หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ประชาธรรม: ปรองดองฉบับ “นิติราษฎร์” จำแนก 4 กลุ่มก่อนนิรโทษกรรม

ประชาธรรม: ปรองดองฉบับ “นิติราษฎร์” จำแนก 4 กลุ่มก่อนนิรโทษกรรม

 

 

นิติราษฎร์เสนอการจำแนกกลุ่มต่างๆ เพื่อนิรโทษกรรมกับติดตามลงโทษ บนฐานค้นหา “ความจริง” โดยเสนอเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ พร้อมยันเคลื่อนต่องานช้างลบล้างผลพวงรัฐประหาร-ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จะ ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ กองทัพ ศาล และสถาบันการเมือง

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555  ร้านหนังสือ Book Re:public จัดงานรำลึก 2 ปี 19 พฤษภาคม  เสวนาปรองดองกับความเป็นธรรม?

ปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ กล่าวว่า ตนไม่ชอบคำว่า ปรองดอง เพราะถูกคนกลุ่มหนึ่งนำไปใช้เรียบร้อยแล้ว และความหมายที่แท้จริงก็ถูกใช้อย่างบิดเบือน ส่วนข้อเสนอของเรา เราเคยคุยในหมู่นิติราษฎร์มาแล้วหลายครั้ง และได้ข้อสรุปตามคำประกาศนิติราษฎร์ฉบับที่ 34  (ซึ่งจะออกฉบับสมบูรณ์ประมาณเดือนมิถุนายน)  คือ หนึ่งเราจะไม่นิรโทษกรรมทุกฝ่าย หรือยึดตามแบบข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า เพราะว่าสถาบันพระปกเกล้าไม่พูดเรื่องม.112 และใครทำรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

แต่สิ่งที่คณะนิติราษฎร์จะทำ คือ เราจะไม่นิรโทษกรรมกับเจ้าหน้าที่และผู้สั่งการทั้งหลาย เพราะประเทศไทยเกิดเหตุการณ์แบบนี้หลายครั้งหลายหน ถ้าเรายอมให้ทำแบบนี้ต่อไปก็จะเกิดการฆ่าหมู่ทางการเมืองอีก ครั้งนี้ต้องยืนยันว่าจะไม่ทำแบบนั้นอีกต่อไป หมายความว่าเราเสนอให้สืบสวนข้อเท็จจริง และดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่และผู้สั่งการให้หมด

ทีนี้มาดูรายละเอียดว่าเราจะทำแบบไหน ทุกวันนี้เวลาเราพูดเรื่องนิรโทษกรรมจะพูดแบบเหมารวมหมด  ซึ่งเราไม่เอา ในขณะเดียวกันหลายฝ่ายก็รู้สึกอ่อนล้าจากความขัดแย้ง ก็อยากเคลียร์ให้จบ เราจึงเสนอว่าต้องแยกการกระทำออกมาตั้งแต่หลังรัฐประหาร49 ออกมาเป็นชุด ดังนี้

หนึ่ง การกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้สั่งการทั้งหลาย จะไม่มีการนิรโทษกรรม จะต้องมีการสืบสวนข้อเท็จจริงกันต่อไปว่าใครเป็นคนสั่ง ใครกระทำความผิด ซึ่งจากข้อเสนอนี้ก็มีข้อโต้แย้งว่า "ดูเจ้าคิดเจ้าแค้นมากเกินไป เจ้าหน้าที่ผู้น้อยที่ทำตามคำสั่งของผู้บัญชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จะทำ อย่างไร ทำไมถึงไม่ปล่อยเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย" อยากเรียนว่า ตามกฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา17เขียนไว้ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการไปโดยสมควรแก่เหตุ ไม่เลือกปฏิบัติ ทำตามอำนาจของตุลาการ เจ้าหน้าที่ก็จะพ้นผิดโดยอัตโนมัติ หมายความว่า หากไม่กระทำเกินกว่าเหตุ เช่น เจตนาไปยิงคนตายด้วยสไนเปอร์ เลือกปฏิบัติ เจตนาฆ่า ก็จะพ้นผิดตามกฎหมายโดยไม่ต้องใช้การนิรโทษกรรม

สอง กลุ่มผู้ชุมนุมหรือบรรดาประชาชนทั้งหลาย ซึ่งเราตั้งคำถามไว้ว่า คนที่ถูกกล่าวหา หรือมีความผิดละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือกฎหมายความมั่นคง และคดีอาญาที่ลหุโทษ มีความผิดเล็กๆน้อยๆ พวกนี้เสนอให้นิรโทษทันที

สาม คือกลุ่มที่ไม่เข้ากลุ่มที่หนึ่งและสอง คือ ประชาชนทั่วไปที่มีความผิดที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งการเมือง มีมูลเหตุจูงใจในทางการเมืองที่เชื่อมโยงมาตั้งแต่ 19  กันยาฯ เราไม่นิรโทษกรรมทันที แต่ให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่าเกี่ยวกับรัฐประหาร 19 กันยาฯหรือไม่ ถ้าเกี่ยวกับ 19 กันยาฯ นิรโทษ  ไม่เกี่ยวกับ 19 กันยา ไม่นิรโทษต้องดำเนินคดีต่อ ในระหว่างที่กรรมการชุดนี้กำลังวินิจฉัยชี้ขาดว่าเกี่ยวกับความขัดแย้ง 19 กันยาฯหรือไม่ คนที่ถูกจับกุมคุมขังให้มีการปล่อยไปก่อน แล้วค่อยพิจารณาโทษ 

สี่ กลุ่ม ที่โดนคำพิพากษาตัดสินให้จำคุกหรือยังมีคดีติดตัว ที่เป็นคดีที่ริเริ่มมาจากคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสีย หายแก่รัฐ (คตส.) เสนอให้ (ตามข้อเสนอลบล้างผลพวงรัฐประหาร) เริ่มต้นคดีใหม่ทั้งหมด เช่น คดีทักษิณก็ให้เริ่มต้นใหม่คดีใหม่ แต่ไม่นิรโทษกรรมคุณทักษิณ

ฉะนั้นจะเห็นว่าข้อเสนอของนิติราษฎร์ไม่ใช่ การนิรโทษกรรมแบบเหมาเข่ง
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40609

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น