หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

"80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475": ประชาธิปไตยของประเทศนี้ยังมีปัญหา

"80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475": ประชาธิปไตยของประเทศนี้ยังมีปัญหา

 



การอภิปราย "80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์-สุดสงวน สุธีสร-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-อภิชาต สถิตนิรามัย-มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475
จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม

นักวิชาการถก ประชาธิปไตยไทยชิงสุกก่อนห่าม หรือเป็นไปตามบริบทสังคมโลก ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ชี้การทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นป็นมรดกที่สำคัญที่สุดของคณะ ราษฎร์ ขณะปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์วิพากษ์เครือข่ายกษัตริย์ที่ปลุกเร้าความจงรักภักดีจะเป็น ปัญหาต่อสถาบันเสียเอง

 

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: มรดกของราชาธิปไตยอยู่ได้อย่างไร

 

 

ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ ร่วมอภิปรายในหัวข้อ 80 ปีปฏิวัติประชาธิปไตยไทย พ.ศ. 2475 ชี้ การเปลี่ยนแปลงการปกครองผ่านมา 80 ปีแต่มีอะไรหลายอย่างที่ตกค้างจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเขาขอตั้งชื่อว่า Die Hard Absolute Monarchy และเรายังเพ้อฝันว่าเรายังมีประชาธิปไตยอยู่

มรดกตกทอดฟังแล้วเหมือนดูดีแต่ การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เริ่มตั้งแต่ปี 2475 มีจุดมุ่งหมายต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีความเป็นอารยะมากขึ้น คนไทยก็มีความภูมิใจอย่างมากที่เรามีความเปลี่ยนแปลง และทุกวันนี้เราก็ยังพูดกันอยู่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราชด้วยเรา มีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ แต่เหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญออกมาพูดว่าเราตีความรัฐธรรมนูญตามภาษาอังกฤษ ผมเริ่มไม่แน่ใจ แต่เอาละนี่เป็นพระปรีชาสามารถที่ไทยไม่ต้องตกเป็นอาณานิคม และมีการเลิกทาส และมีการสร้างทางรถไฟ นี่เป็นจุดพีคมากๆ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งมองกลับไปถึงช่วงนั้นจนเคารพนับถือรัชกาลที่5 จนมากล้นจนล้นเกิน ในแง่ที่เป็นจุดดี ก็ทำให้เรามีความเป็นอารยะมากขึ้นในเปลือกนอก ดูเหมือนว่าสถาบันกษัตริย์จะมีความมั่นคงอย่างมากในยุรรัชกาลที่ 5 แต่อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถสร้างหลักประกันให้ความอยู่รอดของสถาบัน กษัตริย์ หลังจากเสด็จสวรรคตไม่นานเพียง 22 ปี ถัดมาก็เกิดการล่มสลายของระบบสมบูรณาญาสิทธาชย์ และในรัชสมัยต่อมาในร. 6 และ ร.7 ก็ชี้ว่า เป็นความไม่สามารถของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นในการปรับต่อต่อความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ

ปวินกล่าวว่า แปดสิบปีถัดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกแล้ว เป็นจุดที่ critical มากๆ และภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนั้นสถาบันกษัตริย์จะสามารถปรับตัวให้ กับการเปลี่ยนในยุคนี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่ ก็จะเป็นแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่เจ็ด

บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในการคลายปมการเมืองปัจจุบัน และสิ่งที่เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่หล่อหลอมการเมืองไทยอยู่ใน ปัจจุบัน มีผลกระทบครอบงำการเมืองไทยอย่างยิ่งยวด และอาจจะถึงจุดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนปาระชาธิปไตยของไทยและตอกย้ำให้เกิด ความแตกแยกทางการเมืองและนำไปสู่ความรุนแรงมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตัวอย่าง การก้าวขึ้นของทักษิณ ชินวัตร ก็ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม จะว่าคอร์รัปชั่นก็แล้วแต่ แต่นักการเมืองคนไหนไม่คอร์รัปชั่นบ้าง ทักษิณกินแล้วยังคายบ้าง แต่บางคนกินแล้วไม่คาย

ทักษิณกลายเป็นภัยของฝ่ายอนุรักษ์นิยม และในการกำจัดทักษิณนั้น หนึ่งในข้อกล่าวหาคือไม่จงรักภักดีและประสบความสำเร็จอย่างดี และปัจจุบันนนี้ ก็ยังใช้กลวิธีเดิมๆ ในการใช้กฎหมายหมิ่นฯ กำจัดคู่แข่งทางการเมือง และจุดนี้เอง อย่าคิดว่าคุณมีอำนาจในการใช้มาก เพราะยิ่งใช้มากยิ่งทำให้สถาบันอ่อนแอ และยิ่งเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกลือกกลั้วกับการเมือง และนักการเมืองและกลุ่มการเมืองที่เป็นตัวเล่นนอกเวทีการเมืองก็ยังใช้ สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือ

ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนมาตรา 112 ก็ส่วนหนึ่งในการชี้ว่าสถาบันกษัตริย์พร้อมที่จะปลี่ยนแปลงหรือไม่

แม้ว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบไปแล้ว แต่ยังมีอิทธิพล แฃละฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายราชานิยม ก็ไม่ยอมละทิ้งแต่พยายามสืบสายใช้ให้เข้มแข็งมากขึ้น

ปัจจุบันมีการมองสถาบันฯ สองแบบ ที่ขัดแย้งกันอยู่แบบแรกเป็นมุมมองมาตรฐาน เป็นมุมมองปกติทั่วไป ให้เห็นคุณูปการมากมายของสถาบันกษัตริย์ที่มีต่อประเทศ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเป็นผู้ปกป้องบูรณภาพของแผ่นดิน เป็นมุมมองที่ครอบงำสังคม ปกป้องจารีตประเพณี คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล เป็นต้น เป็นมุมมมองมาตรฐาน เหมือนคนไทยจะต้องกินข้าว จะไปกินมันฝรั่ง ก็ดูไม่ใช่คนไทย
แต่อีกมุมมองหนึ่งก็เห็นว่าพระราชอำนาจที่ทรงพลานุภาพอย่างมากนั้นไม่สอด คล้องกับประชาธิปไตยในปัจุบัน มีการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเกราะกำบังสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดกระบวนการ หรือทัศนคติที่มีการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์เกิดขึ้น และการใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่อย่างยิ่งยวดเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย มีการสรรเสริญพระราชอำนาจอย่างล้นเกิน เป็น hyper royalist แม้แต่บ.การบินไทยก็มีการฉายพระราชกรณียกิจในเครื่องบิน

กลุ่มราชานิยมได้ร่วมมือจัดตั้งเป็นทีมงาน ร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์ อนุรักษนิยม ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย สื่อที่ทรงอิทธิพลทั้งหลายในการสรางภาพลักษณ์ที่ไม่มีที่ติ ขณะเดียวกันก็สร้างภาพลบที่เลวร้ายอย่างมากต่อการเมืองไทย แปดเปื้อนด้วยนักการเมืองเลวๆ ไร้ศีลธรรมจรรยาอย่างทักษิณ ข้อบกพร่องทั้งหมดเกิดจากนักการเมืองชั่วๆ ไม่ได้เกิดจากการที่ตนเองเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองตลอดเวลา นี่เป็นจุดสำคัญทำให้คนคิดถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรียกร้องคนดีมาปกครองบ้านเมือง ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เป็นคนดีกันไปหมด

เมื่อพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเราไม่ได้พูดถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง นี่คือเครือข่าย คือทั้งองคาพยพที่เกาะเกี่ยวโหนห้อยกัยสถาบันพระมหากษัตริบย รวมถึงราชนิกูลและองคมนตรี

โดยปวินเสนอ “ผังสร้างเจ้า” ที่เป็นตัวแปรนอกระบบรัฐสภา เกาะเกี่ยวกันและมีอิทธิพลทางการเมืองไทยอย่างล้นหลาม เช่น องคมนตรี ราษฎรอาวุโส กงอทัพ นักธุรกิจใหญ่ ข้าราชการ ไฮเปอร์รอยัลลิสม์ แม้แต่ในแต่ละกลุ่มก็มีการเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นองคมนตรีกับนักธุรกิจ กองทัพกับราชการ ทั้งหมดทำงานกันเป็นทีมเวิร์ก

ปวินกล่าวว่า แนวคิดในการมองเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (Nework monarchy) นี้ ดันแคน แมกคาร์โก นักวิชาการชาวอังกฤษคิดเป็นคนแรก ซึ่งดันแคนเสนอว่าถ้าเรามองแบบเครือข่ายเราจะเข้าใจได้อย่างดี และเครือข่ายที่ชัดเจนที่สุดคือเครือข่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ปกคลุม การเมืองทั้หมดตั้งแต่ปี 2480 เป็นต้นมา และคนเหล่านี้ทรงอิทธิพลโดยมีสถาบันกษัตริย์ตั้งอยู่บนยอดของเครือข่ายเหล่า นี้

ความรู้ภูมิปัญญา ชุดความคิดทั้งหลายถูกผูกรวมเข้ากับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราหลีกหนีไม่ได้ แม้แต่จะตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาก็ทำเกือบจะไม่ได้ในทุกวันนี้ แม้แต่ในแวดวงนักวิชาการก็อยู่ภายใต้การกดดันอย่างมาก มีไม่กี่ประเทศที่รัฐเข้ามาแทรกแซงแวดวงวิชาการ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเป็นผลจากการปกป้องระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ปวินระบุต่อไปว่า การที่ผูกโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับสถาบันฯ นั้นเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งทำให้สถาบันดูเข้มแข็งแต่ในทางตรงกันข้ามก็ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ ลง การสรรเสริญเยินยอส่งผลให้เกิดสายใยความเกี่ยวโยงที่แนบแน่นระหว่างสถาบัน กษัตริย์กับสังคม เหมือนเป็นเรือนจำกักขังไม่ให้คนไทยแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา การคิดนอกกรอบอาจนำไปสู่การคุกคามเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ คนที่ละเมิดข้อห้ามดังกล่าวมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

"ประเทศไทยอ้างตัวเองว่าเป็นดินแดนแห่งความเสรี รักความอิสระ ดัดจริตไปถึงขั้นพูดว่าคนไทยทุกคนมีความจงรักภักดีแต่จับกันระเบิดเถิดเทิง" ปวิน กล่าว

การยกยอปอปั้นที่มีอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การต้องเข้าไปดูหนังมีการฉายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และต้องยืนตรงก่อนดูหนัง ทั้งที่ประเทศอื่นเคยมีมาแล้วแต่หมดไปแล้ว ต้องถามว่าของเรายังมีอยู่เพราอะไร ประเพณีการหมอบคลานที่ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า แต่คนไทยก็ยังหมอบคลานอยู่

วิธีที่พวกนี้อธิบายว่าต้องเลือกใช้แนวคิดต่างประเทศให้เข้ากับประเพณี แบบไทยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาตั้งแต่ ร 5 แล้ว ในความเป็นจริงหลักที่มาจากตะวันตกไม่ได้รับการส่งเสริม เป็นเพียงแต่ข้ออ้าง เป็นวาทกรรมของชนชั้นนำปัจจุบัน

หลังยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เรายังเป็นประชาธิปไตยแบบเปลือกนอก เพราะแก่นแท้ยังเป็นอุดมการณ์กษัตริย์นิยม กล่าวคือ แม้จะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตย แต่ฝ่ายราชานิยมยังมีบทบาทสำคัญด้านการเมือง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ถูกเนรมิตเป็นนิทานให้สอดคล้อง กับทัศนะของคนกรุงเทพฯเป็นหลัก รวมถึงสร้างประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ทำหน้าที่ผูกโยงความคิดให้ประชาชนยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมากระบวนการยกย่องสรรเสริญกษัตริย์เข้มข้นจน ถึงระดับที่น่ากังวลใจ พระมหากษัตริย์กลายมาเป็นเหมือนเพทพเจ้าที่ล่วงละเมิดไม่ได้ ขณะเดียวกันก็มีอีกภาพคือภาพพ่อของแผ่นดิน เป็นภาพต้นรัชสมัย ที่เดินทางไปทุกแห่ง ไม่มีรัฐบาลชุดใดในปัจจุบันที่จะสามารถเทียบทันพระมหากษัตริย์ในการเอาชนะใจ ปวงชน ประชาชนเห็นว่ากษัตริย์เป็นคำตอบสุดท้ายของทุกวิกฤตการณ์ แต่ภาพลักษณ์ทั้งสองแบบขัดแย้งกัน เพราะแม้จะใกล้ชิดกับประชาชนมากเพียงใด แต่ภาพที่เหมือนเทวราชาเป็นกำแพงปิดกั้นระหว่างสถาบันฯ กับประชาชน

ปวินกล่าวว่า ปัจจุบันมีการยกสถานะสถาบันกษัตริยให้เป็นมากกว่าธรรมราชา แต่เป็นเทวราชา ความแตกต่างนี้สร้างความซับซ้อนเมื่อพิจารณาจากบทบาทในทางการเมือง

พอล แฮนเลย์ ผู้เขียน The King Never Smile ระบุว่าการที่สถาบันกษัตริย์ลงมาเป็นผู้เล่นในทางการเมืองเสียเอง ก่อให้เกิดคำถามว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ เพราะถ้าทรงมีสถานะเป็นตัวแทนทางการเมืองเองก็ทำให้เกิดปัญหา conflict of interest เพราะเมื่อไหร่ที่รัฐบาลเข้มแข็งก็จะถูกกำจัดไปในที่สุด และหนทางท้ายที่สุดก็มีการใช้มาตรา 112 มีการใช้มากขึ้นหลังรัฐประหารมากขึ้น ความพยายามทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของฝ่ายราชานิยม แต่จำนวนใม่น้อยเป็นผลจากพระราชกรณียกิจของพระองค์เองในฐานะเป็นกษัตริย์นัก พัฒนา

เกี่ยวกับวัฒนธรรมสาธาณณะ ความนิยมตั้งอยู่บนความเชื่อว่าถสายันกษัตริย์เข้ามายุติปัญหาทางการเมือง นับครั้งไม่ถ้วน และสถานการณ์ในภูมิภาค ในช่วงสงครามเย็น และการต่อต้านกับคอมมิวนิสต์ การเข้ายุติจลาจลปี 2535 เป็นถ้วยรางวัลที่กษัตริยืได้ไปในฐานะผู้นรักษาเสถียรภาพของไทย ทำให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากการเมือง

และที่ย้ำไปเบื้องต้นยังมีอะไรหลายอย่างที่ปลูกฝังลักษณะที่ไปด้วยกันไม่ ได้กับประชาธิปไตย เช่น ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของสถาบันกษัตริย์กับอำนาจที่มาจากเสียงข้างมากของ ประชาชน
ปวินกล่าวว่า คำว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นเป็นปฏิพจน์กัน เป็นหลุมดำขนาดใหญ่ที่จะดูดกลืนระบบการเมืองเข้าไปในตัวเองทั้งหมด

และสุดท้ายกรณีการสืบสันตติวงศ์ เป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอยากจะตั้งเป็นคำถามว่า บทบาทสำคัญของสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีความผูกพันอยู่กับตัวองค์พระมหา กษัตริย์มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์และ

ปวินกล่าวว่า ฝ่ายราชานิยมเริ่มกังวลใจถึงความนิยมในหมู่ประชาชน และขอฝากไว้กับพวกคลั่งเจ้าว่า ยิ่งสรรเสริญเยินยอรัชสมัยนี้ก็จะยิ่งทำให้รัชสมัยต่อไปอยู่ยากขึ้น

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41250

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น