หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

อ้างอิง: http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com/2011/09/20/wikileaks-abhisit-welcomes-the-coup/
บทความโพสต์เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

แปลโดย: ดวงจำปา

ห้าปีให้หลังจากการก่อการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549,เคเบิ้ลของวิกิลีกค์ ลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งแสดงให้เห็นโดยพรรคประชาธิปัตย์ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดูเหมือนว่่า มีคุณค่าต่อความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะในเนื้อหาของมันที่ เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ บอยซ์ ได้รายงานเกี่ยวกับการประชุมที่เขาได้พบกับนายอภิสิทธิ์ ที่สำนักงานใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อคุยสนทนาในเรื่องของการเมืองและการก่อการรัฐประหาร

นาย อภิสิทธิ์ได้เริ่มขึ้นโดยการกล่าวยกย่องความมั่นใจใน “บุคลิกภาพ” ของหัวหน้าผู้ก่อการรัฐประหาร นั่นก็คือ พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน โดยกล่าวว่า เขา “มี่ความมั่นใจว่า พลเอกสนธินั้น ไม่ได้ก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อที่จะนำให้ตัวเขาเองนั้น ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่มีอำนาจได้”

นาย อภิสิทธิ์ได้อ้างว่า เขาเองนั้น “มีความวิตกกังวลมากกว่า กับกลุ่มที่มีความจงรักภักดีกับนายกฯ ทักษิณนั้น จะพยายามที่จะกลับหวนคืนเข้ามาสู่ชีวิตทางการเมืองอีก...” เขาเชื่อว่า การกระทำต่างๆ ของ ผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อนายกฯ ทักษิณ (ชินวัตร) นั้น จะ “นำความยุ่งยากมาให้กับ คณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (คปค) เพื่อที่จะฟื้นฟูเสรีภาพของประชาชนกลับมาได้อย่างเต็มภาคภูมิ” เขายังอ้างต่ออีกว่า ภรรยาของนายกฯ ทักษิณนั้น มีเงินสดอยู่กับเธอพร้อมแล้ว และ กลุ่มผู้จงรักภักดีต่อนายกฯ ทักษิณนั้น ได้ทำการเผาโรงเรียนหลายแห่งเมื่อสองสามวันก่อนหน้านี้

นายอภิสิทธิ์ ก็ยังต้องการให้ รัฐบาลเผด็จการทหารนั้น “ได้ดำเนินการฟ้องร้องตัวบุคคลที่ก่อการทุจริตคอรัปชั่นเมื่อสมัยรัฐบาล นายกฯ ทักษิณเป็นผู้นำของประเทศ เพื่อที่จะนำให้สถานการณ์เข้าไปสู่ความสงบอย่างพอเพียง ต่อการอนุญาติให้ฟื้นฟูเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มภาคภูมิ” เขาได้ถามว่า รัฐบาลของประเทศสหรัฐอเมริกาให้ช่วยจัดส่ง “ข้อมูลกับ คปค มากขึ้นกว่าเก่าในเรื่องของความน่าสงสัยที่อาจจะได้เกิดขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับ การซื้ออุปกรณ์จากบริษัท เจนเนอรัล อิเล็กตรีค เกี่ยวกับ อุปกรณ์ตรวจค้นวัตถุระเบิด CTX”

นายอภิสิทธิ์ยังได้พรรณาต่อไปแบบ “ลุยแหลก” ในเรื่องของความเป็นไปได้ที่ “องคมนตรีพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์นั้น อาจจะได้ถูกเสนอตัวให้เป็นผู้ทีถูกคัดเลือกอย่างเหมาะสมที่สุดต่อตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีชั่วคราว....” ถึงแม้ว่า เขาก็ชอบอีกหลายๆ คนด้วย รวมไปถึง อีกหลายๆ คนในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีความสามารถอย่างเก่งกล้า

ดู เหมือนกับว่า ตัวเอกอัครราชฑูตและนายอภิสิทธิ์นั้น ได้มีความเห็นพ้องต้องกันในเรื่อง ของ“ความสำคัญที่ คปค ได้ทำการเปลี่ยนผ่านอำนาจมาสู่รัฐบาลที่นำโดยฝ่ายพลเรือนอย่างเร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ และในการกระทำเช่นนี้ ก็เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับสังคมนานาชาติที่ว่า สมาชิกในกลุ่มของ คปค เอง ไม่มีความตั้งใจที่จะคงเรืองอยู่ในอำนาจ” ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ได้ชักตัวพลเอกสุรยุทธขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งที่สนับสนุนโดยฝ่ายเผด็จการทหาร นั่นเอง

ปัญหาหนักเรื่องหนึ่งที่เป็นที่วิตกกังวลของนายอภิสิทธิ์ก็ คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า พรรคไทยรักไทยที่ถูกขับไล่ออกไปนั้น อาจจะยังคงมีอำนาจอยู่ในทางการเมือง และเขาก็ห่วงว่า “พรรคไทยรักไทยจะชักจูงให้มีการใช้การลงประชามติในรัฐธรรมนูญฉบับหน้า เพื่อพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงการทำคะแนนนิยมด้วยการคัดค้านต่อการทำรัฐ ประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน เพื่อการฟื้นกลับคืนเข้ามาสู่แรงผลักดันทางการเมืองอีก....”

นาย อภิสิทธิ์ดูเหมือนมีความรู้สึกว่า พรรคของเขานั้นได้เริ่มตีคะแนนสร้างความนิยมให้ขึ้นมาเทียบกับพรรคไทย โดยอ้างว่า ได้มี ‘การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่’ ในทัศนคติของทางฝ่ายสาธาณะชนที่มีต่อพรรคประชาธิปัตย์ โดยการเพิ่มพูนต่อความเห็นที่ว่า มีนโยบายและความคิดที่มีความหมายสำคัญต่อประชาชน รวมไปถึงการเอาใจใส่ดูแลคนยากคนจน และ ตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างทันท่วงที” เขาก็ยังกล่าวอ้างต่อไปว่า พรรคของเขานั้นจะทำคะแนนนิยม ขึ้นมาในทางภาคเหนือและภาคกลาง และอาจจะถึงกับแบ่งครึ่งในคะแนนเสียงของทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย เวปของ PPT เองก็ยังสงสัยอยู่ว่า เขามี่ความคิดเห็นอย่างแน่ชัดเแบบนี้หรือเปล่าในปี พ.ศ. 2554?

เอกอัครราชฑูตได้แสดงความคิดเห็นต่อไปว่า:

นาย อภิสิทธิ์เองก็ดูเหมือนกับประชาชนในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ซึ่งเห็นว่า การกระทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายนนั้น เป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการกำจัดนายกฯ ทักษิณออกไปนอกประเทศ เขาดูเหมือนกับว่าไม่ได้มีปัญหาความยุ่งยากใจอย่างเฉพาะเจาะจงในการควบคุม จำกัดต่อสถานการณ์ในเรื่องเสรีภาพของพลเมืองและกิจกรรมของพรรคการเมืองในขณะ นี้ แต่เขาก็หวังอย่างเห็นได้ชัดว่า เรื่องเหล่านี้ ควรที่จะมีการผ่อนผันลงมาในอนาคตอันใกล้นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้า คปค เอง มีความสามารถจัดการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีชั่วคราวเสียก่อน ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ในเรื่องความมั่นคงของประเทศ และสามารถจำกัดอิทธิพลที่ยังเกาะกุมอยู่โดยฝ่ายผู้จงรักภักดีกับนายกฯ ทักษิณ

เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมกกว่า ซึ่งเห็นได้ชัด ก็คือ นายอภิสิทธิ์นั้น ได้ยินดีปรีดาต่อการกระทำรัฐประหารว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพื่อจะนำตัวเขาเอง ใกล้เข้ามากว่าเก่าอีกหนึ่งขั้นต่อตำแหน่งของการเป็นนายกรัฐมนตรี โดยการทำให้คู่แข่งทางการเมืองของเขานั้นได้อ่อนแอลง หรืออาจจะถึงกับทำลายมันลงไปด้วย

เรื่องที่กล่าวมาแล้วทุกอย่าง ไม่ได้มีความแปลกใจอะไรเลย ถ้าท่านผู้อ่านได้ย้อนกลับไปถึง การแสดงความคิดเห็นของนายอภิสิทธิ์ที่ให้กับทางฝ่ายสื่อมวลชนในสมัยของการ กระทำรัฐประหาร การลำดับเหตุการณ์รายละเอียดนั้น เข้าชุดกันได้เป็นอย่างดีเยี่ยม นายอภิสิทธิ์เองก็ได้แสดงตัวเขาเองให้เห็นมาอย่างยาวนานแล้วว่า ตัวเขานั้น ไม่ใช่ผู้ที่มีความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (เหมือนตามที่เขาได้ใช้ชื่อของพรรคว่า “ประชาธิปไตย”) เลยแม้แต่เพียงนิดเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น