หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ความเป็นไทยที่ถูกลืม ชาติที่ไม่ใช่ของผู้มีปืน

ความเป็นไทยที่ถูกลืม ชาติที่ไม่ใช่ของผู้มีปืน


โดย เกษียร เตชะพีระ

 

ผมได้นำเสนอว่านอกจากความเป็นไทยกระแสหลักแบบสังคม ศักดินา-รัฐอาญาสิทธิ์แล้ว ยังมีมรดกความเป็นไทยกระแสอื่นๆ อีก ชั่วแต่ว่าถูกกดกลบบดบังไว้หรือมองข้ามละเลยไปในประวัติศาสตร์ ไม่ว่ามรดกความเป็นไทยที่เน้นความเสมอภาคของศรีปราชญ์, หรือมรดกความเป็นไทยที่ยืนยันเสรีภาพและระบบรัฐสภาของเทียนวรรณ เป็นต้น

นั่น หมายความว่าเมื่อกล่าวถึงกระแสหลากหลายต่างๆ นานาในวัฒนธรรมไทยแล้ว ไม่ว่าต้นธารจะมาจากไหน: ชมพูทวีป ราชอาณาจักรจีน ตะวันออกกลางหรือยุโรป

ไม่ว่าจะไหลแผ่เข้ามาผ่านสื่อภาษาใด: บาลี/สันสกฤต จีน อาหรับหรือโปรตุเกส/วิลันดา/ฝรั่งเศส/อังกฤษ/เยอรมัน/รัสเซีย

และ ไม่ว่าจะนำพาคติลัทธิศรัทธาอะไรเข้ามา: ฮินดู พุทธ อิสลาม สิกข์ คริสต์ ยิว ขงจื๊อ เจ้าแม่กวนอิม ปุนเถ้ากง ยุครู้แจ้ง เสรีนิยม ประชาธิปไตย ราชาธิปไตย สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ อนาธิปไตย โพสต์โมเดอร์นิสต์ ฟาสซิสต์ ฯลฯ

ลงได้ถูกแปล/แปรเป็นภาษาไทย เข้าปะทะประสานปฏิสัมพันธ์กับคติขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมและฉันทลักษณ์ไทยๆ มีชีวิตโลดเต้นขับเคลื่อนผันแปรอยู่ในครรลองความคิด ความเชื่อของผู้คนในสังคมไทยแล้ว มันก็ย่อมกลายเป็นน้ำเนื้อส่วนหนึ่งของความเป็นไทยอย่างเป็น ธรรมชาติธรรมดาอยู่ดี ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ก็ตาม

เพราะแต่ไหนแต่ไร มา ที่ตั้งทางวัฒนธรรมของสังคมไทยมักมีลักษณะเป็นเมืองท่าเปิด (entrepot แบบอยุธยา, ธนบุรี, บางกอก) ที่ซึ่งสินค้าข้าวของผู้คนหลากชาติหลายภาษาไหลรวมมา บรรจบกัน, ไม่ใช่ค่ายกักกันหรือเรือนจำความคิดที่มีรั้วรอบขอบชิด (แบบเกาหลีเหนือ เป็นต้น)


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327664585&grpid&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น