หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

"ยึดวอลล์สตรีท" กบฏต่อต้านความอยุติธรรมทางเศรษฐกิจ หรือ การลุกฮือของพวกชายขอบไร้การศึกษา???



"รัฐอุ้มแบงค์ ส่วนพวกเราหมดตัว"  (We got sold out, bank got bail out)"ประชาชนต้องมาก่อนผลกำไร" (People before Profit)"เราขอสู้กับความโลภของพวกบริษัทยักษ์ใหญ่" (Fight Corporate Greed!)"ใหญ่เกินกว่าจะล้มอย่างนั้นหรือ? :เราขอประท้วง!" (Protest: To BIG To FAIL)

เว็บไซต์ของขบวนการเคลื่อนไหว "ยึดวอลล์สตรีท" ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวดังกล่าวไว้ว่า ขบวนการ "ยึดวอลล์สตรีท" เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 17 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ด้านหน้าอาคารที่ทำการตลาดหุ้นนิวยอร์กในย่านแมนฮัตตัน และจนถึงตอนนี้ ขบวนการดังกล่าวได้แพร่ขยายไปยังเมืองใหญ่อื่นๆอีก 100 เมืองแห่งในอเมริกา รวมไปถึงเมืองต่างๆอีกกว่า 1,500 เมืองใน 80 ประเทศทั่วโลก

เว็บไซต์ "ยึดวอลล์สตรีท" ยังได้เขียนถึงการเคลื่อนไหวของพวกตนว่า เป็นการโต้กลับอำนาจคุกคามของธนาคารรายยักษ์และบรรษัทข้ามชาติ ที่เป็นตัวการทำให้เศรษฐกิจในอเมริกาตกต่ำอย่างรุนแรง ทั้งนี้ ด้วยการใช้กระบวนการทางประชาธิปไตย (ยกเว้นในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ที่มีการจุดไฟเผารถยนต์และบุกทำลายธนาคารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา)

"ยึดวอลล์สตรีท" กล่าวว่า ขบวนการของพวกเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากการปฏิวัติในอียิปต์ ตูนีเซีย สเปน กรีซ อิตาลี และสหราชอาณาจักร โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วยกับการที่รวยเพียง 1 % เป็นผู้ที่เขียนกฏเกณฑ์ทางเศรษฐกิจโลก อันวางอยู่บนรากฐานความเชื่อของลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) ซึ่งเป็นบ่อเกิดของความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ


เบนจามิน ดังโก้ จากสำนักข่าวอัลจาซีรากล่าวว่า ขณะที่การประท้วงได้ดำเนินต่อไป อัตราการว่างงานและภาวะความยากจนในสหรัฐฯได้พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ความไม่เสมอภาคในอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองเช่นนี้เองที่เป็นเหตุผลที่ทำ ให้ผู้คนออกมาประท้วงในประเทศแถบตะวันออกกลาง กรีซ สเปน และลอนดอน ดังโก้กล่าวว่า ขบวนการ "ยึดวอลล์สตรีท" ในครั้งนี้เป็นหนึ่งในการลุกขึ้นมา "กบฏ" ต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่มีผู้คนจากอีกหลายประเทศร่วมด้วย

"′1 เปอร์เซ็นต์′ ที่ว่านั้นหมายถึง ผู้มีอันจะกิน (the haves) ซึ่งก็ได้แก่พวกนักการธนาคาร ผู้ที่อยู่ในธุรกิจสินเชื่อบ้านและธุรกิจประกันภัย ขณะที่ ′99 เปอร์เซ็นต์′ หมายถึง พวกคนยากคนจน (the have-nots) ซึ่งเป็นคนที่เหลือ "หรือพูดง่ายๆก็คือ คนจำนวน 1 เปอร์เซ็นต์เป็นเจ้าของเงิน 99 เปอร์เซ็นต์ของเงินทั้งหมด" หนึ่งในสมาชิกขบวนการยึดวอลล์สตรีทกล่าว (จากบทความที่ชื่อ "Occupy Wall Street" ในนิวยอร์กไทมส์)

เจน แม็คอินไทร์ หนึ่งในผู้ประท้วงให้สัมภาษณ์นักข่าวรอยเตอร์ว่า "พวก เรากำลังบอกว่า พอกันที! เราต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่วางอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ของพวกธุรกิจและธนาคาร รายใหญ่" เธอกล่าว

เทียร์ซา คอสตีอาโนสผู้ประท้วงอีกรายกล่าว "ฉันต้องการให้ธนาคารใหญ่ๆพวกนี้คืนเงินภาษีที่พวกเขาใช้ไปกับการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินเหล่านี้ของเรามา"


เนลสัน ดี  ชวาตซ์ และอีริค แดชกล่าวไว้ในบทความที่ชื่อ "In Private, Wall St. Bankers Dismiss Protesters as Unsophisticated" ของพวกเขาว่า ในการออกมาเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ผู้ประท้วงหลายคนมีทัศนคติว่า วอลล์สตรีทเป็นสัญลักษณ์แห่งความไม่เท่าเทียมทางรายได้ และเป็นสัญลักษณ์ของ "ความอยุติธรรมในทางเศรษฐกิจ" ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขากำลังต่อต้าน ความโกรธเคืองของผู้คนทวีเพิ่มมากขึ้นเมื่อธนาคารรวมทั้งสถาบันการเงินได้ รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ในขณะที่ลูกค้าของธนาคารอย่างพวกเขาต้องถูกยึดบ้านและทรัพย์สิน

ธนาคารขนาดใหญ่มีปัญหาจ่ายเงินก้อนงามให้กับผู้บริหารระดับสูงเมื่อ ออกจากตำแหน่ง โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แบงก์ ออฟ อเมริกา ธนาคารรายใหญ่สุดของสหรัฐได้ออกมาเปิดเผยถึงจำนวนเงินชดเชยทั้งหมด 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่จ่ายแก่ผู้บริหารสองคนซึ่งก็คือ แซลลี่ ครอว์เช็คและโจ ไพรซ์ แม้ว่าธนาคารดังกล่าวจะเคยออกมาแถลงว่า "บริษัทจะเริ่มปลดพนักงานจำนวนกว่า 3 หมื่นคนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า" 

 

ทั้งนี้ ในวันเสาร์ (15 ต.ค.) ที่ผ่านมา ได้มีการประท้วงของขบวนการ "Occupy ที่ต่างๆ" ในหลายๆเมืองตามประเทศต่างๆทั่วโลก

โดยในเบอร์ลิน คนกว่า 4,000 คนเดินขบวนกลางถนนพร้อมชูป้ายเรียกร้องต่อต้านระบบทุนนิยม

ในกรุงซาราเจโว ประเทศบอสเนีย คนหลายร้อยคนเดินขบวนบนถนนพร้อมแสดงรูป เช กูวารา รวมทั้งถือธงคอมมิวนิสต์ที่มีข้อความเขียนไว้ว่า "ขอเสรีภาพจงมีแด่ประชาชน และทุุนนิยมจงไปตายซะ"

นอกจากนี้ ผู้คนกว่าหลายพันคนในโปรตุเกส ซึ่งไม่พอใจวิธีการรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ออกมาเดินประท้วงกลาง ถนนในกรุงลิสบอน รวมถึงการประท้วงที่เกิดขึ้นยังเมืองต่างๆ อาทิ เจนีวา อัมสเตอร์ดัม เอเธนส์ บรัสเซลส์ ซูริค เมลเบิร์น รวมทั้งในเอเชีย อย่างเช่นที่ฮ่องกง โตเกียว กรุงไทเป และกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ 

โดยในตอนนี้ ได้มีคนจำนวนมากกว่า 7 แสนคนแล้วที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนการประท้วงดังกล่าว (จากการอ้างอิงข้อมูลจากสำนักข่าวอัลจาซีร่า)

แต่ขณะที่การชุมนุมประท้วงยังคงดำเนินต่อไป และกำลังลุกลามไปยังเมืองต่างๆทั่วโลก คำถามที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ "แล้วพวกนักการธนาคารในวอลล์สตรีทเหล่านั้นได้รับสารที่ว่านี้รึเปล่า?"

 

เนลสัน ดี  ชวาตซ์ และอีริค แดช แห่งนิวยอร์กไทมส์เขียนประเด็นดังกล่าวไว้ในบทความที่ชื่อ "In Private, Wall St. Bankers Dismiss Protesters as Unsophisticated" ว่าจากการสัมภาษณ์คนที่ทำงานในวอลล์สตรีทเอง

"หลายคนมองว่าการประท้วงเหล่านั้นเป็นการกระทำของพวกติดยา พวกร๊อคแอนด์โรล" ผู้จัดการกองทุนระยะสั้นรายหนึ่งกล่าว หรือว่า "นี่ไม่ใช่การลุกฮือของชนชั้นกลางแต่อย่างใด แต่มันเป็นการกระทำของพวกชายขอบในสังคม" ดังที่ผู้บริหารธนาคารรายหนึ่งกล่าว

ชวาตซ์และแดชแสดงความเห็นว่า ลึกๆแล้ว เหล่านักการธนาคารที่วอลล์สตรีทได้ไม่ใส่ใจต่อการออกมาประท้วงเหล่านั้น ทั้งนี้เนื่องมาจากทัศนคติที่ว่า กลุ่มผู้ประท้วงเหล่านั้นเป็นพวก "ไร้การศึกษา" หรือ "unsophisitcated"















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น