24 เม.ย. 55 เวลาประมาณ 9.30 น. การสืบพยานฝ่ายโจทย์ในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ยังคงดำเนินต่อไป โดยช่วงเช้าวันนี้ก่อนเริ่มต้นการสืบพยาน ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาเพื่อให้ส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ วินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ2550 ใน มาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา29 หรือไม่
นายสุวิทย์ หอมหวล ทนายจำเลยและผู้ยื่นคำร้องกล่าวว่า
การยื่นคำร้องนี้ไม่ได้ทำให้ศาลอาญายุติการสืบพยาน
แต่ศาลอาญาไม่มีอำนาจตีความเองว่ามาตรา 112 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ต้องส่งไปให้รัฐธรรมนูญเป็นผู้ตีความ
และแม้ว่าจะสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วก็ตามศาลอาญาก็ยังไม่อาจอ่านคำพิพากษาได้
เพราะต้องรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญก่อน
ส่วนศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไรก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องชี้แจงเหตุผล
การยื่นคำร้องเช่นนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อน
เพราะจำเลยซึ่งไม่ว่าจะกระทำผิดจริงหรือไม่ก็มักยอมรับผิดแล้วขอพระราช
ทานอภัยโทษเพื่อให้ไม่ต้องติดคุกนานเกินไป
ดังนั้นการยื่นคำร้องในครั้งนี้ต้องศึกษากฎหมายอย่างรอบคอบ
และที่สำคัญไม่ใช่เป็นการทำเพื่อตัวจำเลยเพียงคนเดียว
เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา112
ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็จะเป็นผลดีกับจำเลยคนอื่นๆ ในคดีลักษณะเดียวกันด้วย
ส่วนการสืบพยานในวันนี้ ประกอบด้วยพยานทั้งหมด 4 ปาก โดยหนึ่งในนั้นคือศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พยานปากสำคัญได้เบิกความถึงบทความที่ถูกฟ้องในนิตยสาร Voice of Taksin ว่า มี 2 บทความจาก 2 เล่มที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทตามมาตรา112 พยานเห็นว่าฉบับหนึ่งผู้เขียนตั้งใจเท้าความไปถึงประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อ ระหว่างธนบุรีและรัตนโกสินทร์ โดยพยานทราบว่าเป็นการหมิ่นประมาทเพราะอาศัยการเทียบเคียงกับความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ และเทียบเคียงกับพงศาวดารกรุงธนบุรี ของหมอ บลัดเลย์
เมื่อทนายจำเลยถามถึงการบันทึกประวัติศาสตร์แบบอื่นในเรื่องเดียวกัน
เช่น ฉบับของนิธิ เอียวศรีวงศ์ ธงทองตอบว่า
ยอมรับว่าประวัติศาสตร์มีหลายฉบับ แต่ประวัติศาสตร์แบบอื่นๆ
นั้นไม่ได้ให้น้ำหนัก
เพราะถือว่าเป็นการบันทึกแนวหนึ่งที่มีคนส่วนน้อยถกเถียงกันอยู่
ส่วนบทความอีกฉบับหนึ่งที่กล่าวถึง “หลวงนฤบาล”
ธงทองระบุว่าไม่สามารถให้ความเห็นได้แน่ชัดว่าผู้เขียนต้องการหมิ่นประมาท
หรือกล่าวถึงใคร
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40214
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น