หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อากงกับความศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์

อากงกับความศรัทธาต่อสถาบันกษัตริย์



โดยปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์
 

การเสียชีวิตของอากง มันหนักหนาเหลือเกิน และยากที่ผมจะทำใจได้ – นี่คือข้อความที่ผมลงในเฟซบุ๊คส่วนตัวหนึ่งวันหลังจากที่ทราบข่าวว่าอากงได้ สิ้นชีวิตแล้ว สิ้นชีวิตเยี่ยงนักโทษที่ต้องถูกกักขังด้วยความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยต้องหันมามองปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้กฏหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 ไปในทางที่ผิด ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันมามองระบบยุติธรรมของไทยที่ยังคงรับใช้ระบบเจ้าขุน มูลนาย และถึงเวลาแล้วที่เราไม่อาจเพิกเฉยต่อสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน คนไทยทุกคนควรมีสิทธิขั้นพื้นฐานเท่ากัน แต่ที่ผ่านมา คนจนและไร้ฐานันดรกลับถูกปฏิบัติเยี่ยงสัตว์เดรัจฉาน ถึงเวลาแล้วที่เราต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้

ผมเคยมองว่า การประนีประนอมและการเปิดช่องทางของการสื่อสารกับผู้ใหญ่ในสังคมนี้ยังเป็น ไปได้ แต่คดีแล้วคดีเล่า โดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ช่องทางการเจรจาไม่เคยเปิด ผู้มีอำนาจปฏิเสธที่จะค้นหาความเป็นจริงบนพื้นฐานของการยึดมั่นในหลัก ยุติธรรม แต่กลับใช้อำนาจตัวเองที่มีอยู่ในการปกป้องเชิดชูสถาบันกษัตริย์อย่างหลับหู หลับตา และละเลยความรับผิดชอบในการปกป้องสถาบันประชาชน เราเดินมาถึงทางตัน ทางตันที่บอกกับเราว่า ต่อไปนี้ การเรียกร้องขอความเป็นธรรมจากสังคมคงไม่สามารถทำได้แค่เพียงลมปาก แต่เราต้องส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในเชิงรูปธรรม จนกว่าสังคมจะได้รับความยุติธรรมคืน ผมจะไม่ปล่อยให้อากงเสียชีวิตโดยเปล่าประโยชน์

ดังนั้น ผมมีความเห็นว่า การยกเลิกกฏหมายมาตรา 112 เท่านั้น (ไม่ใช่เพียงแค่แก้ไขดังที่ผมเคยเสนอก่อนหน้านี้) ที่จะเป็นทางออกเดียวของการสร้างความยุติธรรมและความเป็นประชาธิปไตยที่แท้ จริงของสังคม การยกเลิกกฏหมายนี้จะเป็นช่องทางเดียวที่ทำให้ทุกคนมีสิทธิแสรีภาพในการ แสดงออกซึ่งความเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมาโดยไม่หวาดเกรงต่ออิทธิพลใดๆ นอกจากนี้ จะยังเป็นทางออกเดียวที่คนไทยทุกคนจะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีความเป็นเดรัจฉานหรือความมีอารยะมากหรือน้อยไปกว่ากัน ประเทศนี้ไม่ได้ปกครองด้วยระบบเจ้า เราไม่ได้อยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ถ้าหากกลุ่มที่รักสถาบันพระมหากษัตริย์มีความรักและความเคารพต่อสถาบัน จริงดังที่มักกล่าวอ้างเช่นนั้น กลุ่มคนเหล่านี้ต้องเข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากกรณีการเสียชีวิตของอากง และกรณีนักโทษการเมืองอื่นๆ โดยเฉพาะผลกระทบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เอง พวกเค้าต้องเข้าใจว่า การกักขังอากง คนแก่ที่มีโรคประจำตัวโดยไม่ได้รับอนุญาติให้ประกันตัว เป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ นี่ยังไม่รวมถึงการลงโทษอากงเป็นเวลาถึง 20 ปีจากความผิดที่อากงไม่ได้ก่อ การลงโทษที่โหดเหี้ยมเช่นนี้ เป็นการสร้างกำแพงกั้นระหว่างสถาบันกษัตริย์กับกลุ่มที่มองเห็นว่าความ ยุติธรรมกำลังสลายสูญหายไป นำไปสู่ความคิดและความรู้สึกรักและเคารพในสถาบันต้องลดน้อยลง นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของสถาบันกษัตริย์ โดยเปลี่ยนแปลงจากสถาบันที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาและการให้อภัย ไปสู่การเป็นสถาบันที่เป็นสัญลักษณ์ของความเกลียดชัง การลงโทษ และการโดดเดี่ยวผู้ที่มีความเชื่อต่างจากไปตัวเอง


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40442

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น