หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

แกนนำนิติราษฎร์ หนุนล่า1หมื่นชื่อ ยื่นแก้"ม.112"หวังมาตรฐานสากล แนะจับตา"ส.ส.-สว."

แกนนำนิติราษฎร์ หนุนล่า1หมื่นชื่อ ยื่นแก้"ม.112"หวังมาตรฐานสากล แนะจับตา"ส.ส.-สว."



นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ บรรยายแนวทางเสนอแก้ไขมาตรา112 เพื่อให้ให้มาตรฐานสากล ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์



นาย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เข้าร่วมงานวิชาการ - ศิลปวัฒนธรรม "แก้ไขมาตรา 112"ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในเวทีวิชาการ - ศิลปวัฒนธรรม "แก้ไขมาตรา 112"ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 15มกราคมถึงการรณรงค์ข้อเสนอเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) และกระบวนการเข้าชื่อเสนอแก้ไขกฎหมาย โดยนายวรเจตน์เรียกร้องให้ฝ่ายที่มีความเห็นแย้ง เปิดทางให้ครก.112 ผลักดันแก้ไข ยืนยันทำภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บทบัญญัติเรื่องนี้ได้มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับของนานาอารยะประเทศ



นายวรเจตน์ เล่าถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่นำไปสู่การกำหนดบทเพิ่มโทษผู้กระทำผิดใน มาตรา 112 ให้สูงขึ้นว่า หอประชุมเล็กมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่นี่เมื่อปี 2519 มีการล้อมปราบ สนามหลวงกลายเป็นที่ประหาร ในเวลานั้น นักศึกษาประท้วงการกลับมาของจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีประกอบกับสถานีวิทยุยานเกราะปลุกระดม ให้เกลียดนักศึกษา ผลพวง มีความสูญเสียและการทำรัฐประหาร ต่อมามีการออกกฎหมาย แก้ไขกำหนดอัตราโทษ มาตรา 112 จำคุก 3-15 ปี หลังจากนั้นมีผู้ถูกดำเนินคดีข้อหานี้ เช่น วีระ มุสิกพงศ์ อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ หรือคนไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี อีกทั้งยังใช้มาตรานี้รุนแรงมากขึ้น อย่างเป็นประวัติการณ์ภายหลัง หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 คดีหมิ่นมีการฟ้องร้องสูงขึ้น


"ข้อน่าสนใจเปรียบเทียบสมัยประเทศเยอรมนี แพ้สงคราม ยกเลิกระบอบกษัตริย์ ปัจจุบันมีกฎหมายหมิ่นประธานาธิบดี เวลามีการเลือกตั้ง ประธานาธิบดี แต่หลังรับตำแหน่งแล้ว ประธานาธิบดีจะมาทำงาน โดยงานแรก สำนักประธานาธิบดี จะบอก ประธานาธบดี ว่า มีความผิดฐานหมิ่นประมาทประธานาธิบดีอยู่ แต่จะมีเอกสารลงนามให้สละสิทธิ์ ดังนั้น แม้มีกฎหมายหมิ่นประมุขรัฐ แต่ไม่มีการบังคับ เพราะหากยิ่งใช้ ก็ยิ่งสะเทือนสถาบันที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง นี่เป็นสิ่งพึงสังวรในสังคมไทย"

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326624130&grpid=00&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น