อำนาจทางการเมืองของพระราชดำรัส และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของกษัตริย์
วาด รวี
“ประเพณีการปกครองที่ไม่ดี” และขัดกับหลักการประชาธิปไตย
ประเพณีทางการเมืองหนึ่งของไทยซึ่งปฏิบัติมาหลายสิบปีทั้งที่ ขัดกับหลักการ The King can do no wrong ก็คือ การที่ยินยอมให้พระมหากษัตริย์มีพระราชดำรัสได้โดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะ รัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ศ.ดร.หยุด แสงอุทัย
“อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย”
อ่านออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2499
หลักการของระบอบประชาธิปไตยคือ จะต้องไม่ให้ใครมีอำนาจโดยปราศจากความรับผิดชอบ ในระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์นั้น ตำแหน่งประมุขของรัฐซึ่งก็คือกษัตริย์ ไม่ได้เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทางการเมือง การกระทำการต่าง ๆ จึงต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง และผู้รับสนองฯ นั้นจะเป็นผู้ “รับผิดชอบ” กล่าวง่าย ๆ ว่า กษัตริย์เพียงแต่กระทำและใช้อำนาจทางการเมืองไป “ในนาม” เท่านั้น ไม่สามารถจะกระทำไปโดยเจตนารมย์ของตนเอง รัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็ได้ระบุไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้ ซึ่งย่อมหมายความไปในตัวว่า ไม่สามารถกระทำการใด ๆ โดยขาดคนรับผิดชอบแทนได้ เพราะอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถจะรับผิดชอบโดยพระองค์เอง
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/01/38700
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น