้อแดงเติบโตจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ของคนจำนวนมากหลัง ๑๙ กันยา ในช่วงแรกๆ เราไม่ต้องคิดอะไรหนักเพราะเรามองว่าเรามีมวลชนและมีความชอบธรรม แต่หลังเมษาเลือดเราเริ่มเห็นชัดว่าเราเผชิญหน้ากับอำนาจที่แข็งแกร่ง แค่ เดินขบวนและชุมนุมไม่พอ พันธมิตรฯมันเดินขบวนและมีผลเพราะมันใช้ความรุนแรงและมีทหารและคนชั้นสูง หนุนหลัง มันไม่ได้ชนกับอำนาจอำมาตย์ เราเรียนรู้ว่าแค่ชนะการเลือกตั้งหลายรอบก็ไม่พออีกด้วย นี่คือที่มาของการถกเถียงในหมู่แกนนำเสื้อแดงปัจจุบัน และผมมั่นใจว่าในหมู่คนเสื้อแดงรากหญ้ามีการเถียงกันในทำนองเดียวกัน การถกเถียงนี้จะช่วยให้เราชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางต่อสู้ และถ้าเราวิเคราะห์ออก เราจะชัดเจนว่าเราสามารถสามัคคีกันตรงไหนได้ และมองต่างมุมในส่วนไหน โดยไม่ทำให้ขบวนการประชาธิปไตยอ่อนแอ

     ถ้า จะสรุปเหมารวม การถกเถียงครั้งนี้เป็นการถกเถียงระหว่างสองฝ่าย ในแต่ละฝ่ายก็ไม่ใช่ว่าคนจะคิดเหมือนกันหมด แต่เราสามารถจัดเป็นสองกลุ่มได้คือ (1) กลุ่มแกนนำ สามเกลอและทักษิณ เป็นกลุ่มที่อยากจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป พร้อมจะหาทางประนีประนอมเพื่อได้ประชาธิปไตยกลับมา โดยไม่ต้องปะทะมากเกินไป แนวนี้คือแนวปฏิรูป ส่วนกลุ่มที่ (2) ประกอบไปด้วยจักรภพและสุรชัย ที่มองว่าประชาธิปไตยแท้จะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าไม่สู้แบบปะทะอย่างตรงไปตรงมา นี่คือแนวปฏิวัติ ผมเองก็สนับสนุนแนวคิดกว้างๆ ของกลุ่มที่สองนี้ด้วย

     ผม ไม่อยากจะเอาคำพูดไปยัดปากใครหรือความคิดไปยัดใส่หัวใคร ทุกท่านต้องอ่านและฟังสิ่งที่เจ้าตัวพูดเอง ไม่ใช่ไปสรุปแทนหรือบิดเบือนอย่างที่มีคนทำกับผมบ่อยๆ แต่ถ้าจะสรุปคร่าวๆ สองแนวนี้คือทางเลือกระหว่างการค่อยๆปฏิรูปและประนีประนอม กับการปฏิวัติเพื่อสร้างสังคมใหม่ ในขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่าแนวทางของตนเองเป็นแนวที่ดีที่สุดที่จะนำสังคม ไปสู่ประชาธิปไตย ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวดูเอาเอง แต่จุดร่วมอันสำคัญคือทั้งสองฝ่ายมองว่าจะต้องหาทางข้ามปัญหาอำนาจที่แข็ง แกร่งของอำมาตย์ให้ได้

     กลุ่ม ปฏิรูปประนีประนอมมีข้อดีตรงที่พยายามจะหาทางสันติที่ไม่ปะทะตรงๆ ไม่เสียเลือดเนื้อมากเกินไป และไม่พยายามทำในสิ่งที่ดูใหญ่โตและยาก แต่ข้อเสียคือมันจะนำไปสู่ประชาธิปไตยจริงได้หรือ? หรือจะนำไปสู่การยอมจำนนในที่สุด? การถวายฎีกามีข้อเสียตรงที่ไปมอบอำนาจให้กับประมุขในลักษณะเหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะส่งเสริมอำนาจอำมาตย์ ในด้านความคิดการถวายฎีกาอาจช่วยเปิดโปงความจริงบางอย่าง แต่ในมุมกลับอาจไม่เปิดโปงอะไรใหม่และอาจนำพาคนไปจงรักภักดีกับอำมาตย์ก็ได้

     กลุ่ม ปฏิวัติ ไม่ใช่กลุ่มปฏิวัติทุนนิยมเพื่อสังคมนิยม แต่เป็นกลุ่มที่อยากสู้อย่างถึงที่สุดกับอำนาจเผด็จการ และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล่น กลุ่มนี้มองว่าการประนีประนอมกับอำมาตย์จะไม่กำจัดอำนาจเผด็จการซึ่งจะ รื้อฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ตลอด ผมไม่อยากพูดแทนคนอื่น และคนอื่นคงมองต่างมุมกับผม ดังนั้นผมจะให้ข้อสังเกตของตนเองเท่านั้นคือ ผมเชื่อว่าเราสร้างประชาธิปไตยแบบที่มีประมุขในรูปแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นคงทำ ไม่ได้แล้วในไทย เพราะพวกทหารและกลุ่มอื่นจะดึงประมุขมาเป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตย เสมอ การเขียนรัฐธรรมนูญก็ไม่ช่วยเพราะทหารฉีกและละเมิดรัฐธรรมนูญเป็นสันดาล ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน ต้องลดอำนาจและงบประมาณกองทัพ ต้องปฏิรูปศาลให้หมด ต้องมีระบบลูกขุนประชาชน ต้องปฏิรูปตำรวจ ต้องสร้างสื่อมวลชนของประชาชนแทนสื่อปัจจุบัน และต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา ทุกตำแหน่งสาธารณะต้องมาจากการเลือกตั้ง และต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพราะการแก้นิดๆหน่อยๆ จุดเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จ

     ท่าม กลางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ที่เราต้องการนี้ ผมเองหวังอย่างยิ่งว่าประชาชนจำนวนมากจะเริ่มเข้าใจว่าแค่ประชาธิปไตยรัฐสภา ไม่พอ เราต้องมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจด้วย ประชาชนต้องมีอำนาจในการกำหนดทิศทางการผลิตและการลงทุน ซึ่งแปลว่าต้องยกเลิกทุนนิยมและนำระบบสังคมนิยมมาใช้ (ซึ่งจะแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่มีในลาว เกาหลีเหนือ คิวบา หรือจีน) ในย่อหน้านี้ผมอาจมองต่างมุมหรือมองเหมือนกับคนอื่นในกลุ่มปฏิวัติก็ได้ ผมไม่ทราบ ต้องรอให้เขาอธิบายเอง

     ผม ต้องยอมรับว่าสิ่งที่เราในกลุ่มปฏิวัติกำลังเสนอ เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลา และที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้พลังมวลชน บทสรุปสำคัญจาก ๑๔ ตุลา และพฤษภา ๓๕ คือการเปลี่ยนสังคมต้องมาจากกระแสมวลชน ไม่ใช่จากคนกลุ่มเล็กๆ ไม่ว่าคนกลุ่มนั้นจะติดอาวุธหรือไม่ แต่ถ้าคิดดูให้ดี สภาพสังคมไทยตอนนี้น่าจะสอนให้เราทราบว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็น เรื่องใหญ่อยู่แล้ว ผมไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านพอใจกับประชาธิปไตยครึ่งใบหรือไม่ แต่ผมไม่พอใจ

     แนว ปฏิวัติเสี่ยงกับการถูกปราบ และคนที่เสี่ยงที่สุดคือคนในประเทศ(ไม่ใช่ผม) แต่แนวปฏิรูปเสี่ยงกับการยอมจำนนต่ออำมาตย์ เลือกเอาเองครับเพื่อนเสื้อแดงทั้งหลาย

     พวก เราถึงทางแยกสำคัญที่บังคับให้เราต้องคิดหนัก เราไม่ควรเงียบ หรือเอาหัวไปมุดดิน เราควรจะพูดและคิด ควรจะถกเถียงอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด แต่อย่าลืมขยันสร้างความสามัคคีด้วยในเรื่องที่ทำได้ อย่าลืมว่าศัตรูหลักคือพวกอำมาตย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น