ทำอย่างไรต่อการปรองดองของเพื่อไทย กับอำมาตย์
โดย ลั่นทมขาว
การ “ปรองดอง” ระหว่างอำมาตย์กับฝ่ายแกนนำขบวนการประชาชน ที่เคยพยายามสู้เพื่อล้มอำมาตย์ไม่ใช่สิ่งใหม่ หลังวิกฤตและสงครามกลางเมืองระหว่างอำมาตย์กับพรรคคอมมิวนิสต์ ความพ่ายแพ้ของพรรคนำไปสู่การปรองดองในเชิงยอมจำนนสำหรับอดีตนักสู้ ปัญญาชน และนักศึกษาของพรรคคอมมิวนิสต์ โดยมีการสร้าง “ข้อตกลง” สู่สันติภาพและความสงบ และมีการอภัยโทษทุกฝ่าย
ต่อจากนั้นอำมาตย์ก็ยอมให้มีการเลือกตั้งในกรอบรัฐสภาทุนนิยม แต่มีเงื่อนไขคือไม่ให้มีพรรคของฝ่ายสังคมนิยมหรือของคนงานกรรมาชีพเลย มีแต่การเลือกตั้งแข่งกันระหว่างพรรคนายทุนที่ไม่แตกต่างกันในเชิงนโยบายเลย มันคือยุคทองของระบบซื้อขายเสียงและอำนาจเงินในการเลือกตั้ง แต่สภาพเช่นนี้มีเสถียรภาพได้ก็ต่อเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น
ในขณะเดียวกันอดีตนักสู้คอมมิวนิสต์ก็เลิกสู้กับรัฐ และในทางความคิดส่วนใหญ่ก็ยอมจำนนต่อสถาบันต่างๆ ในโครงสร้างอำมาตย์โดยสิ้นเชิง ทุกฝ่ายจับมือกันและประกาศว่า “หมดยุคแห่งสังคมนิยมแล้ว” แต่ นั้นไม่ได้หมายความว่าปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม หรือความสำคัญของชนชั้นหายไปจากสังคมไทยแต่อย่างใด มันแค่ถูกกดทับด้วยการลดประเด็นการเมืองไปสู่ยุค “เอ็นจีโอ” และยุคเศรษฐกิจบูมเท่านั้น
(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.com/2012/01/blog-post_27.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น