หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2555

"ครูเบนพูดถึงราชาธิปไตยสมัยใหม่ (3): สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง"

"ครูเบนพูดถึงราชาธิปไตยสมัยใหม่ (3): สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง"

 


โดยเกษียร เตชะพีระ

 


ชะตากรรมของระบอบราชาธิปไตย: ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกับครั้งที่สอง

1931+ราชาธิปไตยสเปน (ราชวงศ์บอร์บอง) ถูกล้มล้างโดยพวกนิยมสาธารณรัฐ, แล้วได้รับการฟื้นฟูขึ้นใหม่หลังฟรังโกตาย ในปี ค.ศ.1975

1932+การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของไทยถูกโค่นด้วยรัฐประหาร มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ


(แปล จากปาฐกถานำของศาสตราจารย์ เบเนดิคท์ แอนเดอร์สัน เรื่อง "Modern Monarchies in a Global Comparative Perspective" ในการประชุม Democracy and Crisis in Thailand ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 มีนาคมศกนี้ ต่อจากตอนที่สอง)


"ที่นี้เราก็หันไปดูตอนเริ่มต้นของระยะที่สองได้แล้ว.....

"ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งนาน 12 ปี ระหว่าง ค.ศ.1911 ถึง 1923 นั้นประสบกับบางอย่างที่ไม่เคยมีใครอาจคาดเดาได้ล่วงหน้ามาก่อน 

"ก่อนอื่นเลยก็คือราชวงศ์ชิงในจีนล้มลงใน ค.ศ.1911 ด้วยน้ำมือพวกชาตินิยม

"ค.ศ.1917 ราชาธิปไตยรัสเซียก็ล่มจมด้วยฝีมือของคนอย่างเลนินและคนอื่นๆ อีกมากหน้าหลายตา

"ค.ศ.1918 เมื่อท้ายที่สุดเยอรมนีปราชัยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้ว ระบอบจักรพรรดิก็มีอันสลายหายวับไปและองค์จักรพรรดิก็ต้องเสด็จหนีไป ฮอลแลนด์

"ค.ศ.1919 จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีล้มลง

"และใน ค.ศ.1923 ก็ถึงคราวจักรวรรดิออตโตมันล้มลงบ้าง 

"ประเทศ ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ลงเอยกลายเป็นสาธารณรัฐในท้ายที่สุดและหดเล็กลงกว่า เก่าเอามากๆ เมื่อเทียบกับสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ชีวิตผู้คนทุกฝ่ายต้องสูญเสียไปนับล้านๆ ทำให้สงครามโลกครั้งที่หนึ่งน่าจะเป็นสงครามที่ก่อหายนภัยร้ายแรงที่สุดใน ประวัติศาสตร์ มนุษยชาติจวบจนถึงตอนนั้น และบรรดาจักรพรรดิผู้แพ้สงครามทั้งหลายก็ไม่เคยได้อโหสิกรรมจากอาณาประชา ราษฎร์เลย ดังนั้น ประเทศมหาอำนาจราชาธิปไตยที่อยู่รอดมาได้ก็คือพวกที่เป็นฝ่ายชนะสงครามทั้ง นั้น ได้แก่ อังกฤษและญี่ปุ่น

"จาก ความล่มสลายลงของจักรวรรดิเหล่านี้ ก็บังเกิดประดารัฐชาตินิยมขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่แล้วปกครองในระบอบสาธารณรัฐ ผุดขึ้นมาเยอะแยะมากมาย ซึ่งการปรากฏขึ้นของรัฐต่างๆ เหล่านี้ก็กลายเป็นสาเหตุสำคัญให้ก่อตั้งสันนิบาตชาติขึ้นในปี ค.ศ.1920 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอเมริกัน วูดโรว์ วิลสัน ความคิดเรื่องสันนิบาตชาตินับว่าแปลกใหม่อย่างน่าประหลาดใจในตอนนั้น ทั้งนี้ ก็เพราะในสมัยก่อนท่านไม่อาจจินตนาการว่าจะมี "สันนิบาตจักรพรรดิ" หรือ "สันนิบาตราชา" ขึ้นมาได้, 


เหมือนที่ทุกวันนี้ ท่านก็ไม่อาจจินตนาการว่าจะมี "สันนิบาตศาสนา" หรือ "สหศาสนา" ได้เช่นกัน 

ชาติเป็นหน่วยชนิดเดียวเท่านั้นที่ทำให้เป็นไปได้ ในอันที่จะมีตัวแทนของหน่วยดังกล่าวในบางแบบจากทั่วโลกมาอยู่ในองค์การหนึ่งเดียว 

และ อันที่จริงการก่อตัวของสหประชาชาติรวมทั้งสันนิบาตชาติก็แสดงให้เห็นชัดยิ่ง ว่าบัดนี้ชาตินิยมเป็นพลังมูลฐานที่สุดและได้เข้าแทนที่ราชาธิปไตยในระดับ รากฐานแล้ว

"จาก นี้เราก็เดินเรื่องต่อในช่วง 20 ปีถัดไประหว่างสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไปจนเริ่ม สงครามโลกครั้งที่สอง มี 2 เรื่องที่ผมควรกล่าวไว้ตอนนี้ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสเปนและประเทศไทยนั้นเอาเข้าจริงแสดงให้ท่านเห็น ผลจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและลางร้ายว่าจะเกิดสงครามโลกครั้งที่สองในภาย ภาคหน้า

"ใน สเปนต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1930 กษัตริย์อัลฟองโซถูกบังคับให้สละราชสมบัติโดยพวกนิยมสาธารณรัฐ, สังคมนิยม, เสรีนิยม ฯลฯ เนื่องจากพระองค์สัมพันธ์ใกล้ชิดกับจอมเผด็จการทหาร พรีโม เดอ รีเวรา ในปี ค.ศ.1936 พวกอนุรักษนิยมและขวาจัดพยายามก่อรัฐประหารซึ่งในที่สุดนำไปสู่การเริ่ม สงครามกลางเมือง ฝ่ายขวาภายใต้การบังคับบัญชาของจอมพลฟรังโกที่ได้อาวุธและเงินสนับสนุนจาก ผู้นำฟาสซิสต์ของเยอรมนีและอิตาลีเป็นฝ่ายชนะในที่สุด

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333115675&grpid=&catid=02&subcatid=0200

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น