หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปิยบุตร-สุดสงวน อาจารย์มธ.เบิกความ คดี “สมยศ”

ปิยบุตร-สุดสงวน อาจารย์มธ.เบิกความ คดี “สมยศ”

 

 


2 พ.ค.55 การสืบพยานในคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตามมาตรา112 ของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Voice of Taksin  ในช่วงเช้า มีพยานฝ่ายจำเลยเข้าเบิกความ 2 ปาก คือ ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล กลุ่มนิติราษฎร์ และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ .) รศ.สุดสงวน สุธีสร อาจารย์คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มธ
.
ปิยบุตร เบิกความกับทนายจำเลยว่า ตนกับอาจารย์อีก 5 คน เริ่มก่อตั้งคณะเพื่อทำงานด้านกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2543 โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะรณรงค์ ขยายความคิดด้านกฎหมายแก่ประชาชนให้สอดคล้องกับหลักนิติรัฐและ ประชาธิปไตย เรื่องกฎหมายหมิ่นฯ เป็นสิ่งหนึ่งที่ให้ความสนใจมามากกว่า 1 ปีแล้ว  พบว่ากฎหมายนี้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ในลักษณะที่การกำหนดโทษรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เพราะคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เพิ่มโทษกฎหมายหมิ่นฯ ทั้งระบบเพื่อจะกำจัดสิทธิเสรีภาพการแสดงออกของนักศึกษา

ในส่วนของการตีความกฎหมาย ปิยบุตรเห็นว่า คำว่าหมิ่นประมาท ดูหมิ่น  แสดงความอาฆาตมาดร้าย ในมาตรา112 ก็มีความหมายเช่นเดียวกับกฎหมายหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาในมาตรา 326  ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท และมาตรา392 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท จึงเห็นได้ว่าแม้การตีความจะไม่ต่างกันแต่การกำหนดโทษกลับรุนแรงกว่ามาก (มาตรา112 มีโทษจำคุก3-15ปี) ทั้งที่จริงแล้วก็ไม่มีการนิยามลักษณะความผิดของมาตรา112 ไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด  นอกจากนี้มาตรา112 ยังไม่มีเหตุยกเว้นความผิดในกรณีที่วิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจ และยังถูกจัดไว้ในหมวดความมั่นคง ซึ่งถือว่าขัดกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ และไม่รักษาสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา เพราะผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

ปิยบุตรขยายความในประเด็นการจัดมาตรา112 ไว้ในหมวดความมั่นคงว่า  การหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวกับความมั่นคง เพราะทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อเสียชื่อเสียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่สมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์มีอำนาจมากที่สุด อย่างไรก็ตาม การกำหนดโทษหมิ่นพระมหากษัตริย์ให้สูงกว่าบุคคลทั่วไป เป็นสิ่งที่สามารถทำได้แต่ไม่ควรสูงมากเกินไป หรือมากเท่าปัจจุบัน ซึ่งในต่างประเทศก็มีกฎหมายในลักษณะเดียวกับมาตรา112 แต่มีโทษน้อยกว่า ที่สำคัญยังมีการยังมีการดำเนินคดีและลงโทษน้อยมาก อาจลงโทษแค่ปรับ ตัวกฎหมายนี้แม้ว่ามีอยู่แต่ก็เสมือนตายไปแล้ว ซ้ำเมื่อศาลมีคำพิพากษาก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40333 

สืบพยานคดี สมยศ หมิ่นสถาบันฯ

http://www.youtube.com/watch?v=tCmItYKaBsA&feature=player_embedded

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น