หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

(บทความเก่า)สองก้าวข้าม เพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย

ศิวะ รณยุทธ์
28 ธันวาคม 2552


ความคลี่คลายของสถานการณ์ ของการต่อสู้ของผู้รักประชาธิปไตยในหลายเดือนมานี้ ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวที่จะจัดขบวนใหม่ของการต่อสู้ให้เหมาะสม เพราะปรากฏการณ์ที่ชัดเจนได้ยืนยันว่า กลุ่มอำมาตย์(พันธมิตรข้าราชการ+ทุน อภิสิทธิ์ ที่หนุนหลังโดยราชสำนัก) ยังคงดื้อรั้นที่จะยึดกุมอำนาจเผด็จการซ่อนรูปแบบ ‘โต๊ะแชร์’ เพื่อแบ่งปันผลระโยชน์ต่างตอบแทนกันในคนจำนวนน้อยนิดเอาไว้ในกำมือต่อไป ภายใต้โครงสร้างรัฐซ้อนรัฐอันซับซ้อนในนาม ‘ประชาธิปไตยรู้รักสามัคคี’ ที่ลวงโลก 

ถึง แม้ว่า สถานการณ์จะเอื้ออำนวยให้การเคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประชาชน แต่คำถามเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เหมาะสมในการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ศัตรูของประชาธิปไตยยังดำรงอยู่มิได้ขาดว่า จะดำเนินการขับเคลื่อนกันต่อไปอย่างไรเพื่อพัฒนาสมรรถนะของพลังประชาธิปไตย จากปริมาณสู่คุณภาพ แล้วแปรเปลี่ยนไปบรรลุชัยชนะเหนือพลังเผด็จการทุกรูปแบบ

 
ข้อ เขียนชิ้นนี้ ถือเป็นการให้คำอธิบายกับข้อเสนอเดิมที่ว่าด้วยการสร้าง ‘ยุทธศาสตร์ที่เป็นเอกภาพ ยุทธวิธีที่หลากหลาย’ เมื่อหลายเดือนก่อน โดยสาระสำคัญที่ต้องการย้ำให้เห็นว่า การจะบรรลุเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ยุทธวิธีดังกล่าวได้ จะต้องผ่านการก้าวข้าม 2 อุปสรรคสำคัญของขบวนการประชาธิปไตยให้ได้เสียก่อนนั่นคือ
 
1)    ก้าวข้ามทางอุดมการณ์ 
2)    ก้าวข้ามทางการจัดตั้ง

ข้อเสนอ 2 ก้าวข้ามนี้ ได้รับแรงบันดาลใจจากข้อสรุปของอันโตนิโอ กัมชี่ที่ว่าด้วย อำนาจนำ ที่มีข้อเสนอสำคัญคือ การ เปลี่ยนแปลงสังคมที่แท้จริง จำเป็นต้องเปลี่ยนจิตสำนึกของสังคมในทางการเมืองและวัฒนธรรมด้วย นอกเหนือจากการยึดครองอำนาจรัฐทางการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการยอมรับการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีการบังคับกดขี่ ซึ่งจะทำได้จะต้องเอาชนะในสงคราม 2 ด้านพร้อมกันไปคือ สงครามอุดมการณ์(และวัฒนธรรม) กับ สงครามขับเคลื่อนทางการจัดตั้ง ซึ่งสอดคล้องกับ เหมา เจ๋อ ตง ในส่วนที่ว่า “หากจะปฏิวัติต้องมีทฤษฎีปฏิวัติ และมีองค์กรจัดตั้งเพื่อปฏิวัติ” นั่นเอง  

ก้าวข้ามทางอุดมการณ

แม้ว่านักสู้เพื่อประชาธิปไตยไทยจะได้ผ่านบทเรียนมาครั้งแล้วครั้งเล่าในการ ต่อสู้กับเผด็จการหลากรูปแบบ แต่ย่างก้าวของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนก็ยังไม่บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะประเด็นปัญหาเกี่ยวกับอุปสรรคทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งยังไม่สามารถก้าวข้ามได้
 
 อุปสรรคทางด้านอุดมการณ์(และวัฒนธรรม)ที่ยังแฝงเร้นและยังไม่อาจก้าวข้ามได้ พ้นดังที่ได้สรุปอย่างย่นย่อต่อไปนี้คือ สิ่งที่เราต้องก้าวข้ามไปให้ได้ ก่อนจะนำไปสู่เรื่องของการจัดตั้งที่จะส่งผลเป็นรูปธรรม

 

(อ่านต่อ)

http://prachatai.com/journal/2010/01/27206

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น