หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปาฐกถา 7 ปีประชาไท - วรเจตน์ ภาคีรัตน์: สื่อคือปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน

ปาฐกถา 7 ปีประชาไท - วรเจตน์ ภาคีรัตน์: สื่อคือปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน

 

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ระหว่างกล่าวปาฐกถาหัวข้อ “สื่อ..และที่ทางของเสรีภาพในสังคมไทย?” ในโอกาสครบรอบ 7 ปีเว็บไซต์ประชาไท ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ เมื่อ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: ประชาไท)

วรเจตน์ 7ปี ประชาไท

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=yYQVqWKKf_c#!  

 

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ปาฐกถาในโอกาสครบรอบ 7 ปี เว็บไซต์ประชาไท ระบุสื่อคือปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน หวังให้สื่อได้เสนอข้อเท็จจริงอย่างไม่บิดเบือน ให้ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมในการแสดงออกซึ่งอำนาจการเมืองของเขา

 

ประชาไท, 22 พ.ค. 55 - ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ นักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ปาฐกถาในโอกาสครบรอบ 7 ปี เว็บไซต์ประชาไท โดยวรเจตน์เริ่มต้นกล่าวว่า ในปัจุจุบัน เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อมวลชนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตย เพราะสื่อนั้นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน การที่สื่อสามารถรายงานและวิเคราะห์ข่าวอย่างเสรี เป็นสิ่งสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ ในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย และสื่อจะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐสภาที่เป็นองค์กรของรัฐกับประชาชน สื่อจะทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออก การใช้อำนาจของรัฐ เปิดเผยการกระทำที่ไม่ถูกต้องของบรรดาบุคคลที่เข้าไปมีอำนาจในรัฐ ซึ่งใม่ใช่แค่นักการเมือง แต่รวมถึงหน่วยงานและสถาบันที่มีบทบททางการเมืองไม่ว่าโดยตรงหรืออ้อม ลับหรือเปิดเผย ภารกิจดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็โดยที่สื่อเป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทั้งการเงินและการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ประเด็นสำคัญที่ว่าการก่อตั้งเจตจำนงของประชาชนให้เป็นไป ได้โดยอิสระ ต้องมีสื่อที่มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มีความหลากหลาย เพื่อให้ประชาชนมีความพร้อมในการแสดงออกซึ่งอำนาจการเมืองของเขา

ดังนั้น ไม่ใช่แค่ระดับการศึกษาที่แสดงออกที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ หากแต่เป็นความหลากหลายในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ผมเห็นต่างกับความคิดที่ว่า สังคไทยไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย เพราะสำนึกประชาธิปไตยต่างหากที่มีผล และการเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายมีความสำคัญกว่าอย่างเทียบไมได้

ที่ผ่านมาสื่อมวลชนได้ทำหน้าที่นี้อย่างสมบูรณ์ควรค่าแก่ ความพอใจแล้วหรือไม่ ตลอดเวลาที่ผมได้สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักรัฐประหาร คำตอบที่ได้คือสื่อมวลชนไทยยังไม่สามารถทำหน้าที่นี้ได้อย่างน่าพอใจ และเราอาจจะพบว่าสื่อมวลชนไทยมีปัญหาในการนำเสนอ ปัญหาในการควบคุมวิชาชีพสื่อ

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40623

"วรเจตน์ ภาคีรัตน์" ประเมินเสรีภาพสื่อไทย ชี้ขาดการตรวจสอบ "อำนาจที่ไม่เปิดเผยตัวโดยตรง"

 

(คลิกอ่าน) 
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1337701757&grpid=01&catid=01&subcatid=0100

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น