"จักรภพ เพ็ญแข" เปิดใจประเด็น "ปรองดอง-ทักษิณ" ชี้อำนาจเก่ากลัว "นิติราษฎร์" มากสุด
"จักรภพ เพ็ญแข"
ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศไทยไปกว่า 3 ปี ล่าสุด
ทีมข่าวพิเศษของเว็บไซต์ประชาไทนัดสัมภาษณ์อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายก
รัฐมนตรีผู้นี้ ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งกลางกรุงพนมเปญ
จักรภพตั้งประเด็นที่น่าสนใจ 3 ประการ ประการแรกคือ
เขามองเห็นว่าเมืองไทยภายใต้กระแสปรองดองนั้นเป็นวาระพักรบ
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ทางเลือกที่สามของการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิด
ขึ้น แม้จะยังไม่เห็นรูปร่างหน้าตาที่ชัดเจนของทางสายนี้ แต่เขาเห็นว่า
นี่เป็นโอกาสที่จะตั้งคำถามให้คนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้เลือกว่า
จะสู้เพื่อเปลี่ยนสังคมหรือสู้เพียงเพื่อรวบสังคมมาเป็นของตัวเอง
เมื่อถามเขาถึงบทบาทของทักษิณในขบวน
ต่อสู้
จักรภพยังคงแสดงความหวังว่าทักษิณมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในขบวนการเปลี่ยน
แปลงสังคม แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทักษิณต้องเลือกเองว่าจะเลือกทางสบายหรือลำบาก
และสุดท้าย เงื่อนไขในการกลับประเทศ
แม้ว่าจะข้อกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112
นั้นอัยการจะสั่งไม่ฟ้องไปแล้วในวันเดียวกับที่เขาให้สัมภาษณ์ประชาไท (30
มี.ค.) แต่นั่นไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้เขาเดินทางกลับเข้าประเทศ
นี่คือ หนึ่งในตัวอย่างคำสัมภาษณ์ของจักรภพ
"ผมขอพูดจากข้อ
เท็จจริงดีกว่านะ ผมตอบเท่าที่รู้ก็คือว่า
เหตุที่การปรองดองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนเกือบจะสัมฤทธิ์ผลตามความต้อง
การของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เป็นเพราะฝ่ายแรกหรือฝ่ายที่สอง
แต่เป็นเพราะนิติราษฎร์
การเกิดขึ้นของนิติราษฎร์เป็นการสร้างความรู้สึกคุกคามให้กับฝ่ายอำนาจเก่า
อย่างรุนแรง
"นิติราษฎร์
เป็นกลุ่มที่ฝ่ายอำนาจเก่ากลัวมากกว่า นปช.และคุณทักษิณเยอะ
ทุกครั้งที่นิติราษฎร์ออกโรงมีความเคลื่อนไหว
จะมีการยอมจากฝ่ายอำนาจเก่ามาก มากในทุกเรื่องในทุกมิติ
ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้อยากยกหางนิติราษฎร์
ไม่อยากให้นิติราษฎร์กลายเป็นเทวดาใหม่เหมือนกัน แต่เพื่ออยากให้รู้ว่ามีผล
และคนที่สนับสนุนนิติราษฎร์ไม่ควรไปเยินยอนิติราษฎร์จนกลายเป็นเทวดาไป
แต่ช่วยเขาคิดช่วยเขาทำ ตรงไหนเริ่มจะไม่ไหว ก็ต้องประคองก็ช่วยกันด้วย
เพื่อให้มันเป็นขบวนการประชาชนต่อไป
"ทุกขบวนการการ
เมือง เมื่อมีความนับสนุนมากๆ จากประชาชน
จะมีคนที่เรียกว่าผู้ดำรงชีพจากการเมือง เข้ามาแทรกกลาง ถ้าพูดไม่เพราะคือ
นายหน้าการเมืองเข้ามาแทรกกลาง จนกระทั่งยกผู้นำการเมืองขึ้นไปอยู่บนหิ้ง
และประชาชนไปอยู่ข้างล่าง ตัวเขาจะได้เป็นชนชั้นที่จะเชื่อมโยงทั้งสองราย
เพื่อประโยชน์ทางการเมือง มันเกิดขึ้นกับทุกขบวนการเมื่อเวลาผ่านไป
เพราะฉะนั้น ไม่อยากเห็นแบบนั้นกับนิติราษฎร์
เพราะฉะนั้นการที่นิติราษฎร์มีตัวตนที่ชัดเจน
แล้วก็มีคนอย่างอาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล)
ทั้งเห็นด้วยและวิจารณ์นิติราษฎร์จะทำให้ขบวนการมันอยู่ได้อย่างดี
มันเป็นสมดุลใหม่ อยากให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ หรือมีอย่างอาจารย์นิธิ
(เอียวศรีวงศ์) หรือมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ยืนอยู่ห่างๆ แล้วตะโกนไกลๆ มาว่า
เอาเลย แต่ไม่เข้าร่วม อย่างนี้เป็นวิธีการประคอง
"เมื่อกี้ไม่
ได้พูดจากความคิดนะ พูดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ผมก็เป็นนักศึกษาจากของจริงเหมือนกัน ผมก็นั่งดู เอ๊ะ ทำไมนักวิชาการ 7
คนซึ่งไม่มีฐานอำนาจทางการเมืองใดๆ เลย ไม่มีลักษณะเชื่อมโยงทางการเมืองใดๆ
เลย ไม่มีทุนทางการเมืองที่สนับสนุนอย่างชัดเจนใดๆ
เลยถึงได้เป็นที่ครั่นคร้ามของผู้ที่มีอำนาจสูงสุด
แล้วเรียกว่าสามารถชี้นำทุกอย่างโครงสร้างในสังคมปัจจุบันได้
ผมก็เลยได้คำตอบกับตัวเองว่า
อำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงประเทศจากนี้ไป
คืออำนาจในการเปลี่ยนแปลงความคิด มาสู่การเคารพในสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
ไม่จำเป็นต้องเป็นสิทธิทางการเมืองนะ สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิของเด็ก
สิทธิของคู่สมรส สิทธิของ sexual orientation สิทธิในทุกสิ่งทุกอย่าง
เพราะมันจะกลับไปตอบโจทย์เดียวกัน
หรือแม้แต่สิทธิของอภิชาติพงศ์ที่เป็นอภิชาติพงศ์
สิทธิของโจอี้บอยที่เป็นโจอี้บอย
สิทธิของใครต่อใครที่จะเป็นตัวของตัวเองมันกลายเป็นปราการใหญ่ที่ทำให้ทุกคน
มีจุดร่วมกันโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นแนวร่วมโดยที่ไม่เหมือนกันเลย
แบบที่หลายประเทศเป็น อย่างสหรัฐอเมริกาเป็น อย่างในยุโรปเป็น
ไปถามเลยนั่งกันอยู่ 3 คน มีความเห็น 4 อย่าง แต่สามารถทำงานร่วมกันได้
เพราะมีลักษณะร่วมก็คือว่าแบบเธอๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน แบบฉันๆ
ก็ไม่อยากเปลี่ยน แบบคุณๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน ตกลงมีลักษณะร่วมกันคือ
ไม่อยากให้มายุ่ง มันก็จะมาผนึกกำลังกัน
นี่คือสิ่งที่นิติราษฎร์กำลังนำความคิดนี้เข้ามา
สุดท้ายคนที่หนุนนิติราษฎร์อาจจะไม่ใช่คนที่เชื่อตามนิติราษฎร์
แต่จะเป็นคนที่ออกมาปกป้องให้นิติราษฎร์ได้คิดอย่างนิติราษฎร์ต่อ
เพื่อวันหนึ่งฉันจะได้คิดแบบฉันบ้าง
นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากของความคิดแบบเดิมของไทย ..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น