มาตรฐานสากล และปัญหา กม.หมิ่นฯ ม.112
หมายเหตุ
บทความของ"ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ข้าราชการบำนาญ แสดงทัศนะเรื่องปัญหา กม.หมิ่นฯ ม.112 "มติชน"ฉบับวันที่ 1มิถุนายนนำมาเรียบเรียงในประเด็นน่าสนใจดังนี้
------------------------------
จากการศึกษาและจากการสอน "วิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยาม/ไทย" มาเป็นเวลานานปีผมได้พบว่าขณะนี้สังคมและประชาชนไทยของเราเผชิญต่อปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายๆ กับที่ได้เผชิญมาแล้วเมื่อ พ.ศ.2475 (1932) คือเมื่อ 80 ปีที่แล้วในเรื่องของ "รัฐธรรมนูญ" ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของ "คณะเจ้า" ก็กล่าวกันว่า "คณะราษฎร" ใจร้อน ชิงสุกก่อนห้าม แต่ถ้ามองจากเหรียญด้านก้อยของ "คณะราษฎร" ก็เชื่อกันว่าความล่าช้า อืดอาด ทำให้เกิด"ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์" ที่จะต้องมี "การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475" เพื่อเปลี่ยน "ระบอบราชาธิปไตย" ให้เป็น "ระบอบประชาธิปไตย"
ปัญหาที่สังคมและประชาชนไทย เผชิญอยู่ในสมัยรัชกาลปัจจุบัน ก็คือ เราจะสามารถปฏิรูป และแก้ไข "กฎหมายหมิ่นฯ มาตรา 112" ได้ช้า หรือได้เร็ว และจะทันท่วงทีกับสถานการณ์ของการเมืองภายในของเราเอง กับสถานการณ์ของการเมืองระหว่างประเทศหรือไม่ นี่คือปัญหาของ "เหรียญสองด้าน" ที่เราต้องชั่งน้ำหนัก ระหว่างด้านหัว กับด้านก้อย ระหว่าง "กลุ่มอำนาจเดิม-พลังเดิม" กับ "กลุ่มอำนาจใหม่-พลังใหม่"
2.จากการศึกษาของผม พบว่ามีข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับปัญหา กม.หมิ่นฯ ม.112 ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มใหม่ที่ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานรวบรวมและจัดพิมพ์ ในโอกาส 84 พรรษา ชื่อเรื่อง King BhumibolAdulyadej: A Life′s Work หนา 383 หน้าราคา 1,235 บาท หรือ 40US$ มีนักเขียนที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการ เช่น คริสเบเกอร์-พอพันธ์ อุยยานนท์-เดวิด สเตร็กฟุส ร่วมด้วยในหนังสือสือเล่มนี้บทที่ว่าด้วย "กฎหมายหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย..." หน้า 303-313 (The Law of Lese Majeste) มีข้อความถอดเป็นภาษาไทยได้ดังนี้
"จากปี พ.ศ.2536 (1993) ถึงปี พ.ศ.2547 (2004) เป็นเวลาถึง 11 ปี โดยเฉลี่ยแล้วจำนวนคดีหมิ่นใหม่ๆ ลดลงครึ่งหนึ่ง และก็ไม่มีคดีหมิ่นเลย ในปี 2545 (2002)...
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338443628&grpid=03&catid=02&subcatid=0207
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น