หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

เปิดใจ"มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ" หมัดแย็บ "ส.ส.เพื่อไทย-สภาฯ" สู่รู้ แก้รธน.ถามปชช.หรือยัง?

เปิดใจ"มานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ" หมัดแย็บ "ส.ส.เพื่อไทย-สภาฯ" สู่รู้ แก้รธน.ถามปชช.หรือยัง?

 




เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังคงเป็นประเด็นที่พูดถึงกันอย่างต่อเนื่อง หลังพรรคเพื่อไทยแสดงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนว่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ


ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตุถึงหลักการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ว่า เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรี รวมถึงความที่มาของ ส.ส.ร. ไม่โปร่งใส และความไม่ประจวบเหมาะในช่วงเวลาดำเนินการ

โดยยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ ถ้าเป็นความตั้งใจปรับปรุงระบบการเมืองให้ดีขึ้น และไม่ได้ทำเพื่อการนิรโทษกรรม

เช่นเดียวกับหลายๆ ฝ่ายที่มีทั้งเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วย

แต่ถึงอย่างไรแล้ว การอภิปรายญัตติพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เมื่อคืนวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ก็ผ่านไปได้ก้วยดี ด้วยการเทคะแนนโหวตของพรรคเพื่อไทยอย่างท่วมท้น 399 ต่อ 199 เสียง

ล่าสุดรัฐสภาได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 จำนวน 45 คน แบ่งเป็น พรรคเพื่อไทย 19 ประชาธิปัตย์ 11 ภูมิใจไทย 2 ชาติไทยพัฒนา 1 ชาติพัฒนา 1 พลังชล 1วุฒิสภา 10 โดยกำหนดแปรญัตติ 30 วัน และได้ประชุมนัดแรกเพื่อเลือกประธาน และแบ่งงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ถึงกระนั้นก็ตาม ต้องยอมรับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตราที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์

จากกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา และที่ปรึกษากลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อเราพูดถึงรัฐธรรมนูญ เราต้องถามว่ารัฐธรรมนูญในระบอบอะไร กล่าวคือรัฐธรรมนูญฉบับหลังปี 2549 เป็นตระกูลประชาธิปัตย์ เป็นเผด็จการอย่างชัดเจน แต่ฉบับปี 2540 เป็นแบบประชาธิปไตย เพราะมาจากกระบวนการของประชาธิปไตย ผ่านรัฐสภา ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็เป็นประธานรัฐสภา

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญปี 2550 ยังมาจากการยึดอำนาจประเทศโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายไม่มี เมื่อเป็นการยึดอำนาจ ก็ไปเข้ากับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ฐานเป็นกบฏ 

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1330673842&grpid=01&catid=&subcatid= 


    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น