หน้าที่-ความรับผิดชอบ อภิสิทธิ์-สุเทพ เส้นขนานคดี 91 ศพ
มุมมองของ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ถูกพนักงานสอบสวนเรียกเข้าชี้แจงกรณีการสลายการชุมนุม จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ
ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องการเมือง
ไม่ต่างจาก "สุเทพ เทือกสุบรรณ" อดีตรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ.
ที่มีมุมมอง และวิธีคิดที่ไม่แตกต่างกัน
หาก มองในแง่ความเป็นจริง กรณีดังกล่าว ไม่ใช่เฉพาะคนไทยตาดำๆ ที่เจ็บปวดจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองเมื่อ เดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553
ยังมีช่างภาพชาวญี่ปุ่น และนักข่าวชาวอิตาลี ที่ต้องมาจบชีวิตลงจากเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย
ต้องยอมรับว่า ตลอดระยะเวลากว่า 1 ปีเต็ม ที่การเสียชีวิตของคนไทย "ความเป็นจริง" ไม่ได้ถูกทำให้ปรากฏ
เช่นเดียวกับช่างภาพญี่ปุ่น และนักข่าวอิตาลี
ไม่ น่าแปลกใจที่ทางการญี่ปุ่นและสำนักข่าวรอยเตอร์ซึ่งเป็นต้นสังกัดของช่างภาพ ชาวญี่ปุ่น จะลงทุนลงแรง จ้าง "นักสืบในทางลับ" เพื่อหาข้อมูลการเสียชีวิตที่แท้จริง
การดำเนินการดังกล่าวของทางการญี่ปุ่นและสำนักข่าวรอยเตอร์ เท่ากับเป็นการ "ตบหน้า" กระบวนการสืบสวนหาข้อเท็จจริงของทางการไทย
ที่ดูเหมือนต้องการให้ "ความตาย" หายไปกับ "สายลม"
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1323316544&grpid=01&catid=&subcatid=
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น