หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

วรเจตน์ นิติราษฎร์ VS บรรเจิด สยามประชาภิวัฒน์ 2 คน 2 คม กลางวิวาทะรธน.-มาตรา 112






19  กันยายน  2553  หลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549   โดย “คณะกรรมการปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” 

4 ปีถัดมา อาจารย์ กลุ่มเล็กๆที่ประกอบอาชีพสอนวิชากฎหมาย ในคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์  รวมตัวกันขึ้นในนามของ “นิติราษฎร์” นิติศาสตร์เพื่อราษฎร


กลุ่มผู้ก่อตั้ง 7 คนประกอบด้วย  วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ,จันทจิรา เอี่ยมมยุรา , ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล , ธีระ สุธีวรางกูร , ปูนเทพ ศิรินุพงศ์, ปิยบุตร แสงกนกกุล และ สาวตรี สุขศรี


“นิติราษฎร์” แถลงการณ์ให้สังคมไทยรู้ว่า     ภายหลังรัฐประหารสำเร็จ ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่กฎหมายถูกนำไปใช้อย่างบิดเบี้ยว ทั้งการตราตัวบทกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งการใช้และการตีความกฎหมายขององค์กรผู้มีอำนาจไปในทิศทางที่ไม่สนับสนุน นิติรัฐ-ประชาธิปไตย และก่อให้เกิดความไม่ยุติธรรม ซึ่งเราได้แสดงความเห็นผ่านแถลงการณ์สาธารณะวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์เหล่า นี้อย่างสม่ำเสมอ

 
เวทีความคิดของ นิติราษฎร์  สื่อสารความคิด ผ่านแถลงการณ์ ในเว็ปไซต์  www.enlightened-jurists.com/about    บทสัมภาษณ์ของแกนนำ นิติราษฎร์ หลายคน แต่ที่แหลมคมที่สุดคือ บทสัมภาษณ์ของ ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์   ผ่านสื่อออนไลน์และผ่านทีวีไทย

แถลงการณ์ของนิติราษฎร์ ส่วนใหญ่ มุ่งวิพากษ์วิจารณ์ผลพวงของการรัฐประหาร และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีการเมืองหลายคดี อย่างหนักหน่วงและรุนแรง

ล่าสุด นอกจากข้อเสนอให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่  แล้ว นิติราษฎร์ ยังจุดไฟกลางสายลม ในข้อเสนอให้เแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 11


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1326449305&grpid=01&catid=&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น