หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อำมาตย์กับอำนาจเชิงวัฒนธรรม

อำมาตย์กับอำนาจเชิงวัฒนธรรม

 

คิดถึงคำอธิบาย เรื่อง "รัฐ" ของเลนิน และ "การครองใจ" ของกรัมชี่ จึงพอจะสรุปความได้ว่า แท้จริงแล้ว "รูปแบบวัฒนธรรม" ที่ว่า มันก็คือ "การครองใจ" ผ่านกลไกและสถาบันทางสังคมต่างๆ ของโครงสร้างอำนาจรัฐนั่นเอง ซึ่งในสถานการณ์ปกติทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ กระบวนการการครองใจก็ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น

โดย วัฒนะ วรรณ

เวลาเราพูดถึงระบอบอำมาตย์ในปัจจุบัน มันไม่ได้หมายความว่าระบบการปกครองล้าหลังในอดีตยุคไพร่ ทาส แต่เป็นการสะท้อนระบบการปกครองชนชั้นในระบบทุนนิยม ที่มีกลุ่มบุคคลกลุ่มหนึ่งมีบทบาทอำนาจเหนือประชาชน ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม

ในด้านเศรษฐกิจและการเมือง กลุ่มอำมาตย์ทั้งหมด ล้วนสังกัดชนชั้นนายทุนหมดแล้ว มีบทบาทอำนาจเช่นเดียวกับชนชั้นนายทุนทั่วโลก ที่อาศัยทั้งบทบาทประชาธิปไตยครึ่งใบที่มีการเลือกตั้งรัฐสภาและบางครั้งก็ อาศัยอำนาจเผด็จการเต็มรูปแบบ ในรูปแบบต่างๆ ดังเช่นในไทยที่ได้เห็นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังการรัฐประหารเมื่อ กันยายน 49 เป็นต้นมา

ส่วนในรูปแบบวัฒนธรรม ที่หลายคนวิเคราะห์ว่ายังมีบทบาท ที่สามารถมีอิทธิพลต่อการควบคุมจัดการโครงสร้างรัฐอยู่ ที่อยู่เหนือกว่าอำนาจของประชาชน แต่บทบาทที่กล่าวถึง มันมีอำนาจในตัวเองหรือไม่ หรือต้องมีกลไกอื่น มาช่วยทำบทบาทนั้นๆ มีอำนาจขึ้นมา

เมื่อมาคิดถึงคำอธิบาย เรื่อง "รัฐ" ของเลนิน และ "การครองใจ" ของกรัมชี่ จึงพอจะสรุปความได้ว่า แท้จริงแล้ว "รูปแบบวัฒนธรรม" ที่ว่า มันก็คือ "การครองใจ" ผ่านกลไกและสถาบันทางสังคมต่างๆ ของโครงสร้างอำนาจรัฐนั่นเอง ซึ่งในสถานการณ์ปกติทั้งด้านการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ กระบวนการการครองใจก็ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น แต่ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นในสังคม กระบวนการครองใจ ก็มีประสิทธิภาพน้อยลง เนื่องจากสมองของมนุษย์มักมี "ความขัดแย้ง" ตลอดเวลา ระหว่าง "ความจริง" กับ "สิ่งสมมุติ" เช่น เอาอาจจะถูกสอนว่า นายจ้างเป็นผู้มีพระคุณต่อเรา ให้งานเราทำ มีเงินมีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว แต่เมื่อเกิดวิกฤตนายจ้างกลับไล่เราออก แต่ตัวเองกับอยู่สุขสบายเช่นเดิม ทำให้บางสถานการณ์ “การครองใจ” ที่ว่าจึงไม่ได้ผล ทำให้ต้องมีการใช้อำนาจรัฐ "ดิบ" ผ่านกลไกรัฐ เช่น "คุก ศาล ทหาร ตำรวจ" เพื่อควบคุมสังคม

หรือ ว่าเราถูกสอนว่า สังคมไทยเต็มไปด้วยผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีหน้าตาในสังคมเป็นคนดี พร้อมจะมอบความเป็นอยู่ที่ดี ความยุติธรรมให้กับประชาชน แต่พอมีพรรคการเมืองที่ให้ประโยชน์กับประชาชนถูกยึดอำนาจ คนดี เหล่านี้กลับสนับสนุนการยึดอำนาจนั้น รวมถึงสนับสนุนการเข่นฆ่าประชาชน ที่ออกมาต่อสู้กับเผด็จการ


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/06/blog-post_21.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น