หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2555

สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 27 พ.ค. - 2 มิ.ย. 2555

 

http://voicelabour.org/wp-content/uploads/2012/02/42.jpg

"กรรมกรทั้งผองล้วนเป็นพี่น้องกัน"
 

เลิกทาส

http://vimeo.com/14319568 

 

สศช.เผยภาวะสังคมไตรมาสแรกปีนี้ว่างงานแฝงมากขึ้น 
 
28 พ.ค. 55 - เลขาฯ สศช.แถลงภาวะสังคมไตรมาส 1 ปีนี้ พบการว่างงานแฝงมากขึ้น ผู้ประกอบการมีแนวโน้มย้ายฐานการผลิต หนี้สินครัวเรือนเพิ่มหลังน้ำท่วม คนไทยเครียดมากขึ้น เป็นโรคจากภัยบุหรี่ ซึ่งรัฐมีค่าใช้จ่ายดูแลมากกว่าภาษีบุหรี่ เตือนประชากรผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่แรงงานทดแทนลดลง ต้องเร่งวางแผนกำลังคน 
  
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไตรมาส 1 ปี 2555ว่า ภาพรวมการจ้างงานเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่เริ่มทยอยเรียกแรงงานให้กลับเข้าทำงานมา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ อัตราการว่างงานต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีผู้ว่างงาน 285,150 คน แต่พบการว่างงานแฝงมีมากขึ้นจำนวน 557,540 คน จำนวนนี้เป็นแรงงานรอฤดูกาล 445,785 คน แม้ค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 แต่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.4 ทำให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 นอกจากนี้เริ่มมีแนวโน้มผู้ประกอบการย้ายฐานการลงทุนไปจังหวัดที่อยู่ติดชาย แดน หรือไปประเทศเพื่อนบ้านเพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ ดังนั้นรัฐบาลต้องหามาตรการเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการ 
  
นายอาคม กล่าวว่า หนี้สินครัวเรือน ปี 2555 มีตัวบ่งชี้หลายอย่างที่แสดงว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลังน้ำท่วมมีครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องซ่อมแซมบ้านเรือนและสินค้าจำเป็น ส่วนด้านการศึกษา ปัญหาเร่งด่วนคือคุณภาพการศึกษา ที่ผลคะแนนโอเน็ต ปี 2551-2554 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักไม่ถึงร้อยละ 50 จะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อดูด้านสุขภาพพบว่าคนไทยมีแนวโน้มโรคเครียดเพิ่มขึ้น คนไทยปรึกษาด้านปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะปัญหาโรคเครียด 124,984 คน และยังพบว่าคนไทยใช้ยาเกินความจำเป็น 
  
นางสุวรรณี คำมั่น รองเลขาฯ สศช.กล่าวถึงคดียาเสพติดว่า เริ่มลดลง แต่คดีประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงจะถูกทำร้ายร่างกายเพิ่มขึ้นจากคู่สมรสและแฟน เฉลี่ยทุก ๆ 1 ชั่วโมงจะมีผู้หญิงถูกทำร้าย 3 คน มีรายงานค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในประเทศไทยกับ รายรับของรัฐ พบว่าค่าใช้จ่ายเพียง 3 โรค ได้แก่ มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด มีแนวโน้มสูงกว่ารายรับจากภาษีบุหรี่ เทียบสัดส่วนปี 2546 รายรับ 33,582 ล้านบาท ขณะที่รวมค่าใช้จ่าย 3 โรค 46,800 ล้านบาท 
  
นางสุวรรณี กล่าวอีกว่า ในปี 2553 ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.9 เป็นร้อยละ 25.1 ในปี 2573 ขณะที่วัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ส่งผลให้วัยแรงงานต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การลดลงของประชากรวัยเด็กที่จะทำให้นักเรียนใน 10 ปีข้างหน้าลดลงทุกระดับชั้น จะเป็นโอกาสในการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างเข้มข้นมาก ขึ้น เพื่อให้คุณภาพคนที่สูงขึ้นช่วยทดแทนกำลังแรงงานที่ลดลง รัฐบาลต้องเร่งกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศในอนาคต เปิดโอกาสการจ้างงานสตรีและผู้สูงอายุมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้ ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต.

 

(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40820

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น