หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ดิฉันปลงไม่ตก: เปิดคำเฉลยที่มาแห่งคดี

ดิฉันปลงไม่ตก: เปิดคำเฉลยที่มาแห่งคดี


Posted Image

โดยขวัญระวี วังอุดม


คำถามสั้นๆถึง “คนดี”ในระบอบตุลาการทั้งหลาย จะต้องให้มีคนตายในนาม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ"- อันมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใครในโลก - อีกกี่ศพ จึงจะเลิกเฉไฉ/ บิดเบือนและหันมายึดมั่นในหลักนิติธรรมอย่างที่มักอ้างกันเสียที?!!

ตั้งแต่ วันที่อากงถูกตัดสินด้วยข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (ม.112) จนกระทั่งวันที่จากลาโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ บรรดาชนชั้นนำในระบอบตุลาการ -- หรือมนุษย์ที่ใครพากันเรียกว่าเป็น “คนดี” – ยังพากันเฉไฉ/ บิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เริ่มจากการที่โฆษกศาลยุติธรรมเขียนบทความในนสพ.ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2554 พาดหัวว่า "อากงปลงไม่ตก: เปิดคำเฉลย!ที่มาแห่งคดี"[i] โดยมีใจความว่าในการตัดสินคดีอากงนั้น ศาลไทยเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามที่กฎหมายสิทธิมนุษยชน ระหว่างประเทศระบุไว้ โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICPR) ข้อ 19 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งโฆษกศาลฯกล่าวอย่างถูกต้องว่าขอบเขตในการใช้สิทธิเสรีภาพดังกล่าวตามที่ กำหนดใน ICCPR ต้องไม่ก้าวล้ำชื่อเสียงของบุคคล หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือศีลธรรมอันดี

แต่ สิ่งที่โฆษกศาลฯพูดไม่หมดคือ แม้ ICCPRจะให้ความคุ้มครองชื่อเสียงของบุคคล แต่กระนั้นมีข้อยกเว้น 2 ประการคือ 1. บุคคลสาธารณะย่อมต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ และ 2. ต้องมีการละเว้นโทษหากพิสูจน์ได้ว่าข้อความนั้นเป็นจริง หรือเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ หากใครได้อ่านคำพิพากษาจะทราบว่าในการตัดสินของศาล ไม่มีแม้แต่การแยกแยะลักษณะของข้อความ SMSทั้ง 4 ข้อความที่อากงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ส่ง ซ้ำยังเหมารวมและอาศัยเพียงความเชื่อและความคิดเห็นของผู้พิพากษาว่าทั้ง 4 ข้อความนั้นเป็นเท็จโดยไม่มีการพิสูจน์แต่ประการใด ตามที่ระบุว่า "ข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระ เมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย"   

นอกจากนั้นในการอ้างเหตุความมั่นคงของชาติ สิ่งที่โฆษกศาลฯไม่ได้พูดคือผู้ตรวจการพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่อง สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเคยกล่าวไว้ชัดเจนว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพของไทยถูกตีความกว้างเกินไป และโทษ (ที่โฆษกศาลฯกล่าวเสมือนว่ากระทงละ 5 ปีที่อากงได้รับนั้น ศาลมีความปรานีแล้ว) มีความรุนแรงและไม่ได้สัดส่วนกับการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์หรือความมั่น คงของชาติ[ii] ในขณะที่หลักโจฮานเนสเบิร์กว่าด้วยความมั่นคงของชาติ สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการเข้าถึงข้อมูล (The Johannesburg Principles on National Security, Freedom of Expression and Access to Information) ยังระบุว่า “[การที่รัฐจะลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน] จำเป็นต้องพิจารณาจากเจตนารมณ์และผลลัพธ์ของการนำกฎหมายนั้นมาบังคับใช้ว่า เป็นไปเพื่อปกป้องความอยู่รอดของชาติหรือไม่ แต่จะไม่เข้าข่ายเมื่อนำมาใช้โดยไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ เช่น เพื่อปกป้องรัฐบาลจากความอับอายขายหน้า หรือเปิดโปงการกระทำผิด หรือปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของสถาบันทางสังคมต่างๆ หรือปลูกฝังอุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เป็นต้น” [iii] การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์หรือบุคคลในสถาบันฯจึงไม่ได้ส่งผลให้ประเทศ ชาติต้องล่มสลายแต่อย่างใด อีกทั้งกฎหมายหมิ่นฯต้องไม่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังอุดมการณ์ ของรัฐ 
 
ส่วนเรื่องศีลธรรมอันดีนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ให้ข้อคิดเห็นเพื่อเป็นบรรทัดฐาน สำหรับการตีความไว้ว่า ศีลธรรมถูกกำหนดโดยหลักปรัชญาและวัฒนธรรม สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือภายในสังคมนั้นๆย่อมมีวัฒนธรรมและหลักเกณฑ์คุณ ค่าที่แตกต่างหลากหลาย[iv] ไม่เพียงโฆษกศาลฯจะไม่ได้เน้นย้ำตามนี้แล้ว กลับยังอ้าง"ความเป็นไทย"เพื่อกีดกันความแตกต่างในสังคมเสมือนเป็นสิ่งชั่ว ร้ายที่ต้องกำจัดให้สิ้นซากโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักนิติธรรมใดๆ  

นอกจากนั้นโฆษกศาลยังลืมไปว่าเจตจำนงของหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง ประเทศต้องสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย -- ประชาธิปไตยที่ไม่ต้องมีลักษณะเฉพาะใดๆพ่วงท้าย  

 

(อ่านต่อ)

http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40445

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น