May Day 2012: นายทุนย้ายฐานการผลิตจากไทยได้ง่ายแค่ไหน?
ข้อมูลจริงจากโลกพิสูจน์ว่าค่าแรงที่สูงกว่าในตะวันตก ที่มาจากการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ย้ายฐานการผลิตแต่อย่างใด และการมีแรงงานฝีมือสูง และระบบสวัสดิการและสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
โดย กองบรรณาธิการ เลี้ยวซ้าย
นายทุน นักวิชาการฝ่ายทุน และนักการเมืองชอบขู่นักสหภาพแรงงานว่า ถ้าเราเรียกร้องค่าจ้าง หรือสวัสดิการ “สูงเกินไป” นายทุนจะย้ายฐานการผลิตไปที่พม่า ลาว เวียดนาม บังกลาเทศ จีน หรือเขมร ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญเมื่อเราพิจารณาการเรียกร้องให้รัฐบาลปรับค่า จ้างขั้นต่ำให้สูงขึ้นถึง 300 บาทต่อวัน หรือ 500 บาทต่อวัน ซึ่งเป็นระดับค่าจ้างที่ทุกคนในประเทศไทยควรจะได้รับเพื่อความพอเพียง
แต่ แม้แต่ 500 บาทต่อวันก็ไม่พอที่จะให้เรามีวิถีชีวิตที่สบายเท่าไร โดยเฉพาะในกรณีที่เราต้องเลี้ยงครอบครัว และที่น่าสังเกตคือ ฝ่ายนายทุน นักวิชาการ และนักการเมืองเหล่านั้นไม่มีวันพอใจที่จะรับแค่ 500 บาทต่อวัน
สำหรับ นักสังคมนิยมเรามีหลายประเด็นที่สามารถยกขึ้นมาเสนอในเรื่องค่าจ้าง เพราะเราต้องเริ่มจากความจริงว่ามูลค่าทั้งปวงที่ทำให้เศรษฐกิจและสังคมไทย เจริญ มาจากการทำงานของกรรมาชีพ มันไม่ได้มาจากการเล่นหุ้น การลงทุน หรือการบริหารแต่อย่างใด
ตรงนี้เห็นชัดเวลามีการนัดหยุดงาน เพราะเมื่อกิจการหยุดการทำงานท่ามกลางการนัดหยุดงาน จะไม่มีการผลิตมูลค่าเลย ไม่ว่าฝ่ายบริหารจะเข้ามาทำงานหรือไม่ หรือไม่ว่านักลงทุนและนักเล่นหุ้นจะกระตือรือร้นแค่ไหน บริษัทก็จะเสียเงินแน่นอน ดังนั้นในสังคมที่มีความเป็นธรรมประชาชนธรรมดาทุกคนควรได้ส่วนแบ่งที่เท่า เทียมกันจากการทำงาน ไม่ใช่ว่ามีกาฝากผู้ถือหุ้นหรือฝ่ายบริหารมากินกำไรด้วยการขโมย “มูลค่าส่วนเกิน” จากเรา
อย่าง ไรก็ตามเรายังอยู่ในระบบทุนนิยม และเราก็ต้องต่อสู้เพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้าตราบใดที่เรามีชีวิตอยู่ในระบบ นี้ ดังนั้นเราต้องสามารถตอบคำถามของเพื่อนๆ ว่า “เราควรเรียกร้องค่าจ้างหรือสวัสดิการแค่ไหน?” และถ้าเราเรียกร้อง “มากไป” เขาจะปิดงานและย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหรือไม่?
สวัสดิการเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างของเราที่หักไปเพื่อออมไว้จ่ายทีหลังในรูปแบบต่างๆ สวัสดิการในสถานที่ทำงานไม่ใช่ “เงินช่วยเหลือจากนายทุน” แต่อย่างใด
และในเรื่องระบบ “รัฐสวัสดิการ” ซึ่งรัฐสร้างจากภาษีที่เก็บจาก ประชาชน เมื่อเราเรียกร้องให้มีรัฐสวัสดิการและการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวย เราก็จะเจอคำขู่คล้ายๆ กันด้วย คือจะมีคนพูดว่าเราต้องเบาๆหน่อยในข้อเรียกร้องเพื่อไม่ให้นายทุนย้ายบ้านไป ที่อื่น
ในแง่หนึ่งถ้านายทุนมันโลภมากจนมันทำธุรกิจในประเทศไทยภาย ใต้เงื่อนไขเดียว คือว่าต้องกดค่าแรงลงอย่างถึงที่สุด และไม่จ่ายสวัสดการ หรือไม่จ่ายภาษีในอัตราก้าวหน้าที่เป็นธรรม เราก็อยากจะตะโกนว่า “ก็ดีแล้ว ให้คนเห็นแกตัวไปอยู่ที่อื่น!!” แต่แค่พูดแบบนี้จะทำให้เพื่อนร่วมงานกลัวว่าเขาจะตกงาน เราจะต้องมีความชัดเจนในเรื่องการย้ายฐานการผลิตมากขึ้นด้วย
ในยุคนี้หลายคนเสนอว่า “โลกาภิวัตน์” (Globalisation) หรือการที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่ขยายตัวไปรอบโลกและสร้างเครือข่ายที่ครอบงำเศรษฐกิจ “มีผลทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอลง” เพราะกลุ่มทุนสามารถโยกย้ายฐานการผลิตไปจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่งได้ ง่าย (ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Foot-loose Multinational Corporate Investors)
นอกจากนี้มีการเสนอว่ารัฐชาติอ่อนแอลงเพราะควบคุมกลไก ตลาดโลกและต่อรองกับบริษัทข้ามชาติไม่ได้ถ้ารัฐไม่ประนีประนอมกับกลุ่มทุน กลุ่มทุนก็จะย้ายการผลิตหรือทำลายเศรษฐกิจประเทศนั้น และหลายคนสรุปว่าในยุคโลกาภิวัตน์แรงงานต้องจำใจอดทนกับงานที่ไร้เสถียรภาพ และสวัสดิการ
อันนี้เป็นคำขู่ของฝ่ายทุนทั่วโลก ในประเทศพัฒนาตะวันตกก็ขู่ว่าจะย้ายไปไทย ไปมาเลเซีย หรือไปจีน ในไทยก็ขู่ว่าจะย้ายไปพม่า ในจีนคงขู่กันว่าจะย้ายไปอัฟริกา!! มันเลยเป็นแรงกดดันกรรมาชีพทั่วโลกให้ลดค่าแรงและสวัสดิการของตนเองจนไม่มี ที่สิ้นสุด
ลองคิดดู... ถ้าคนงานไทยลดค่าแรง คนงานเวียดนามหรือพม่าก็จะถูกกดดันให้ลดค่าแรงเช่นกันเพื่อรักษาความเหลื่อล้ำเดิม ผลคือเรา “เสียสละ” และไม่ได้อะไรเลย ชนชั้นที่ได้ประโยชน์คือชนชั้นนายทุน นี่คือสิ่งที่นักสหภาพแรงงานสากลเรียกว่า “การกดดันให้เราแข่งกันเพื่อให้กรรมาชีพจนลงกันถ้วนหน้า”
มัน เป็นสาเหตุสำคัญที่นักสหภาพแรงงานในประเทศต่างๆ ต้องจับมือกัน และนักสหภาพแรงงานเชื้อชาติต่างๆ ในประเทศเดียวกันต้องจับมือกันด้วย เราจะได้ร่วมกันขัดขืนการกดค่าแรงสวัสดิการอย่างถ้วนหน้า
ข้อเสนอของ นักวิชาการฝ่ายทุนมีช่องโหว ที่เรานำมาเถียงด้วยได้ มีนักวิชาการฝ่ายกรรมาชีพหลายคนที่ชี้ให้เห็นว่ารัฐไม่ได้อ่อนแอหรือหมดความ สำคัญไปอย่างที่ชอบอ้างกัน เพราะกลุ่มทุนข้ามชาติยังอาศัยอำนาจทางการเมืองและอำนาจทหารของรัฐ และการลงทุนส่วนใหญ่ในโลกก็ยังกระจุกอยู่ที่ประเทศพัฒนาที่ประชาชนมีเงิน เดือนสูง และกำลังซื้อสูง ซึ่งเป็นประเทศที่มีแรงงานฝีมือ และระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ
ข้อมูลจริงจากโลกพิสูจน์ว่าค่า แรงที่สูงกว่าในตะวันตก ที่มาจากการต่อสู้ของสหภาพแรงงาน โดยส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ย้ายฐานการผลิตแต่อย่างใด และการมีแรงงานฝีมือสูง และระบบสวัสดิการและสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย
การที่กลุ่มทุนจะโยกย้ายฐาน การผลิตไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่นลักษณะตลาดภายในแต่ละประเทศ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และระดับฝีมือของแรงงานบวกกับโครงสร้างสาธารณูปโภค ในรูปธรรมมันแปลว่าถ้าเป็นอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม หรือแม้แต่การประกอบรถยนต์ การย้ายฐานการผลิตไปไกลจากตลาดไม่คุ้ม และกิจกรรมหลายประเภทย้ายไปประเทศอื่นไม่ได้เลย เช่น รถไฟ หรือท่าเรือ
ยิ่งกว่านั้นวิกฤติเศรษฐกิจที่เริ่มที่สหรัฐในปี ค.ศ. 2008 ได้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อธนาคารเอกชนใหญ่ๆใกล้จะล้มละลาย รัฐทั่วโลกสามารถก้าวเข้ามาเพื่อกู้บริษัทเอกชนและระบบการเงิน ไม่ใช่ว่ารัฐไม่มีอำนาจอะไรแต่อย่างใด
ในการพิจารณาสภาพแรงงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นักวิชาการหลายคนชอบเสนอภาพของแรงงานที่ย่ำแย่ตกเป็นเหยื่อของโลกาภิวัตน์ เช่น มีการเสนอว่าคนงานหญิงในอินโดนีเซียได้ค่าแรงต่ำกว่าค่าครองชีพและไปทำงาน “เพื่อซื้อเครื่องประดับเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น” โดยอาศัยเงินจากพ่อแม่ ซึ่งในระยะยาวเป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครจะอาสาทำงานภายใต้เงื่อนไขแบบนั้น
หรือ คนอื่นเสนอว่าคนงานหญิงเสียอำนาจเดิมในหมู่บ้านไปเพราะต้องเข้าไปในเมืองไปทำงานในโรงงานภายใต้ “อำนาจชายเป็นใหญ่” ซึ่งขัดแย้งกับข้อมูลจากพื้นที่เกี่ยวกับสาวโรงงานที่มีความมั่นใจสูงขึ้นเมื่อมีรายได้ของตนเอง ไม่เชื่อก็ไปคุยกับสาวโรงงานได้เลย
แน่ นอนสภาพการทำงาน รายได้ และสวัสดิการของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นจากการลงทุนของกลุ่มทุน ใหญ่ไม่เพียงพอและต้องมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน และแน่นอนรัฐบาลหลายแห่ง เช่นไทย เวียดนาม กัมพูชา มักจะโฆษณาว่าภายในประเทศของตน “มีอัตราค่าแรงต่ำ” เพื่อชักชวนการลงทุนจากภายนอก
ใน กรณีคนงานหญิงในกัมพูชามีหลายคนที่ต้องเสริมรายได้จากการบริการเพศ แต่ในมุมกลับ การลงทุนโดยบริษัทข้ามชาติโดยเฉพาะจากญี่ปุ่นทำให้มีการสร้างงาน และคนงานบางส่วนมักจะได้รายได้สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำหรือรายได้คนงานในโรง งานห้องแถว หรือรายได้เดิมในภาคเกษตร
ตัวอย่างที่ดีคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ในภาคตะวันออกใกล้ๆ ระยองของไทย อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูงในสิงคโปร์ และย่านอุตสาหกรรมรอบๆ เมืองจาการ์ตาในอินโดนีเซีย ซึ่งกลายเป็นแหล่งกรรมาชีพฝีมือมากขึ้นทุกวัน
VediHardiz นักวิชาการแรงงานอินโดนีเซีย อธิบายว่าการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมส่งออก ของอินโดนีเซียสร้างความมั่นใจในการจัดตั้งสหภาพแรงงานและในที่สุดนำไปสู่ การต่อสู้กับนายจ้างมากขึ้น เช่นในย่าน Tangerang ทางตะวันตกของเมืองจาการ์ตา ซึ่งเป็นย่านชุมชนคนงานที่มีอุตสาหกรรมหนาแน่นและเต็มไปด้วยคนงานที่อึดอัด ในสภาพความเป็นอยู่ของตนเอง และพร้อมจะต่อสู้อย่างสมานฉันท์
นัก วิชาการอื่นรายงานว่าในกรณีอุตสาหกรรมสิ่งทอของฟิลิปปินส์ นายจ้างจำนวนมากให้ความสำคัญกับฝีมือและประสิทธิภาพในการทำงาน มากกว่าการมองหาวิธีกดค่าแรงอย่างเดียว เพราะถ้าผลิตเสื้อผ้าคุณภาพต่ำก็ขายไม่ออก และในโรงงานที่มีคนงานฝีมือสูง การจัดตั้งสหภาพแรงงานทำได้ง่ายขึ้น
กรณีโรงงานตัดเย็บเสื้อชั้นใน ของไทรอัมฟ์ที่กรุงเทพฯ ก็คล้ายคลึงกัน มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานที่เข้มแข็งมาหลายปีเพราะคนงานมีฝีมือสูงในการตัด เย็บเสื้อผ้า ซึ่งมีผลในการเพิ่มอัตราค่าแรงสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ แต่ทุกอย่างไม่แน่นอน ถ้าบริษัทเริ่มมีปัญหาเพราะไม่มีการลงทุนในเครื่องจักรสมัยใหม่ เขาอาจพร้อมที่จะปราบสหภาพแรงงาน หรือฉวยโอกาสจากวิกฤตการเมืองและบรรยากาศเผด็จการ เพื่อทำลายสหภาพแรงงานก็ได้ และสิ่งนี้ก็เกิดกับไทรอัมพ์
ระบบโลกาภิวัตน์มีผลกระทบในเชิงขัดแย้งกับคนงาน มีทั้งผลร้ายและผลดี แต่ประเด็นสำคัญคือคนงานจะมีการจัดตั้งและการต่อสู้เข้มแข็งหรือไม่ เพราะเราสู้ได้ตลอด ไม่ใช่ว่าต้องยอมจำนนเป็นเหยื่อ
ในการคัดค้านความหดหู่ของผู้ที่มองว่าระบบโลกาภิวัตน์ช่วยให้นายทุน ทำลายความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน ด้วยการโยกย้ายการลงทุนไปสู่ประเทศที่มีแรงงานราคาถูก นักวิชาการฝ่ายซ้ายชื่อ Beverly Silver แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการโยกย้ายการลงทุนในอุตสาหกรรมจากจุดหนึ่งของโลกไป สู่จุดอื่นๆ ในไม่ช้าศูนย์กลางการต่อสู้ของกรรมาชีพกับนายทุนก็จะเกิดขึ้นในพื้นที่การ ผลิตใหม่ตามมาอย่างต่อเนื่อง[1]
Silver เสนอว่าเราต้องมองโลกาภิวัตน์และการลงทุนในรูปแบบที่มีพลวัตของการต่อสู้ทาง ชนชั้นไม่หยุดนิ่งตายตัว คือเมื่อขบวนการแรงงานสร้างความเข้มแข็งในการต่อรองในพื้นที่หนึ่ง นายทุนอาจพยายามย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น แต่ในไม่ช้ากรรมาชีพในพื้นที่ใหม่ก็จะเริ่มสร้างสหภาพแรงงานและเพิ่มอำนาจ ต่อรองอย่างต่อเนื่อง
สรุปแล้วการขยายตัวของระบบทุนนิยมเพิ่มการเผชิญ หน้ากันระหว่างทุนกับแรงงาน ถ้าแรงงานเข้มแข็งมันจะมีผลต่ออัตรากำไรของนายทุน แต่ถ้านายทุนและรัฐกดขี่แรงงาน รัฐจะขาดความชอบธรรมทางการเมือง
สิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่ออำนาจการต่อรองของสหภาพแรงงานคือ
(1) ความสะดวกในการย้ายฐานการผลิตหรือฐานกิจกรรม เพราะนายทุนอาจย้ายฐานการผลิตเสื้อผ้าหรือ ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ได้ง่าย แต่ไม่สามารถย้ายกิจการอื่นๆ ได้ดั่งใจ เช่นการผลิตรถยนต์ ปูนซีเมน สบู่ หรืออุตสาหกรรมน้ำอัดลม เพราะเน้นขายในตลาดภายในขณะที่เป็นสินค้าที่มีรูปแบบที่ไม่คุ้มกับการขนส่ง ข้ามทวีป หรือในกรณี สถาบันการศึกษา การก่อสร้าง หรือเส้นทางคมนาคม เช่นรถไฟ หรือท่าเรือ ย้ายไปทวีปอื่นไม่ได้เลย
นอกจากนี้เวลามีการย้ายหรือขยายฐานการผลิตไป ประเทศอื่น นายทุนต้องคำนึงถึงระดับฝีมือและการศึกษาของคนงานและความสะดวกสบายจากโครง สร้างสาธารณูปโภค
กรณีศูนย์บริการทางโทรศัพท์ เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เพราะเมื่อสิบปีก่อน เวลาลูกค้าบริษัทต่างๆ ในประเทศตะวันตก โทรศัพท์ไปที่ศูนย์บริการลูกค้า คนที่รับโทรศัพท์จะไม่อยู่ในสหรัฐหรือยุโรป แต่จะอยู่ที่อินเดีย แต่ปรากฏว่าลูกค้าจำนวนมากร้องเรียนว่าคุยไม่รู้เรื่องบ้าง หรือคนรับโทรศัพท์ไม่มีอำนาจติดต่อกลับไปที่บริษัทได้ เพราะแค่รับฝากข้อความเท่านั้น จนในที่สุดหลายบริษัทเริ่มโฆษณาว่าเขามีศูนย์บริการภายในประเทศ ไม่ได้โอนไปอินเดียหรือที่อื่นอีกแล้ว
(2) บรรยากาศทางการเมืองในประเทศต่างๆ มีผลต่อความสามารถของคนงานในการสร้างสหภาพแรงงานและการนัดหยุดงานเพื่อต่อ รอง เช่นในเกาหลีใต้เมื่อเริ่มมีการผลิตรถยนต์ การเมืองถูกครอบงำโดยเผด็จการทหาร แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เริ่มมีการสร้างสหภาพแรงงาน และการต่อสู้ของสหภาพก็ช่วยในการทำลายระบอบเผด็จการซึ่งมีผลในการหนุนเสริม ศักยภาพในการต่อสู้ของสหภาพอีกที
การที่บรรยากาศทางการเมืองมีความ สัมพันธ์กับอำนาจการต่อรองของแรงงานหมายความว่าการเรียกร้องกับรัฐยังมีความ สำคัญ ไม่ใช่ว่ารัฐชาติหมดสภาพไป และมันแปลว่าสังคมที่มีประชาธิปไตยมีแนวโน้มที่จะลดเผด็จการนายทุนได้ระดับ หนึ่ง ในไทยมันแปลว่าเราต้องร่วมรณรงค์กับคณะนิติราษฎร์ เพื่อลบผลพวงของรัฐประหาร และเพื่อแก้ปัญหาที่มาจากกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 อีกด้วย
(3) การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาจช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองให้นายจ้างได้ เช่นการปิดโรงงานที่มีสหภาพเข้มแข็ง และเปิดโรงงานที่มีเครื่องจักรทันสมัยในจังหวัดอื่น พร้อมกับการเกณฑ์คนงานรุ่นใหม่เข้ามา หรือการเปลี่ยนวิธีขนส่งทางเรือโดยการใช้เทคโนโลจีของตู้ Container อาจช่วยทำลายสหภาพในท่าเรือเก่า
นอกจากนี้นายทุนอาจนำวิธีการบริหาร กิจกรรมใหม่เข้ามาใช้เพื่อหวังเพิ่มอำนาจการบริหารบุคคลหรือเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต แต่ผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมักจะมีผลตรงข้ามด้วยคือเพิ่มอำนาจต่อรองให้ คนงาน
การลดจำนวนคนงานผ่านการเพิ่มเทคโนโลยีทำให้คนงานกลุ่มเล็กมี อำนาจต่อรองสูงขึ้น ถ้าเขารวมตัวกันได้ การใช้ระบบ just in time ที่ไม่สะสมชิ้นส่วนไว้ในโรงงานนานเกินไป ทำให้การนัดหยุดงานในโรงงานหนึ่ง มีผลกระทบกับหลายๆ โรงงานในหลายประเทศได้ หรือการจัดวงคุยในหมู่ลูกจ้างเพื่อสร้างความจงรักภักดีต่อบริษัท อาจทำให้คนงานมานั่งด่านายจ้างก็ได้ ทุกอย่างมีสองด้าน
ในประเทศไทยหลังน้ำท่วม คนงานตกงานเป็นแสน บริษัทข้ามชาติหลายแห่งอาจทบทวนการลงทุนในประเทศไทย แต่สำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประกอบรถยนต์ การถอนตัวออกจากไทยจะทำให้คู่แข่งเขาครองตลาดยานยนต์ในไทยได้ง่ายขึ้น
สำหรับบริษัทอีเลคทรอนนิคส์ เขาต้องอาศัยแรงงานฝีมือที่มีการศึกษา การย้ายไป พม่า ลาว หรือ เขมร อาจไม่คุ้ม และสิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามคือ รัฐบาลมีหน้าที่ในการสร้างงานให้พลเมืองในระดับที่มีคุณภาพ นี่คือสาเหตุที่เราต้องกล้าวิจารณ์รัฐบาลเพื่อไทย และกล้าเคลื่อนไหวอิสระจากรัฐบาลเมื่อเขาไม่ทำตามผลประโยชน์ของคนจน
ถ้า เราจะรับมือกับคำขู่ของนายทุน นักวิชาการฝ่ายทุน หรือนักการเมืองได้ เราต้องรู้ทันพวกนี้ เราต้องมั่นใจว่าเราไม่ได้โง่หรือไร้ความสามารถในการคิด เหมือนที่เขาอยากให้เราเชื่อ เราต้องศึกษาประเด็นการเมือง เศรษฐศาสตร์และแรงงาน และเราต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสหภาพแรงงานที่กล้าเคลื่อนไหวในเรื่องปาก ท้องและการเมืองภาพกว้างพร้อมๆ กัน
ในโลกแห่งสังคมมนุษย์ มันมีความขัดแย้งทางชนชั้นเสมอ โดยที่ไม่เคยมีการผูกขาดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จโดยฝ่ายนายทุนแต่อย่างใด ตราบใดที่มีทุนนิยม นายทุนต้องพึ่งพากรรมาชีพตลอด นั้นคือต้นกำเนิดของพลังกรรมาชีพ แต่ถ้าเราไม่ฉลาดในการสามัคคีสมานฉันท์ และการจัดตั้งทางการเมือง พลังนั้นจะใช้ไม่ได้
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น