จดหมายเปิดผนึกจากอดีตอธิการบดี (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย: ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของ ม.112
จดหมายเปิดผนึกจากอดีตอธิการบดี ถึงประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
Open Letter to All Rectors in Thailand (to become Siam)
17 มิถุนายน 2555
ตลิ่งชัน ธนบุรี สยามประเทศไทย
เรื่อง ขอเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของกฏหมายอาญา มาตรา 112
เรียน ศ. ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะประธาน “ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย”
อาคารจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กทม 10330
cupt@chula.ac.th, www.cupt-thailand.net,
สำเนา ส่งอธิการบดีทุกท่าน
สืบเนื่องจากการที่ท่าน และผู้ที่ได้รับสำเนานี้ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อรับผิดชอบในงานวิชาการและงานบริหาร สถาบันการศึกษาระดับสูงทั่วประเทศ และสืบเนื่องจากการที่ประเทศของเรา กำลังเผชิญปัญหาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย กับ “การสมานฉันท์” ในชาติ ทั้งนี้โดยมีส่วนที่เกี่ยวเนื่องและเกี่ยวพัน กับหลักการณ์และการบังคับใช้ กฎหมายอาญา มาตรา 112 ดังที่ปรากฏเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นั้น
เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้อง ทั้งในด้านตัวบทกฎหมาย ทั้งในด้านวิชาการ ทั้งในการแก้ไขร่วมกันในหมู่่อธิการบดี ครูบาอาจารย์ ของประเทศ และเพื่อจักได้ดำเนินการให้นิสิต นักศึกษา ตลอดจนเยาวชนของชาติ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของชาติ ที่สำคัญยิ่งยวดต่อสถาบันกษัตริย์ ตลอดจนความจำเป็น ที่จะต้องมีการปฏิรูปแก้ไข กฎหมายดังกล่าว เพื่อประโยชน์สุขของชาติ และราษฎรไทย ผมใคร่ขอเรียนเสนอความเห็น ที่ทั้งได้ประมวลมาจากมิตรสหายที่เป็นครูบาอาจารย์ และที่เป็นนักวิชาการทั้งในและนอกประเทศ ตลอดจนความคิดเห็นส่วนบุคคลของผม ความทราบแล้วนั้น จึงใคร่ขอรวบรวมและเสนอมา ดังต่อไปนี้
(หนึ่ง) จากการศึกษาและจากการสอน “วิชาประวัติศาสตร์การเมืองสยาม/ไทย” มาเป็นเวลานานปีผมได้พบว่า ขณะนี้สังคมและประชาชนไทยของเราเผชิญต่อปัญหาที่ท้าทายอย่างยิ่ง คล้ายๆกับที่ได้เผชิญมาแล้วเมื่อ พ.ศ. 2475 (1932) คือเมื่อ 80 ปีที่แล้วในเรื่องของ “รัฐธรรมนูญ” ที่ถ้ามองจากเหรียญด้านหัวของ “คณะเจ้า” ก็กล่าวกันว่า “คณะราษฎร” ใจร้อน ชิงสุกก่อนห้าม แต่ถ้ามองจากเหรียญด้านก้อยของ “คณะราษฎร” ก็เชื่อกันว่า “คณะเจ้า” นั่นแหละ ล่าช้า อืดอาด ไม่ทันโลก ผ่านจาก “การปฎิรูป พ.ศ. 2435/1893) รัชกาลที่ 5 (ตรงกับสมัยจักรพรรดิเมจิ) ก็แล้ว จนถึงรัชการที่ 6 (ทดลองดุสิตธานีก็แล้ว) รัชกาลที่ 7 (ทรงให้ที่ปรึกษาต่างชาติ ร่างรัฐธรรมนูญก็แล้ว) ก็ยังไม่พระราชทานรัฐธรรมนูญเสียที จึงมี “ความจำเป็นทางประวัติศาสตร์” ที่จะต้องมี “การปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475” เพื่อเปลี่ยน “ระบอบราชาธิปไตย” ให้เป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41193
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น