หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2555

เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก 55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 1)

เศรษฐศาสตร์สามัญสำนึก 55 ปีทุนกองทัพไทย (ตอนที่ 1)

 

(แก๊งค์โจรปล้นประชาธิปไตยรัฐประหาร 19 ก.ย.49)

โดยกานดา นาคน้อย

ก่อนรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 สื่อมวลชนบางสังกัดและนักวิชาการบางกลุ่มร่วมกันสร้างวาทกรรม “ทุนสามานย์” เพื่อโจมตีกลุ่มทุนในธุรกิจโทรคมนาคมของอดีตนายกทักษิณฯ ว่าเป็นกลุ่มทุนผูกขาดที่ชั่วช้าสามานย์ราวปิศาจ วาทกรรมนี้ พยายามสร้างความชอบธรรมให้รัฐประหาร ทั้งๆที่จริงแล้วกองทัพไทยคือกลุ่มทุนที่ผูกขาดหลายกิจการมา 55 ปี ถ้าเรานิยาม “ทุนสามานย์” ว่าเป็นทุนผูกขาดก็แปลว่ากองทัพไทยเป็นทุนสามานย์มานานกว่าครึ่งศตวรรษ ดังนั้นถ้าเปรียบทุนสามานย์ว่าเป็นปิศาจ ก็แปลว่าสื่อมวลชนและนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหารชื่นชอบปิศาจหน้าเก่า ที่สิงประเทศมา 55 ปีมากกว่าปิศาจหน้าใหม่ที่สิงประเทศมาไม่ถึง 6 ปี

ทุนกองทัพไทยคือเอกลักษณ์ของทุนนิยมแบบไทยๆ

กองทัพบกภายใต้การนาของจอมพลสฤษดิ์ในตาแหน่งผู้บัญชาการทหารบกเริ่ม ประกอบธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศตั้งแต่ปีพศ. 2500 กล่าวคือ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจถ่ายทอดรายการทางโทรทัศน์ ธุรกิจกระจายเสียงทางวิทยุ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจการพนัน ส่วนกองทัพอากาศเริ่มธุรกิจการบินพาณิชย์ระหว่างประเทศตั้งแต่ปีพศ. 2502

การขยายกิจการของกองทัพเข้าสู่ธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดการสะสมทุน (Capital accumulation) ภายในกองทัพมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ ตั้งแต่ปีพศ. 2500 กองทัพมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจเหมือนกลุ่มทุนอื่นๆในไทย ทำให้การป้องกันประเทศกลายเป็นกิจกรรมรองของกองทัพ กิจกรรมหลักของกองทัพคือการทำธุรกิจและทารัฐประหารเพื่อผลประโยชน์จากธุรกิจ ความเป็นกลุ่มทุนของกองทัพไทยคือปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ทำให้ไทยมีรัฐประหาร บ่อยจนติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก และทำให้ศักยภาพของอุตสาหกรรมอาวุธไทยต่ำมาก ไทยไม่มีวันกลายเป็นทุนนิยมสากลตราบใดที่ธุรกิจของกองทัพไม่โดนแปรรูปให้ เป็นเอกชน การแปรรูปธุรกิจของกองทัพสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าการแปรรูปรัฐ วิสาหกิจด้วยซ้ำ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39802

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น