ข้อเท็จจริงจากการชันสูตรศพผู้เสียชีวิต 10 เมษา 53
โดยสลักธรรม โตจิราการ
แม้ว่าการสลายการชุมนุมของประชาชนที่บริเวณสี่แยกคอกวัวจะผ่านมา 2 ปี แม้ว่าทุกฝ่ายจะเห็นพ้องต้องกันว่าการค้นหาความจริงว่าใครเป็นผู้ใช้ความ รุนแรงเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการทำให้ประเทศไทย พัฒนาสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงได้ก็ตาม ยังมีความไม่ชัดเจนว่าผู้เสียชีวิตนั้นถูกผู้ใดสังหาร ฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็กล่าวหาว่า “ชายชุดดำ” ซึ่งถือปืนอาก้าทำการสังหาร ในขณะที่ฝั่งประชาชนผู้ร่วมชุมนุมจำนวนมากลงความเห็นว่าทหารเป็นผู้สังหาร ประชาชน
2 ปีที่แล้วหลังเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพที่เสียชีวิตเนื่องจากเหตุการณ์ ปะทะกันในวันที่ 10 เมษายน 2553 โดยมีคณาจารย์ด้านนิติเวชวิทยาจากหลายสถาบัน เช่น โรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนแพทย์อื่นๆเป็นกรรมการร่วมกันชันสูตรพลิกศพเพื่อให้การชันสูตร พลิกศพเป็นไปด้วยความโปร่งใส นอกจากนั้น คณะกรรมการดังกล่าวได้เชิญตัวแทนจาก นปช. ไปร่วมชันสูตรศพที่เสียชีวิตซึ่งมี อ.เชิดชัย ตันติสิรินทร์ และ อ.ชลน่าน ศรีแก้ว ไปร่วมชันสูตร ส่วนผมก็เข้าไปเป็นผู้ช่วยทั้ง 2 ท่านด้วย โดยศพของประชาชนนั้น คณะกรรมการชันสูตรพลิกศพทำการชันสูตรที่โรงพยาบาลตำรวจ ส่วนศพของทหารนั้นคณะกรรมการชันสูตรพลิกศพทำการชันสูตรที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ เกล้า ผมจึงได้เห็นผู้เสียชีวิตทุกคนในเหตุการณ์ 10 เมษายน ทั้งฝั่งประชาชนและฝั่งทหาร โดยศพของประชาชนนั้นได้รับการชันสูตรพลิกศพโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรฯที่โรง พยาบาลตำรวจทุกราย ส่วนศพของทหารที่เสียชีวิตก็ได้รับการชันสูตรโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิก ศพชุดเดียวกันนี้
ยกเว้น พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม ที่คณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพไม่ได้เป็นผู้ชันสูตรศพ เพราะศพถูกนำไปฌาปนกิจเสียก่อน หลายคนจึงตั้งข้อสงสัยว่าทำไมจึงต้องรีบฌาปนกิจศพของ พ.อ.ร่มเกล้า โดยไม่นำศพเข้าร่วมการชันสูตรโดยคณะกรรมการร่วมชันสูตรพลิกศพจากหลายสถาบัน เพื่อความโปร่งใสในขั้นตอนการชันสูตรพลิกศพเช่นเดียวกับศพอื่น ?
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ผมได้เข้าร่วมกระบวนการชันสูตรด้วย จึงขอนำเอาสิ่งที่ได้พบเห็นมาเล่าให้ประชาชนได้รับฟังเพื่อจะเป็นประโยชน์ใน การค้นหาความจริงมากขึ้น
จากการตรวจศพของประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับ นปช. ในวันที่ 10 เมษายน คณะกรรมการชันสูตรฯ ลงความเห็นว่าผู้เสียชีวิตในฝั่งของประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมกับ นปช. นั้น มี 1 คนที่หัวใจวายตาย และอีก 1 คนที่เสียชีวิตเนื่องจากถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วต่ำ ส่วนคนที่เหลือทั้งหมดเสียชีวิตจากการถูกยิงด้วยกระสุนความเร็วสูง เนื่องจากมีการแตกสลายของอวัยวะภายในอย่างรุนแรง และมีอาจารย์แพทย์ด้านนิติเวชจากโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งให้ความเห็นเป็นการ ส่วนตัวว่าแผลจากกระสุนปืนความเร็วสูงนั้นน่าจะเป็นแผลจากกระสุนปืน M16 มากกว่าอาก้า แต่ว่าเนื่องจากไม่พบหัวกระสุน แพทย์นิติเวชจึงไม่สามารถระบุชนิดของหัวกระสุนไปในรายงานตรวจศพได้ทันที ต้องเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานนิติวิทยาศาสตร์และพนักงานสอบสวนในการนำ ข้อมูลจากการสอบสวนไปพิจารณาลงความเห็นเพิ่มเติมว่าเกิดจากกระสุนชนิดใด แต่ถ้าลองดูภาพที่ผมหามาเปรียบเทียบแผลภายในร่างกายที่เกิดจากกระสุนชนิด ต่างๆ (ขอบคุณ www.firearmstactical.com) ดังที่ปรากฏข้างล่าง แผลของกระสุน 5.56x45 mm มาตรฐาน NATO อย่างที่ใช้ใน M16 HK33 และTavor ที่ทหารใช้ตอนปราบปรามประชาชน (รูปที่ 1 กรอบบน) จะเห็นว่าแผลภายในจะเกิดการทำลายเป็นช่องกว้างขึ้นมามากเหมือนกับที่พบในศพ ของประชาชน ในขณะที่แผลจากกระสุน 7.62x39 mm มาตรฐานรัสเซียอย่างที่ใช้ในอาก้า (รูปที่ 1 กรอบล่าง) ที่อ้างว่าชายชุดดำใช้ จะไม่เกิดการทำลายอวัยวะภายในเป็นช่องกว้าง แต่จะทะลุร่างกายออกไปได้มากกว่า M16
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น