คุยกันยาวๆ กับ ‘วรเจตน์ ภาคีรัตน์’: อ่านกันชัดๆ ว่าด้วยความพยายามเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันการฉีกรัฐธรรมนูญ
ก่อนจะถึงวันครบรอบ 5 ปี การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และครบรอบ 1 ปีการก่อตั้ง และก่อนที่คณะนิติราษฎร์จะออกแถลงการณ์ในวาระครบรอบซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุม 4 ประเด็นใหญ่ คือ หนึ่ง การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สอง การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สาม กระบวนการยุติธรรมกับผู้ต้องหาหรือจำเลย และการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายภายหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และสี่ การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ประชาไท มีโอกาสคุยยาวๆ กับ รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการรัฐประหาร การลบล้างผลของการรัฐประหาร และการป้องกันการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ รวมถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เราจะอธิบายความจำเป็นของการแก้รัฐธรรมนูญอย่างไร หลักการอยู่ตรงไหน
ถ้าเราดูปัญหาการเมืองไทย ตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา เราก็จะพบว่า รัฐธรรมนูญเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาแน่ๆ ที่จริง ถ้าเราย้อนกลับไปดูก่อนหน้านั้น ผมเองก็เคยวิจารณ์รัฐธรรมนูญ 2540 ว่ามีปัญหาเหมือนกัน เราจะเห็นว่า ในช่วงท้ายๆ ของรัฐบาลคุณทักษิณ ชินวัตร ก็มีทีท่าว่าจะเกิดการปฏิรูปการเมือง เพราะมีข้อวิจารณ์เรื่ององค์กรอิสระ แต่ยังไม่ทันได้ทำก็มีรัฐประหารเสียก่อน พอหลังรัฐประหารจึงเกิดรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี49 ขึ้นมา หลังจากนั้นก็เป็นรัฐธรรมนูญปี 50 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37007
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น