หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ความขัดแย้งในตัวเองของอุดมการณ์สถาบันกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ และ ม.112

ความขัดแย้งในตัวเองของอุดมการณ์สถาบันกษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ และ ม.112

 

โดยสุรพศ ทวีศักดิ์

 

สุรพศ ทวีศักดิ์ ปรับปรุงจากประเด็นที่นำเสนอในการเสวนาเรื่อง “สถาบันกษัตริย์กับสังคม ประชาธิปไตย” ในงาน "จิบน้ำชาสังสรรค์สนทนาเพื่อหารายได้สนับสนุนการแก้ไข มาตรา 112 ตามข้อเสนอนิติราษฎร์"
 
การพูดถึงอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในมิติทางประวัติศาสตร์ว่า อุดมการณ์นี้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร มีพัฒนาการมาอย่างไร น่าจะมีคนพูดถึงกันมากแล้ว แต่การวิเคราะห์ให้เห็นปัญหาความขัดแย้งภายในตัวอุดมการณ์ดังกล่าว อาจจะยังมีคนพูดถึงไม่มากนัก ฉะนั้น ผมจึงอยากจะวิเคราะห์ปัญหานี้ โดยจะพูดใน 3 ประเด็น คือ

1. กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 มาตรา 9 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งในตัวเองของอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์อย่าง ไร
2. ความล้มเหลวในการใช้มาตรา 8 และมาตรา 112 ปกป้องอุดมการณ์สถาบันกษัตริย์ และ
3. ผมขอเสนอว่า เราต้องไปให้สุดอุดมการณ์ประชาธิปไตยและอุดมการณ์ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ที่สอดคล้องกับความเป็นประชาธิปไตย

ประเด็นแรก รัฐธรรมนูญมาตรา 9 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” ที่จริงมาตรานี้ละเมิดเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพระมหากษัตริย์ แต่การบัญญัติเช่นนี้น่าจะอิงมิติทางประวัติศาสตร์สังคมไทยที่เชื่อกันว่า สถาบันกษัตริย์กับพุทธศาสนาดำรงอยู่อย่างค้ำจุนซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เมื่อบัญญัติไว้เช่นนี้ ก็แสดงให้เห็นว่าอุดมการณ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ตามมาตรา 9 ก็คือ “อุดมการณ์ธรรมราชา” และดังปฐมบรมราชโองการตอนขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” โดย “ธรรม” ที่ว่านี้ก็เป็นที่รับรู้กันว่า คือ “ทศพิธราชธรรม” 


(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39222

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น