หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

′ความเปลี่ยนแปลง′ที่′พม่า′

 



หลายสิ่งหลายอย่างที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศ พม่าสำหรับบางคนแล้วดูราวกับ "ปาฏิหาริย์" ขนาดย่อมกำลังบังเกิดและคลี่คลายขยายตัวออกไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย

เพียง มองย้อนหลังกลับไปไม่นานนัก แค่ปี 2007 พม่ายังคงเป็นรัฐทหารเผด็จการ ที่พร้อมทุกเมื่อที่จะ "ปลิดปลง" การคัดค้าน ไม่เห็นด้วยในทุกรูปแบบตั้งแต่ยังเป็นหน่ออ่อน เป็นปุ่มปมยังไม่ระบัดใบ

ปี นั้นเลือดทั้งของประชาชน ของพระสงฆ์องค์เจ้า นองไปทั่วท้องถนนนครย่างกุ้ง จากการลุกฮือขึ้นประท้วงการบริหารจัดการประเทศของระบอบเผด็จการทหาร

ปี 2010 เมื่อพม่าจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี การจัดการทุกอย่างก็ดูเหมือนจะสะท้อนถึงความพยายามในอันที่จะ "สืบทอดอำนาจ" ของบรรดานายพลทั้งหลายให้คงอยู่ ต่อเนื่องต่อไป นักสังเกตการณ์การเลือกตั้งทั้งหลาย "ตีตรา" กระบวนการเลือกตั้งในพม่าหนนั้นว่าเป็นเพียง "ละครตลก" อีกฉาก-เท่านั้น

ออ ง ซาน ซูจี กับพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ส่วนใหญ่ บอยคอตการเลือกตั้งหนนั้น ตัวผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญได้รับอิสรภาพในเดือนพฤศจิกายนถัดมา หลังจากใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การ "ควบคุม" เนิ่นนานกว่า 7 ปี

ถึง กระนั้น นักสังเกตการณ์การเมืองในพม่าที่ยังมีสติครบถ้วน ทุกประการก็ยังยืนยันว่าไม่มีวี่แววให้เห็นแม้แต่น้อยว่า ประดานายพล ทั้งหลายจะเปลี่ยนแปลง ผันแปร

หนึ่งปีให้หลัง ทุกอย่างพลิกผันราวหน้ามือกับหลังมือ

ประชาชน ทั่วไปสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ต บริการที่เคยเป็น "ของต้องห้าม" ได้อย่างเสรี ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ข่าวสารและการสืบค้นสำคัญอย่าง ยาฮู หรือกูเกิล หรือแม้แต่กระทั่ง "บีบีซี" พ่อค้าแม่ขายตามท้องถนนสามารถวางจำหน่ายภาพโปสเตอร์ของ ออง ซาน ซูจี อย่างเปิดเผย

บรรยากาศผ่อนคลาย เปิดกว้างเสียจนเมื่อไม่นานมานี้พนักงานต้อนรับสตรีในโรงแรมหรู สามารถปฏิเสธคำขอ "เลขที่ห้องพัก" จากเจ้าหน้าที่หน่วยพิเศษที่ติดตามความเคลื่อนไหวของ "พม่าลี้ภัย" คนสำคัญรายหนึ่งได้ด้วยน้ำเสียงราบเรียบ ยืนกรานว่า เธอ "ไม่มีสิทธิ" เปิดเผยข้อมูลเช่นนั้นของแขกที่เข้าพักได้

นี่คือสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้แม้แต่จะคิด-เมื่อสักราว 6-7 เดือนก่อนหน้านี้

เมื่อตุลาคม ปีกลาย รัฐบาลพม่าเริ่มต้นปล่อยนักโทษราว 6,300 คน ซึ่งรวมถึงนักโทษ "การเมือง" และนักโทษ "ทางความคิด" ราว 200 คน

หนึ่งในจำนวนนั้นคือ "ซาร์กานาร์" นักเสียดสีทางการเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของพม่า

วัน ดีคืนดี "ถิ่น ส่วย" ผู้อำนวยการสำนักงานเพื่อการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนสื่อมวลชน "มือเซ็นเซอร์" ตัวฉกาจของรัฐบาลทหารในอดีตหมาดๆ ออกมาประกาศย้ำในที่สาธารณะว่า "การเซ็นเซอร์สื่อ" ที่เคยทำกันมาจนเป็นวัตรปฏิบัตินั้นจำเป็นต้องยุติ เพราะ "เข้ากันไม่ได้" กับ "แนวปฏิบัติแบบประชาธิปไตย" ที่ยึดถือกันอยู่ในเวลานี้

เดือนสิงหาคม ออง ซาน ซูจี ได้เข้าพบหารือแบบเห็นหน้าค่าตากันกับ เต็ง เส่ง อดีตนายพลทหาร ที่ตอนนี้อยู่ในสถานะ "ประธานาธิบดี" แห่งพม่า

  
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326622425&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น