หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

2475, 2555

 2475, 2555

 

 

แม้งานรำลึก 80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ค่อนข้างคึกคัก

แต่เป็นความคึกคักที่ไม่ได้ทำให้อุ่นใจว่าคนไทยยังคงให้ความสำคัญต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎรสักเท่าไหร่

เจตนารมณ์ที่พยายามจะตอก 6 เสาหลักประชาธิปไตย คือ "เอกราช/ปลอดภัย/เศรษฐกิจ/เสมอภาค/เสรีภาพ/การศึกษา" ลงกลางแผ่นดิน

ความคึกคักของ "80 ปี 24 มิถุนายน"

เป็นเพียงการใช้เป็นเวทีสะท้อนความเชื่อของ "ตน-กลุ่ม-สี" ฝ่ายตัวเองเท่านั้น

สะท้อนเพื่อบอกว่า การแตกแยก-แบ่งขั้ว ที่เป็น "วิกฤต" ของประเทศ ยังคงดำเนินต่อไป

แต่ละฝ่ายพยายามอธิบายและเชื่อมโยงจุดยืนของฝ่ายตนเอง เพื่อให้ประสานเข้ากับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน

มากกว่าที่จะมุ่งไปสู่จุดหมาย "ประชาธิปไตย" ที่คณะราษฎรต้องการ

ยกตัวอย่างให้ดูสัก 2 เวที

ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนาเรื่อง "วิกฤตและความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน"

นายจาตุรนต์ ฉายแสง ระบุว่า "รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถูกร่างขึ้นมาโดยสวนทางกับการพัฒนาประชาธิปไตย

"มีการสร้างกลไกองค์กรอิสระขึ้นมา และมีอำนาจเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างผลการเลือกตั้ง และฝ่ายบริหารประเทศ

"การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ครั้งนี้

ขัดต่อรัฐธรรมนูญหลายประการ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นกระบวนการถูกต้องตามมาตรา 291 ไม่ขัดต่อมาตรา 68

"การ ที่ศาลรัฐธรรมนูญกล้ากระทำขัดต่อกฎหมายเอง เชื่อว่าผลการวินิจฉัยน่าจะมีแนวโน้มไปในเชิงการแก้รัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เปิดช่องทางให้ยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรี และยุบพรรคการเมือง

"อันจะนำไปสู่สุญญากาศทางการเมืองขึ้น"

นายจาตุรนต์ไม่ได้ขยายความต่อว่า แล้วจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้นหลังนั้น

แต่คงเดาไม่ยาก

เชื่อ ว่าทันทีที่รัฐบาลเพื่อไทยถูกหักโค่นลงด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มวลชนเสื้อแดงและฝ่ายที่ไม่ต้องการเห็นการเมืองนอกระบบ คงไม่นิ่งเฉยอยู่แน่ๆ

ตัดไปที่เวทีเสวนา "80 ปี รัฐธรรมนูญไทยกับก้าวต่อไปของประชาธิปไตย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ที่ห้องประชุม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในวันเดียวกัน 21 มิถุนายน 2555
 

 

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340511033&grpid=03&catid=02&subcatid=0207

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น