หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย

การปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย

 

ภาพ : jacobin club

ลองนึกย้อนกลับไปถึงสภาพสังคมก่อนการรัฐประหาร ๑๙ กันยา ก็ได้ สภาพความเป็นอยู่ของคนธรรมดาอาจดีกว่าภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ค่าแรงก็ไม่เคยพอ ไม่มีความมั่นคงของรัฐสวัสดิการ และความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยสูงมาก ยิ่งกว่านั้นในทางการเมืองก็มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ สองมาตรฐาน มีการแทรกแซงการเมืองโดยทหาร และนายจ้างใช้กฏหมายเพื่อสร้างอุปสรรค์กับสหภาพแรงงานเสมอ

โดย ลั่นทมขาว

ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์การต่อสู้ทางชน ชั้นทั่วโลก เราจะพบว่ามีการปฏิวัติสองประเภทคือ (1) การปฏิวัติทาง “สังคม” และ (2) การปฏิวัติทาง “การเมือง”

การปฏิวัติทาง “สังคม”

การปฏิวัติทาง “สังคม” คือการปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองหมดเลย แต่ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนในวันเดียวหรือเปลี่ยนในวันปฏิวัติ มันเป็นเรื่องที่สะสมมานาน จากการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในการผลิต และการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในสภาพสังคม จนถึงจุดวิกฤตที่เกิดจากการที่โครงสร้างการปกครองเก่าไม่สอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องอัตโนมัติที่เกิดจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ “ชน” กับ โครงสร้างการปกครอง เหมือนกับว่ามนุษย์ไม่เกี่ยวข้องเลย เพราะโครงสร้างการปกครองประกอบไปด้วยผู้นำและเจ้าหน้าที่ที่เป็นเป็นมนุษย์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็เป็นการกระทำของมนุษย์ และสังคมประกอบไปด้วยมนุษย์เช่นกัน

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่มาจาก ความขัดแย้งที่พึ่งกล่าวถึงไปแล้วนี้ เกิดจากการรวมตัวกันต่อสู้ระหว่างมนุษย์อย่างน้อยสองฝ่าย หรือสองชนชั้น  ซึ่งไม่มีหลักประกันว่าฝ่ายไหนจะชนะ มีแต่ “แนวโน้มความเป็นไปได้” ของ ความพ่ายแพ้หรือการชนะ ที่ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจสังคม และการกระทำของมนุษย์บวกกัน ยิ่งกว่านั้น การปฏิวัติไม่ได้จบลงหรือชนะในวันสองวัน บางครั้งใช้เวลาเป็นสิบๆ ปี
   
การปฏิวัติทาง “สังคม” เป็นการปฏิวัติที่เปลี่ยนระบบการปกครองและปูทางไปสู่การเดินหน้าพัฒนาของ ระบบเศรษฐกิจสังคมแบบใหม่ ตัวอย่างคือการปฏิวัติทุนนิยมในอังกฤษ ค.ศ. 1640-1688 ในอเมริกา ค.ศ. 1776-1861 และในฝรั่งเศส ค.ศ. 1789-1848 หรือการปฏิวัติสังคมนิยมในรัสเซีย ค.ศ. 1917-1928 ซึ่งในกรณีหลังถูกล้มโดยการปฏิวัติซ้อนของ สตาลิน ที่ดึงทุน
 

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.com/2011/09/blog-post_21.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น