หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

รัฐสวัสดิการ เป็นระบบทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด

รัฐสวัสดิการ เป็นระบบทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด


รายจ่ายสวัสดิการสังคมของรัฐต่อ GDP


ที่มา Bus Tewarit

มีเพื่อนที่เคารพท่านนึง กล่าวว่า
" น่าจะเป็นไปในแนว รัฐสวัสดิการ ซึ่งเป็นไปได้ยากตราบใดที่มนุษย์ยังมีจุดบกพร่องอยู่ รัฐสวัสดิการจะต่างกับทุนนิยม ตรงมีความปลอดภัยในการดำรงชีวิตมากกว่า แต่จะไม่ค่อยมีการพัฒนาเทคโนโลยี"


--------------------------

ผมขออนุญาตเห็นแย้งในคำพูดดังกล่าวดังนี้

1. รัฐสวัสดิการก็ยังเป็นระบบทุนนิยมครับ และเป็นระบบทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด เนื่องจากยังเป็นระบบที่รับรองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลอยู่ เพียงแต่จะเพิ่มกิจการที่เป็นการสาธารณะเข้าไป เช่น รัฐวิสาหกิจต่างๆที่มีการเข้มข้นขึ้นครับ


2. สิ่งสำคัญอีกอย่างของรัฐสวัสดิการที่บอกว่ามันคือระบบทุนนิยมที่มีความก้าว หน้า เพราะความมั่นคงในระบอบรัฐสภาและความเป็นประชาธิปไตยที่มีอัตราการรวมตัวของ คนงาน(ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม) และการเจรจาต่อรองมากขึ้น นี่เป็นการสะท้อนความก้าวหน้าของ
"ระบอบประชาธิปไตย" ในสังคมครับ อย่างเช่นประเทศในแถบแสกนดิเนเวียครับที่มีอัตราการจัดตั้งสหภาพแรงงานกว่า 60 % ส่งผลให้สวัสดิการสูง

3. การบอกว่าประเทศทุนนิยมที่เป็นรัฐสวัสดิการ
"ไม่ค่อยมีการพัฒนาเทคโนโลยี" นั้นอาจเป็นการเข้าใจที่ค่อนข้างผิดครับ เพราะส่วนมากประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการกลับทำในสิ่งตรงข้ามครับ เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เป็นแรงงานเข้มข้น(ใช้เทคโนโลยี่น้อย)กลับเป็นประเทศ ที่มีสัดส่วนรายจ่ายต่อสวัสดิการสาธารณะน้อยครับ ในขณะที่ตรงข้าม ประเทศอย่างสแกนดิเนเวีย เยอรมัน ญี่ปุ่น ฯลฯ ที่เป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยี่ กลับมีสัดส่วนรายจ่ายสังคมสาธารณะสูง ซึ่งสูงจากมาตรฐานที่ OECD องค์การความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา ประเมินไว้ ประเทศเหล่านี้ก็จัดอยู่ในประเทศรัฐสวัสดิการ

4. การตั้งสมติฐานว่า
"..มนุษย์ยังมีจุดบกพร่องอยู่.." อันนี้ค่อนข้างจะไม่ยอมรับในคุณค่าเรื่อง "ความเสมอภาค" หลักการ One Man One Vote หรือไม่ครับ ซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยครับ คือถ้าเราเชื่อมั่นในการเลือกตั้งเชื่อมั่นในดุลยพินิจของทุกคน มนุษย์ทุกคน Good ครับ ถ้าเราตั้งสมติฐานว่ามนุษย์โดยรวมไม่ Good แล้วเราก็คงไม่ยอมรับเสียงทุกคนที่เท่าเทียมกันครับ

5. เอาเข้าจริง
"ประชานิยม" ก็เป็นหน่ออ่อนของ "รัฐสวัสดิการ" เพียงแต่ยังพูดแต่เรื่องสิ่งที่รัฐให้ แต่ยังไม่พูดถึงการระดมทรัพยากรของรัฐ เช่น ภาษีทางตรงในอัตราก้าวหน้า เพื่อนำมาจัดสรรสวัสดิการให้กับสังคม และการรวมตัวต่อรองของคนในสังคมด้วยครับ
ด้วยความเคารพครับ :)

** เพิ่มเติม

ภาพด้านบนเป็นภาพรายจ่ายสวัสดิการสังคมของรัฐต่อ GDP ครับ ที่มา OECD หรือองค์กรความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา อ้างถึงใน http://news.bbc.co.uk/2/shared/spl/hi/pop_ups/05/business_comparing_welfare_states/html/2.stm
จะเห็นประเทศอย่างในแสกนดิเนเวียที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐสวัสดิการมีอัตราส่วน ในรายจ่ายสังคมสาธารณะต่อ GDP สูงมาก ในขณะที่ประเทศที่อยู่ใน OECD แต่มีความเข้มข้นของค่าใช้จ่ายด้านสังคมต่ำคือ ประเทศเกาหลีและเม็กซิโก (ประมาณร้อยละ6-7 ของ GDP) ซึ่งประเทศเม็กซิโกนั้นถือว่ามีรายได้ต่อหัวใกล้เคียงกับประเทศไทยและถือว่า รายได้ต่อหัวต่ำที่สุดในกลุ่มสมาชิก OECD แต่ก็ยังมากกว่าไทยถึง 3 เท่าคือไทยจ่ายเพียง 2.3 ของ GDP (โดยค่าเฉลี่ยรายจ่ายสังคมสาธารณะในประเทศที่อยู่ใน OECD จะอยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท) 


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น