หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทิฐิ-ดุลพินิจ ′อภิสิทธิ์-สุเทพ′ มาตรฐาน ความรุนแรง

 


ดูเหมือนมาตรา 17 ของพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จะกลายเป็นเกราะป้องกัน "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" อดีตนายกรัฐมนตรี และ "สุเทพ เทือกสุบรรณ" อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)

รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง จนมีคนบาดเจ็บ ล้มตาย จำนวนมาก

เพราะมาตรา 17 ระบุว่า

"พนักงาน เจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราช กำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่"

หมายความว่า "เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติตามคำสั่ง จะไม่ต้องรับผิดใดๆ แต่ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้น ผู้เสียหายต้องไปฟ้องรัฐเอาเอง"

สอด รับกับคำพูดของ "สุเทพ" ที่ระบุว่า "อภิสิทธิ์" ไม่เกี่ยวข้อง เพราะอำนาจการสั่งการ "อภิสิทธิ์" มอบให้ผู้อำนวยการ ศอฉ. ดำเนินการทั้งหมด

เช่นเดียวกับ "อภิสิทธิ์" ที่บอกว่า มีอำนาจดูภาพรวมนโยบายในการปฏิบัติงานของ ศอฉ. ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ "สุเทพ"

จะเห็นว่า สิ่งที่ "อภิสิทธิ์" และ "สุเทพ" พูด


เป็นการพูดตามกรอบของมาตรา 17 เกราะกำบังชั้นดี
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323836789&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น